นวัตกรรมการบริหาร


การบริหาร

ความหมายและความสำคัญของการบริหารแบบมีส่วนร่วม


         การบริหาร   ความหมาย  คือ  กระบวนการวางแผน  การจัดองค์การ  การสั่งการและการควบคุม  การปฏิบัติการในองค์การ   และการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ  ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร   หรืออีกความหมายหนึ่ง  คือ  กระบวนการทำงานเพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่เป็นผลสำเร็จด้วยการใช้บุคคล   และทรัพยากรต่าง ๆ  อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุซึ่งเป้าหมายของความต้องการ

 


        การมีส่วนร่วม    ความหมาย   คือ   ทรัพยากรในการบริหารที่เป็นส่วนของบุคคลในแต่ละระดับการปฏิบัติมีส่วนในกระบวนการวางแผน   การจัดองค์กร  การสั่งการ  และควบคุมการปฏิบัติในแต่ละส่วน ๆ   อย่างเต็มความสามารถ   ทั้งในทิศทางเพื่อการปฏิบัติด้านเดียว  หรือการนำเสนอซึ่งความคิดในการดำเนินการตามกระบวนการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

         การบริหารแบบมีส่วนร่วม    จึงหมายถึง   การที่บุคคลในองค์กรหรือต่างองค์กรได้ร่วมกันเพื่อจัดการงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จ  ทั้งนี้  การมีส่วนร่วมนั้น ๆ   จะอยู่ในขั้นตอนใด ๆ  ก็ตาม   โดยขึ้นอยู่กับความรู้   ความสามารถ  ประสบการณ์   ข้อจำกัดขององค์กรในแต่ละกระบวนการของการดำเนินการบริหารเป็นเกณฑ์


         บุคคลในการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารงานหรือการจัดการงาน   สามารถที่จะแยกได้กว้าง ๆ  คือ
             -     ภายในองค์กรจะประกอบด้วย   ผู้บังคับบัญชา  (ผู้บริหารระดับสูง)  ผู้บริหารระดับกลาง  (กลุ่มงานต่าง ๆ)  และผู้ปฏิบัติ (คนงาน ผู้ทำงานระดับล่าง) สายสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรจะเป็นไป  ตามลักษณะบังคับบัญชาตามลำดับ โดยทั่วไปขององค์กรแล้วจะมีข้อกำหนดไว้เป็นแนวทางอย่างชัดเจน   ซึ่งทุกระดับต้องปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการเสมอ   การมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการในองค์กรจึงเป็นในทิศทางเพื่อการปรับปรุง  พัฒนา  หรือแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการดำเนินการในแต่ละองค์ประกอบ   ความจำเป็นของการมีส่วนร่วมอาจไม่ทั้งหมดของบุคคลในทุกระดับ   อาจเฉพาะเพียงแต่ในระดับเดียวกันเท่านั้น   หรือเหนือขึ้นไปในระดับหนึ่งก็เป็นไปได้   ลักษณะการมีส่วนร่วมของการจัดการหรือบริหารภายในองค์กรมีรูปแบบต่าง ๆ  ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม   รูปแบบเบื้องต้นก็คือการเสนอเช่นข้อคิดเห็นเป็นเอกสาร   ผ่านกระบวนการสอบถามหรือโดยส่งเอกสาร
             -     ต่างองค์กรจะประกอบด้วยในหลายลักษณะ  ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จัดกระทำในระดับผู้บริหารระดับสูง   การมีส่วนร่วมจะเป็นในรูปของการให้ความเห็นข้อคิด   แลกเปลี่ยนหรือสนับสนุนเพื่อการจัดการ   หรือระดับผู้ปฎิบัติก็เป็นในทิศทางของการจัดการร่วมกันในกิจกรรมอย่างเดียวกัน   ทั้งนี้โดยผลประโยชน์ขององค์กรทั้งสองต้องไม่ขัดแย้งหรือมีการสูญเสียผลประโยชน์ต่อกันในรูปใด ๆ
                   ในการมีส่วนร่วมของบุคคลในระบบราชการจะเห็นได้ว่ามีในหลายลักษณะเช่นเดียวกับรูปของ  องค์กรในปัจจุบัน   กรณี  ภารกิจการดำเนินการของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ต้องมีบทบาทและหน้าที่สัมพันธ์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคลในสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดต้องเป็นผู้มีภารกิจหน้าที่เพื่อการสำรวจออกแบบประมาณการต่องานขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือ   (อบต.)   เพื่อโครงการถ่ายโอนกิจกรรมบริการสาธารณะต่าง ๆ  การก่อให้เกิดความมีส่วนร่วมของบุคคลในท้องถิ่น  จะเป็นผลให้การปฏิบัติงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายโดยสมบูรณ์   กลไกต่าง ๆ  ในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นเรื่องที่ต้อง  ดำเนินการอย่างมาก


                   ความสำคัญของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม   เป็นเหตุผลที่จำเป็นต่อการบริหารหรือการจัดการองค์กร  คือ
          1)  ก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานที่มุ่งหวัง
          2)  กระบวนการตัดสินใจสามารถรองรับพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรได้กว้างขวางและเกิดการยอมรับได้
          3)  เป็นหลักการของการบริหารที่เป็นผลต่อการดำเนินการเชิงวิเคราะห์ด้วยเหตุผลวิวัฒนาการเพื่อความคิด  (การเปิดกว้าง)   การระดมความคิด  (ระดมสมอง)  ซึ่งนำไปสู่   การตัดสินใจได้
          4)  ลดช่องว่างของระบบการสื่อสารในองค์กรและขจัดปัญหาความขัดแย้งได้

 

หมายเลขบันทึก: 244394เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท