สารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

บทความวิชาการ

สารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การบริหารและจัดการระบบสารสนเทศของโรงเรียน เพื่อให้เกิดคุณภาพ การศึกษา ตามหลักการบริหารนั้นและการประกันคุณภาพภายในเป็นกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ หลักการและกระบวนการบริหารดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ โดยมีกระบวนการวางแผน ทำตามแผน ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้การทำงานได้ผลและมีคุณภาพ ครูและผู้บริหาร ผู้ปกครอง ต้องร่วมกันพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพดี และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าต้องการพัฒนานักเรียนให้มีคุณสมบัติอย่างไร ต้องช่วยกันคิด และช่วยกันวางแผน (Plan) ว่าจะต้องทำอย่างไร แล้วช่วยกันทำ (Do) ช่วยกันตรวจสอบ (Check) และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง (Action) เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา ระบบสารสนเทศทางการศึกษานั้นมีความสำคัญ เพราะ ระบบสารสนเทศทางการศึกษาเป็นการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษา ดำเนินการประมวลผลและวิเคราะห์ให้เป็นสารสนเทศ ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องเป็นตัวแทนของเหตุการณ์ มีหลักฐาน มีการวิเคราะห์แปลความหมายของข้อมูล มีการเสนอ รายงานสรุปและการเผยแพร่ ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้ (วีระ, 2539 : 7) คือ

                1. รวบรวมข้อมูลทั้ง ภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน

                2. จัดระบบเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
                3. จัดให้มีระบบการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
                4. มีการปรับปรุงข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้อยู่ในสภาพดีมีคุณภาพทันสมัยตลอดเวลา สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบันเรียกใช้ได้สะดวก และตรงกับความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจอยู่บนฐานวิชาการ หลักฐานข้อเท็จจริงตรวจสอบได้ มีการวิเคราะห์ประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะสารสนเทศทั้งหลาย นอกจากใช้ในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาความคิด และแสดงทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินการต่าง การจัดระบบสารสนเทศภายในสถานศึกษา เพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้ โดยจำแนกเป็นระบบย่อยพอสรุปได้ ดังนี้
                1. ระบบสารสนเทศเป็นพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวกับภาพรวมของสถานศึกษา
                2. ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด
                3. ระบบสารสนเทศการบริหารงานวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน
                4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ สารสนเทศประเภทนี้ต้องประมวลผลรวมมีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องทันสมัย
                5. ระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน เป็นการนำข้อมูล สารสนเทศเหล่านี้มารวมกับส่วนที่กล่าวข้างต้น มาสรุปรวมกันแล้วเขียนเป็นรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าการจัดระบบบริหารของสถานศึกษานั้นต้องเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นระบบ และสารสนเทศต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล ครอบคลุมงานทุกด้าน ถูกต้องทันสมัย และจัดเก็บเป็นหมวดหมู่สามารถนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วทันความต้องการรวมทั้งใช้ประกอบการวางแผน
และตัดสินใจได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 244546เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท