เหล้าเก่าในขวดใหม่...ถึงเวลาหรือยัง...ที่เราควรจะมี“ แผนปฏิบัติของเทคนิคการแพทย์...เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ ”


วันนี้เป็นวันแรกที่มี Blog ที่ "GOTOKNOW" เป็นของตนเอง...

 

ว่าแต่...เอ...จะแชร์ ประสบการณ์อะไรดี....

อืม...เอาอย่างนี้แล้วกัน...

 

ขอนำบทความที่เคยเขียนลงในจุลสารเทคนิคการแพทย์ ปีที่2 ฉบับที่7 ไว้นานแล้ว...มาลงใหม่แล้วกัน...

 

นึกว่าเป็น เหล้าเก่า...ในขวดใหม่” แล้วกันค่ะ (^_^)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ถึงเวลาหรือยัง...ที่เราควรจะมี

แผนปฏิบัติของเทคนิคการแพทย์...เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ

 

 

ทนพญ.พรสุรี พงษ์สุชาติ

(17 มิถุนายน 2551)

 

 

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวเทคนิคการแพทย์ทุกท่าน เมื่อประมาณ 1 - 2 เดือน ที่ผ่านมา พวกเราทุกคนต่างได้ยินข่าวการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเนื่องจากภัยพิบัติตามธรรมชาติกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส (Cyclone Nagis) ซึ่งขึ้นฝั่งในประเทศพม่า ส่งให้เกิดภาวะน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม และ บ้านเรือนเสียหายจากวาตภัย ซึ่งความรุนแรงในครั้งนี้ มีชาวพม่าเสียชีวิตอย่างน้อยสองหมื่นสองพันคนและสูญหายอีกสี่หมื่นหนึ่งพันคน(1)เลยทีเดียว หรือจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ที่มณฑลเสฉวน ประเทศจีน(2) และเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ทางตะวันออกของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น(3) ในฐานะที่พวกเราทุกคนเป็นพี่น้องร่วมอาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ก็รู้สึกเศร้ากับการสูญเสีย ต่างร่วมใจกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยละเว้นปัญหาด้านการเมืองในเวทีโลกไว้เบื้องหลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 เตรียมการด้านสื่อสารสำหรับสนับสนุนการเตือนภัยพิบัติ โดยจัดตั้งอาสาสมัครในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในลักษณะเครือข่ายสื่อสารคู่ขนานกับทางราชการ , จัดทำแผนในการพัฒนาข่ายสื่อสารวิทยุสมัครเล่น ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน , ทำแผนในการอบรมและฝึกซ้อมการปฏิบัติงาน ให้สามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และ ปฏิบัติงานตามที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมอบหมาย

            จากการประชุมและคำสั่งดังกล่าวนี้ ทำให้หวนไปนึกถึงวงการสาธารณสุขไทย ว่าได้มีการเตรียมตัวเมื่อเกิดเกิดภัยพิบัติหรือเกิดเหตุฉุกเฉินกันหรือไม่ ที่พอเข้าเค้าสุดก็คงจะเป็นการทำงานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อ ศูนย์นเรนทร  ซึ่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  แต่การทำงานของศูนย์นเรนทร เท่าที่ทราบจะเน้นในการกู้ชีพ ช่วยชีวิต ซึ่งจาก พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.. ๒๕๕๑ จะเห็นว่าไม่มีการกล่าวถึงวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ในด้านการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการฉุกเฉินอย่างชัดเจน  ดังนั้นในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์  จึงได้คิดว่า เป็นไปได้ไหม ที่เราจะมี แผนปฏิบัติของเทคนิคการแพทย์...เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติเพราะความปลอดภัยของผู้ป่วย การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก็เป็นหน้าที่ของนักเทคนิคการแพทย์ด้วย !!!

            คำถามคือ...ถ้าเราจัดตั้งองค์กรเทคนิคการแพทย์ฉุกเฉิน(นั่น...ตั้งชื่อให้เสร็จสรรพ!!!) องค์กรของเราจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง และ ทำหน้าที่อะไร... ถ้าอย่างนั้น...ก็ขอขายไอเดียแล้วกันนะคะ...เผื่อมีผู้สนใจ ซื้อไปใช้งานให้ได้จริง...

            คำถามแรก...องค์กรของเราจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง...จากสติปัญญาอันจำกัดของตัวเอง...บอกว่า...องค์กรนี้จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญอยู่ 4 ส่วน คือ ….

 

            1. ต้องมีนักเทคนิคการแพทย์ที่สามารถตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการภาคสนามได้ โดยต้องมีทุกจังหวัด (ทุกอำเภอ ทุกตำบล...ก็จะดีมาก) โดยต้องใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด สามัญที่สุด แต่มีความไวและความจำเพาะตามมาตรฐาน (มาตรฐานนี้องค์กรวิชาชีพคงต้องเขียนขึ้นมา)

2.   ต้องมีการทำแผนการปฏิบัติงาน , แผนการฝึกซ้อมและอบรม ให้เป็นมาตรฐานและปฏิบัติการและต้องมีการฝึกซ้อมเป็นประจำให้มีความพร้อมเมื่ออยู่ในสถานการณ์จริง

3. ต้องมีการอบรมให้ความรู้กับประชาชน ถึงการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน ในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ

4.ต้องมีการพัฒนาแหล่งพลังงานสำรองให้ใช้ได้กับอุปกรณ์ที่เทคนิคการแพทย์ต้องใช้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การใช้ Solar cells , การใช้เครื่องปั่นไฟแบบหมุน เป็นต้น เพราะเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติจะใช้อุปกรณ์อย่างไร...ถ้าไฟดับ...ดังนั้น...แหล่งพลังงานสำรองจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

คำถามสอง...องค์กรของเราจะต้องมีหน้าที่อะไรบ้าง...ก็ง่ายๆเลยค่ะ ก็คือ จะต้องทำแผนปฏิบัติ  จัดเตรียมและฝึกซ้อม ตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ให้นักเทคนิคการแพทย์ที่สามารถตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการภาคสนามได้ โดยต้องมีให้ครบทุกจังหวัด ค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะ...ไอเดียที่เสนอขาย...ไม่รู้ว่าพอใช้ได้หรือเปล่า...พวกนี้เป็นรายละเอียดซึ่งสามารถเขียนและจัดใหม่ให้ได้ดังใจชาวเทคนิคการแพทย์ได้ (ถ้าจะทำ) แต่ใจจริงอยากให้พวกเราชาวเทคนิคการแพทย์...ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ...ช่วยกันพิจารณากันว่า....

 

ถึงเวลาหรือยัง...ที่เราควรจะมี

แผนปฏิบัติของเทคนิคการแพทย์...เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ

 

REFERENCES

1.    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Available from: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%

B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%AA [2008,June 16]

2.    สำนักแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา. Available from: http://www.tmdseismology.com/tmd/

index.php?option=com_content&task=category&sectionid=7&id=17&Itemid=27[2008,June 16]

3.    กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานแผ่นดินไหว. Available from: http://www.tmd.go.th/earthquake_

report.php [2008,June 16]

เนื่องจากได้รับแต่งตั้งจากนายสมิทธ ธรรมสโรช ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ  ให้ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการนักวิทยุสมัครเล่นเพื่อการเตือนภัย (ซึ่งเป็นตัวแทนมาจากทั่วประเทศ) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมานั้น ให้ทำหน้าที่หลักๆ  คือ

หมายเลขบันทึก: 244425เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ แวะมาทำความรูจัก และยินดีต้อนรับคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท