สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา


สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการโรงเรียน โดยระบบสารสนเทศจะต้องตอบสนองแสดงผลสรุป สถิติข้อมูล เพื่อสนับสนุนผู้บริหารโรงเรียน ในการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที ต้องมีหน้าตาและการใช้งานที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน มีความแม่นยำ ลดคน ลดกระดาษ ได้รับความเชื่อถือ ยอมรับทั้งจากผู้ใช้งาน คณะครู ผู้บริหาร และนักเรียน/นักศึกษา ทั้งยังต้องครอบคลุมการบริหารจัดการทุกด้านของการบริหารโรงเรียน ปัจจุบันได้พัฒนาให้สอดคล้องต่องานประกันคุณภาพ สมศ. โดยสามารถจัดพิมพ์เป็นรายงาน SAR ประจำปีการศึกษา ตามข้อกำหนดของ สช. ได้อย่างถูกต้อง

ที่มา    

http://www.mis-school.com/

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html

 

http://www.swu.ac.th/HRHday/year39/exhibit01/2nd-ed/supreme.html

 

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร การจัดการ และการประกันคุณภาพการศึกษา
 ระบบนี้พัฒนาขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยี ระบบจัดการฐานข้อมูล  
(Database Management System) มีเป้าหมายดังนี้

  •  
    • เพื่อเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารงาน
    • เพื่อวางรากฐานให้มีระบบฐานข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
    • เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้และติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยงาน
    • เพื่อลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนของงาน
    • เพื่อนำสารสนเทศมาใช้ควบคุมผลการปฏิบัติงาน และช่วยในการวางแผนและการตัดสินใจของผู้บริหาร
    • เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย (SUPREME 2000)

 

ความเป็นมา    

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 แต่มาสำเร็จและเริ่มใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2529 โดยเริ่มที่ ระบบงานบุคลากรของกองการเจ้าหน้าที่ งานวิจัยสถาบันของกองแผนงาน และขยายการทำงานไปสู่ระบบงานลงทะเบียนเรียนในปี พ.ศ. 2530 การพัฒนาระบบงานในระยะแรก ดำเนินการโดยใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ CONCURRENT COMPUTER 3250 และโปรแกรมภาษาโคบอล จนถึงปี พ.ศ. 2537 ได้พัฒนาเข้าสู่ระบบสารสนเทศแนวใหม่ โดยเริ่มที่ระบบลงทะเบียนเรียน IMPRESS (Information Management for Planning and REgistration SystemS) พัฒนาระบบโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Managemet System) Ingres และภาษาในยุคที่ 4 (4GL)  

SUPREME 95 เป็นระบบที่พัฒนาต่อเชื่อมกับระบบงานเดิม IMPRESS และโอนย้ายระบบงานเดิมบนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าสู่ระบบสารสนเทศนี้ การทำงานบน SUPREME 95 สะดวกมากขึ้น เพราะได้มีการต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบเครือข่ายบัวศรี ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบงานถึงกัน ทุกหน่วยงานสามารถเรียกใช้งานในระบบแบบทันทีทันใด และสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลเดียวกันได้ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงาน

บริหารงานด้วย SUPREME 95   

ระบบ SUPREME 95 เป็นหัวใจหลักในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมฐานข้อมูล โปรแกรม และระบบงานต่างๆ ไว้อย่างมากมาย เชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในสำนักงานอธิการบดี และหน่วยงานในระดับคณะและภาควิชา ตลอดจนถึงคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตได้อย่างเหมาะสม อันได้แก่ ระบบบุคลากร ระบบลงทะเบียนเรียน ระบบหลักสูตร ระบบอาคารสถานที่ และระบบบริหารงานคลัง เป็นต้น ระบบงานดังกล่าวได้จัดสรรหน้าที่การทำงานร่วมกัน ทำให้หน่วยงานต่างๆ บุคลากรและนิสิตต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารข้อมูลร่วมกัน ทำให้มีข้อมูลที่ทันสมัยเหมาะกับการนำไปใช้งานเพื่อการบริหารและตัดสินใจ นอกจากนี้ยังได้จัดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเกิดความสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น อันได้แก่ การเชื่อมโยงกับระบบ Internet  
ทั้งระบบ Electronic Mail และ ระบบสารสนเทศ World Wide Web  
และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ข้อมูลของบุคลากรและนิสิตที่เป็นปัจจุบัน

ระบบ SUPREME 95 เพื่อใคร    

SUPREME 95 เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้บุคลากรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมีเครื่องมือ (tool) ช่วยในการปฏิบัติงาน ลดความซ้ำซ้อนของงาน ลดความซ้ำซ้อนและปริมาณการจัดเก็บข้อมูลแบบเดียวกันไว้ในที่ต่างๆ และที่สำคัญมีระบบฐานข้อมูลที่เป็นแบบเดียวกันและมีมาตรฐานร่วมกัน สามารถมีวิธีการในการเรียกใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลร่วมกันได้  

บุคคลที่มีสิทธิในการเรียกใช้ข้อมูล ( access ) แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้ 

1.       ผู้บริหารระดับสูง อันได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายต่างๆ

2.       ผู้บริหารในระดับรอง ได้แก่ คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน สำนัก และ ผู้อำนวยการกองต่างๆ ในสำนักงานอธิการบดี

3.       ผู้บริหารในระดับหัวหน้าภาควิชา

4.       คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ อาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิต

การจัดแบ่งกลุ่มบุคลากรในลักษณะนี้ สามารถทำให้การเข้ามาเรียกใช้ข้อมูล การปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย ตลอดจนถึงสิทธิในการบริหารข้อมูลในขอบข่ายงานของตนเองเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กลไลบนฐานข้อมูลเดียวกัน

ระบบงาน ระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศใน SUPREME 95    

SUPREME 95 ประกอบด้วยระบบงาน ข้อมูลและสารสนเทศที่พร้อมจะนำมาใช้ในการบริหารงาน การวิเคราะห์ และ การตัดสินใจ  

 

ระบบงาน

สารสนเทศหลัก

1. ระบบบริหารอัตรากำลัง

  • รายละเอียดอัตรากำลัง และคุณสมบัติประกอบอัตรา
  • รายละเอียดการเคลื่อนไหวอัตรา
  • การพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปี

2. ระบบบุคลากร 
  2.1 งานบริหารงานบุคคล 
  2.2 งานศึกษาฝึกอบรม

  • ทะเบียนประวัติบุคลากร อาจารย์พิเศษ
    และผู้ทรงคุณวุฒิ 
  • การเลื่อนขั้นเงินเดือน 
  • การลาศึกษา ฝึกอบรม

3. ระบบคำสั่ง

  • คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุคลากร ในเรื่องการบรรจุ แต่งตั้ง โอน ย้าย
  • คำสั่งในการปฏิบัติงานต่าง ๆ 

4. ระบบรับนิสิตใหม่ 
  4.1 งานรับสมัคร 
  4.2 งานจัดห้องสอบ 
  4.3 งานประกาศผล 
  4.4 งานติดตามข้อมูลผู้สมัคร

  • รายละเอียดข้อมูลผู้สมัคร
  • รายละเอียดวิชาเอกที่รับสมัคร
  • กระบวนวิชาที่ใช้สอบ
  • รายละเอียดหน่วยงานที่รับนิสิตแต่ละวิชาเอก
  • รายละเอียดผลการสอบ
  • ข้อมูลนิสิตใหม่เพื่อส่งเข้าระบบลงทะเบียนเรียน

5. ระบบหลักสูตร

  • ทะเบียนรายวิชา
  • รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร
  • รายละเอียดวิชาเอกตามโครงสร้างหลักสูตร
  • การเคลื่อนไหวของกระบวนวิชา 

6. ระบบลงทะเบียนเรียน 
  6.1 งานสนับสนุน การจัดตารางสอน 

  6.2 งานลงทะเบียนเรียน

  • ตารางสอน ห้องเรียน ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน
  • การลงทะเบียนเรียนรายภาคการศึกษา
  • ผลการเรียนประจำภาคการศึกษา
  • ผลการเรียนตลอดหลักสูตร
  • ตรวจสอบการสำเร็จการศึกษา

7. ระบบบัณฑิตศึกษา

  • ประวัติการสมัครสอบวิชาพื้นฐาน
  • ประวัติการสอบข้อเขียนพิสดาร และการสอบปากเปล่า
  • การทำวิทยานิพนธ์

8. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา 
  8.1 งานตรวจสอบ การลงทะเบียนเรียนของนิสิต 
  8.2 งานตรวจสอบโครงสร้าง 
หลักสูตรที่นิสิตเข้าศึกษา 
  8.3 งานติดตาม ให้คำปรึกษานิสิต 

  • ทะเบียนประวัตินิสิตในความปกครอง
  • ผลการเรียนตลอดหลักสูตร
  • รายละเอียดกระบวนวิชา และ โครงสร้างหลักสูตรที่นิสิตเข้ามาศึกษา
  • การลงทะเบียนเรียน และอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา
  • การสื่อสารระหว่างนิสิตกับอาจารย์ผ่านทาง SUPREME mail และ Internet mail

9. ระบบทำเนียบนิสิตเก่า 
  9.1 งานทะเบียนประวัติ 
  9.2 งานระเบียนการศึกษา 
  9.3 งานติดตามการทำงาน

  • ทะเบียนประวัตินิสิตเก่า
  • สาเหตุการพ้นสภาพนิสิตด้วยกรณีต่าง ๆ
  • ที่อยู่ปัจจุบันของนิสิต
  • สถานที่ทำงาน ตำแหน่งงานในปัจจุบัน

10.ระบบบริหารงานคลัง 
  10.1 งานงบประมาณแผ่นดิน 
  10.2 งานงบประมาณเงินรายได้ 
  10.3 งานงบกลาง 
  10.4 งานการเงิน 
  10.5 งานบัญชี 
  10.6 งานงบเดือน

  • รายละเอียดงบประมาณที่ได้รับตาม พรบ.
  • สมุดทะเบียนคุมเงินงบประมาณ
  • การของวดเงิน
  • การวางเอกสารการเบิกจ่ายเงิน 
  • การทำฎีกาเบิกเงินหมวดต่าง ๆ 
  • การโอนเงินประเภทต่างๆ เงินเดือน ค่าเช่าบ้าน เงินช่วยเหลือบุตร เงินประจำตำแหน่ง

11.ระบบตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน 

  • การใช้จ่ายเงินในขั้นตอนต่าง ๆ 
  • การใช้จ่ายเงินปีย้อนหลัง และในปีปัจจุบัน

12.ระบบพัสดุครุภัณฑ์

  • การเบิกจ่ายและทำบัญชีพัสดุ ประจำหน่วยงาน
  • ทำเนียบครุภัณฑ์ แหล่งเงิน ปีงบประมาณที่ได้
  • การเบิก การโอนย้าย การส่งซ่อม สถานะ

13.ระบบอาคารสถานที่ 
  13.1 งานทะเบียนอาคารสถานที่ 
  13.2 งานขอใช้สถานที่ 
  13.3 งานค้นคืนสารสนเทศห้อง

  • รายละเอียดของห้อง ประเภทห้อง ขนาด วัตถุประสงค์การใช้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • การจองและอนุมัติใช้ห้อง lab ห้องประชุม

14.ระบบสารบรรณ 
  14.1 งานทะเบียนเอกสาร เข้าใหม่ 
  14.2 งานทะเบียนเอกสาร ออกจากหน่วยงาน 
  14.3 งานสารสนเทศ เพื่อการสืนค้น

  • รายละเอียดหนังสือสำคัญต่างๆ ที่รับมาจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
  • รายละเอียดหนังสือคำคัญต่าง ๆ ที่ส่งออกจากหน่วยงานไปสู่หน่วยงานภายนอก
  • หนังสือสำคัญต่าง ๆ ที่ไหลเวียนระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
  • สาระการเกษียนหนังสือ 
  • ความเกี่ยวข้องกับ หน่วยงาน บุคคล หรือ โดยตำแหน่ง
  • แหล่งที่เก็บเอกสาร

15.ระบบเกณฑ์ภาระงาน 
  15.1 เกณฑ์ภาระงาน ในสายงานต่างๆ 
  15.2 ภาระงานระดับบุคคล และ ภาควิชา 
  15.3 วิเคราะห์ภาระงาน

  • การปฏิบัติงานของบุคลากร
  • การทำวิจัย การเขียนตำรา 
  • ภาระงานด้านบริหารและบริการวิชาการ

16.งานเผยแพร่สารสนเทศผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

  • Directory ข้อมูลบุคลากร นิสิต
  • ข้อมูลหลักสูตร
  • ผลการเรียนของนิสิต
  • สถิติข้อมูลต่างๆ
หมายเลขบันทึก: 244731เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท