นวัตกรรมสื่อการเรียนร้


การใช้สื่อ

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้จากสื่อการเรียนรู้

 

สื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำวัสดุ เครื่องมือ วิธีการ มาเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้ไปยังผู้เรียนได้ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ส่วนความหมายของสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กรมวิชาการ 2544 หน้า 178) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เน้นสื่อที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง หรือนำสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการเรียนรู้

สรุป ความหมายของสื่อการเรียนรู้ได้ว่า สื่อการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ความสำคัญของสื่อกับผู้เรียน

    สื่อการเรียนรู้นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ สื่อมีบทบาทต่อกระบวนการเรียนรู้ในส่วนของผู้เรียน ดังนี้

    1.   สื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้บทเรียนที่มีความซับซ้อน ง่ายต่อการทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น

    2.    สื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องราวไกลตัวได้

    3.    สื่อช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจ ทำให้กระบวนการเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้นไม่น่าเบื่อหน่าย

    4.    สื่อสามารถสนองความแตกต่างของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนสามารถเรียนรู้

 

ความสำคัญของสื่อกับผู้สอน

    การใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ ทำให้การจัดกระบวนการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สื่อการเรียนรู้มีบทบาทต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน ดังนี้

    1.    การใช้สื่อเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้น่าสนใจช่วยให้ผู้เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินกับบทเรียน

    2.    ผู้สอนสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนการสอน

    3.   สื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวในการเตรียมจัดหาหรือผลิตสื่อ เตรียมการในการใช้สื่อและสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้อยู่เสมอ

 

 

 

 

หลักการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้

    การเลือกใช้สื่อเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงหลักการต่าง ๆ ดังนี้

    1.    สื่อการสอนจะต้องสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมาย และเรื่องที่สอน

    2.    จะต้องเหมาะสมกับความรู้ ประสบการณ์ของผู้เรียน

    3.    เหมาะสมกับวัย และระดับชั้นของผู้เรียน

    4.    เนื้อหาและวิธีใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

    5.    น่าสนใจ และทันสมัย

    6.    เทคนิคการผลิตดี

    7.    เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน

    8.    สามารถนำเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดี

    9.   ถ้ามีสื่อการสอนหลายอย่างในเรื่องเดียวกัน ให้พิจารณาว่าสื่อใดเหมาะสมที่สุด ที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้ดีที่สุดและในระยะเวลาสั้นที่สุด

จากการสังเคราะห์จากรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูต้นแบบ พบว่า ครูต้นแบบจำนวนหนึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบของการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ สื่อช่วยเร้าความสนใจผู้เรียนก่อให้เกิดความกระตือรือร้นและเพลิดเพลินในการร่วมกิจกรรม อีกทั้งทำให้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจบทเรียนได้ดี

ตัวอย่างสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ครูต้นแบบพัฒนาไว้ ได้แก่

-          บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม

-          ชุดการสอน

-          ศูนย์การเรียน

-          แบบฝึก (การทดลอง/เสริมทักษะ)

-          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (สื่อ CAI)

หมายเลขบันทึก: 244390เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

                  

 

  • เข้ามาเยี่ยมชมครับ
  • ขอให้กำลังใจสร้างสรรค์งานการศึกษาต่อไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท