Magical Number 7


Instructional Design

วันนี้ขอบอกว่าทำตัวขยันสุดๆ นั่งอ่านนั่งเขียน Dissertation ทั้งวันเลย แต่วิธีการเขียนของกอล์ฟค่อนข้างสับสนอยู่เหมือนกัน คือกอล์ฟรู้ว่าตัวเองจะเขียนอะไร แต่ตัวเองก็ชอบกระโดดข้ามหัวข้อ ไปเขียนหัวข้อนั้น หน่อย กลับมาเขียนหัวข้อนี้หน่อย กลับไปกลับมา แต่ก็ยังดี ยังเขียนได้เรื่อยๆ ถ้าเขียนแบบนี้แล้วมึนสับสนตัวเอง ก็คงจะแย่อยู่เหมือนกัน

.

ตอนนี้กำลังนั่งเขียนเรื่องความสามารถของสมองคนเราในการรับรู้ข้อมูล คุณคงเคยสงสัยว่า ทำไมบางครั้งเราอ่านหรือเห็นข้อความเพียงครั้งเดียวเราก็จำได้ไปหลายวัน หรือ บางทีต้องท่องอยู่หลายเที่ยวกว่าจะจำได้ หนึ่งในการทดลองที่เกียวกับเรื่องนี้ ก็คือการทดลองอันเลื่องลือที่ชื่อว่า Magical Number Seven กอล์ฟก็จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดการทำงานของสมอง หรือระบบการจำของสมองทั้งหมดนะครับ มันจะยืดยาวไปหน่อย แต่กอล์ฟจะขอหยิบยกส่วนที่สำคัญ ที่น่าสนใจและอยากให้คุณได้ลองอ่านและคิดตามดู ซึ่งหัวข้อนี้ก็จะเกี่ยวกับ Working Memory หรือ Short-Term Memory ภาษาไทยจะแปลว่าอะไรดีหนอ เอาเป็นว่ากอล์ฟจะเรียก ความจำช่วงสั้น

.

 

"ความจำช่วงสั้น" ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับ ว่ามันสั้น ฮ่าๆ ซึ่งก็หมายถึง การที่เรามองหรืออ่านหรือได้ยินอะไร แล้วเราจำได้พักนึง แล้วก็ลืม อีกกรณีนึงก็คือ ข้อมูลนีสามารถส่งผ่านไปยังอีกส่วนนึงของความจำของเราที่เรียกกว่า Long-Term Memory หรือความจำถาวร แต่ blog นี้ จะขอพูดถึง ความจำระยะสั้นเท่านั้นนะครับ

.

กลับมาพูดถึง คอนเซปต์ที่บอกไว้ Magical Numer Seven หรือ เลขเจ็ดมหัศจรรย์ หลายคนคงสงสัยทำไมต้องเลขเจ็ด อยากให้ลองนึกคิดว่า ทำไม เบอร์โทรศัพท์ ส่วนใหญ่ ต้อง มี 7 หลักด้วย อันนี้ก็เป็นผลจากการทดลอง ของนาย George Miller ในปี 1956 นั่นเอง เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความสามารถของสมองที่ทำการบันทึกข้อมูลได้ในระยะสั้นว่า ความจำช่วงระยะสั้นของคนเรามีความสามารถสูงสุดแค่ไหน แต่ผลของการทดลองก็ปรากฏว่า คนส่วนใหญ่ จะสามารถจำข้อมูลระยะสั้นได้ 5-9 ส่วนหรือยูนิตของข้อมูล แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 7 หลักนั่นเอง นั่นก็นเป็นที่มาของคำว่า Magical Number 7!!

.

George A. Miller

.

นอกจากนี้ นาย Miller ยังได้ค้นพบอีกด้วยว่า การจัดกลุ่ม ยูนิต หรือสัดส่วนของข้อมูลจะได้ทำให้คนเราจำอะไรได้ง่ายขึ้น

.

เรามาดูตัวอย่างกัน ถ้าคุณเห็นเลข เก้าหลัก แบบนี้

.

4 5 1 5 5 1 6 5 1

.

มองดูแล้วเหมือนจะจำยากยังไงก็ไม่รู้ เอาเลขมาตั้งเก้าหลักเรียงกัน คุณก็ไม่แน่ใจะว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนในการจำ แต่ถ้าหากคุณแบ่งเลขออกเป็นกลุ่ม แบบนี้

.

451 - 551 - 651

.

การที่กอล์ฟเอาเครื่องหมาย - มาคั่นแบ่งออกเป็นกลุ่มๆละ สามหลัก ทำให้คุณจำได้ง่ายขึ้นไหมเอ่ย

.

และนี่ก็คงเป็นที่มาว่าทำไมเลขโทรศัพท์ถึงเริ่มที่ 7 หลัก แต่สมัยนี้ ก็มีถึง 10 หลักด้วยเช่นกัน แต่ด้วยการที่เราใช้การแบ่งกลุ่ม หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Chunk ก็ทำให้เราสามารถจำเบอร์โทรศัพท์คนอื่นได้ไม่ยากเลยทีเดียว ดังนั้น เวลาคุณเขียนเบอร์โทรศัพท์ให้ใคร หรือ จดเบอร์โทรศัพท์ของคนอื่น อย่าลืม ใช้เครื่องหมาย - หรือเว้นวรรค เข้าช่วยนะครับ มันจะช่วยให้คุณจำได้ง่ายขึ้น

.

ถ้าจะถามว่า จำเป็นไหมที่จะต้องแบ่ง สามหลักต่อหนึ่งกลุ่ม ก็ไม่เสมอไปหรอกครับ เอาเป็นว่าแบ่งอย่าง่ไรก็ได้ที่คุณคิดว่ามันช่วยให้คุณจำได้ง่ายขึ้น

.

นี่ถือว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญเลยนะครับ หลายคนยังสงสัย ว่าสำคัญตรงไหน ก็แค่รู้ว่าคนเราสามารถจำได้ เจ็ด ยูนิตหรือหลัก เท่านั้น นั่นก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ส่วนตัวแล้ว จุดสำคัญผมคิดว่าอยู่ตรงที่ เรารู้ว่า Chucking หรือ การจัดการข้อมูล นั่นสำคัญมาก มันเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราจำอะไรได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น การจัดหมวดหมู่ จัดประเภทข้อมูล จะทำให้คุณสามารถจดจำอะไรได้เร็ว แล้วนาน กว่าการที่คุณพยายามที่จะจดจำข้อมูลนั้นๆแบบดิบๆหรือไม่ได้มีการจัดการข้อมูลใดๆทั้งสิ้น สิ่งนี้คุณสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้นะครับ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจดจำข้อมูลของคุณให้เร็วขึ้น ดีขึ้น และนานขึ้น

.

ยังมีอีกหลายการทดลองและทฤษฏีอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับ เรื่องความสามารถในการจำของคนเรานะครับ ถ้าคุณยังสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลอง search ดูนะครับ หรือ จะอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Wiki

ตามมาอ่านเรื่องราวอื่นๆทั่วๆไปที่ บล็อกส่วนตัวของกอล์ฟได้ที่ http://www.golffy.com นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #chucking#george miller#instructional design
หมายเลขบันทึก: 244552เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท