ข้อเท็จริงของนาง กาวีพร วิไลวรรณ


¢Ó-Àêñ©-¢ò¤-¢º¤-­น¾¤ ¡¾-¸ó-²ºน ­-¸ò-Äì-¸ñ­น

 

      นาง กาวีพร วิไลวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2523 สถานที่เกิดบ้านบึงวะ อำเภอ(เมือง)ไกสรพรมวิหาร จังหวัด(แขวง)สวรรค์นะเขตที่ประเทศลาว เป็นบุตรของนายธง วีไลวรรณ และนางณี วีไลวรรณ นางกาวีพร มีพี่น้องร่วมท้องแม่เดียวกันทัง ๘ คน นางกาวีพรเป็นคนที่สอง ซึ่งไม่ได้รับการศึกษาย้อนปัญหาความยากจนจึงไม่มีโอกาสที่จะเข้าเรียน ดังนั้นพ่อ แม่ จึงให้ไปหางานทำเพื่อได้เงินมาชื้อเข้ากินในแต่ละวัน

      นางกาวีพรได้เข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๓๗ โดยผ่านเข้ามาทางด่านจังหวัดมุขดาหารประเทศไทย ซึ่งมีนายหน้านำพามาซื้อว่าป้าหนิงอยู่ที่บ้านชอก แขวงสวรรค์นะเขตในขณะที่มามาด้วยกัน๔คน ก่อนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ป้าหนิงบอกว่าจะให้มาขายน้ำเตาฮู้ที่กรุงเทพฯแต่พอมาถึงกรุงเทพฯประเทศไทยก็ไม่มีน้ำเตาฮู้ขาย จึงได้กลับไปขายปลาแทนและได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ๑๔๐๐ บาท ในขณะที่ทำงานในกรุงเทพนางวีไลพรก็ได้พบกับนายยุง แสนสุขที่เป็นพม่าซึ่งได้เกิดมีความรักมักกันจึ่งตกลงปงใจกันอยู่แบบสามีภรรยาแต่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนการสมรส และได้ยกย้ายมาอยู่ที่บ้านร่มไทย หมู่ ๑๔ ต ท่าตอน อ แม่อาย จ เชียงใหม่ บ้านเลขที่ ๙๘/๑

      นายยุงกับนางกาวีพรได้มีบุตรด้วยกันสองคนคือ ชื่อ เด็กชาย ชลชาติ แสนสุข เกิดที่โรงพยาบาลประทุมธานี(สัญชาติลาวระบุไว้ในสูติบัตร) และเด็กหญิง ชติดา แสนสุข เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เกิดที่ โรงพยาบานฝาง ๓๐ หมู่ที่ ๔ (สัญชาติพม่า ระบุไว้ในสูติบัตร)

      ปัญหาก็คือว่า นางกาวีพร วิไลวรรณ สัญชาติ พม่า ซึ่งระบุไว้ตามแบบรับรองรายการทะเนียนประวัติ ของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

      ถ้าดูตามหลักถานทางเอกสารแล้ว นางกาวีพร มีสัญชาติพม่า และนายยุงก็มีสัญชาติพม่าทั้งคู่ และบุตรทั้งสองคน คนหนึ่งระบุสัญชาติลาว และอีกคนระบุสัญชาติพม่า ในกรณีนี้ก็เป็นปัญหาที่ยากที่จะแก้หรือให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า กาวีพรเป็นคนลาวจริงหรือไม่ ถ้าเข้าสู่กระบวนการในการพิสูจสัญชาติลาวก็ไม่รู้ว่าจะผ่านหรือไม่ ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น

๑.     แบบรับรองรายการทะเนียนประวัติ คนต่างด้าวของนางกาวีพร วิไลวรรณ ได้ระบุสัญชาติ พม่า

๒.     ไม่มีบุคคลที่จะรับรองและยืนยันว่า กาวีพร เป็นคนลาว

๓.     กาวีพร ไม่สามารถอ่าน เขียนภาษาลาวได้ และการพูด ฝังภาษาลาวได้แต่ไม่ชัด

๔.     นับแต่เข้ามาไทยกาวีพรไม่เคยประเทศลาวเป็นเวลา๑๐กว่าปีแล้ว[1]

           จากการสอบถามหาข้อมูลหลักถานตามเอกสารและตามข้อเท็จจริงแล้วก็ปรากฏว่ายังมีนายจ้างที่นางกาวีพรเคยทำงานกับมาก่อนอยู่กรุงเทพพอจะรู้ได้ บุญมีเองก็ได้ให้เขาพยายามติดต่อเขาให้ได้ ในที่สุดกาวีพรก็ติดกับนายจ้างคนนั้นได้และได้ติดต่อหาพ่อแม่อยู่ที่ประเทศลาวได้แล้วแต่บุมีเองยังไม่แน่ใจว่ากาวีพรจะยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่จริงหรือไม่เพราะได้พยายามติดต่อหรือโทระสัพไปที่ลาวก็ยังไม่ได้ ดั่งนั้น ปัจจุบันก็ยังรวบรวมพยานลักถานอยู่เพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหมาะสม และ กทัดรัดขึ้น

      สถานะทางกฎหมายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราว

  ผ่านจากการรวบนวมทางข้อมูล พญานและหลักถานที่มีอยู่พบว่า ถึงแม้กาวีพรจะไม่เคยได้กับประเทศในบ้านเกิดของตนก็ตามแต่กาวีพรก็ได้ส่งเงินเสียภาษีให้กับลาวโดยตลอดมา ซึ่งในมาตรา ๒แห่งกฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาวไดบัญญัติว่า “ สัญชาติลาวเป็นสายเกี่ยว พันธ์อย่างใกล้ชิดทางด้านการเมือง และกฎหมายระหว่างบุคคลกับรัฐของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ซึ่งแฉดงออกถึงสิทธิและพันธกรณีของพลเมืองลาวต่อรัฐ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวสิทธิและความรับผิดชอบของ รัฐ สาธารณรัฐ  ประชาธิปไตย  ประชาชนลาว ต่อพลเมืองลาว ผู้ที่มีสัญชาติลาวถือว่าเป็นพลเมืองลาว ”[2] มาตรา ๒๐ ได้บัญญัติไว้ว่า “ บุคคลผู้ใดที่ได้ไปอยู่ต่างประเทศเกินเจ็ดปีโดยไม่ได้รับอานุญาติ หรือไปอยู่งต่างประเทศทีได้รับอานุญาติแต่หากเกินกำหนดและไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของสถานทูต หรือกงศูลลาวที่ประจำในประเทศนั้น และขาดและขาตความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับรัฐสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว เกินสิบปีก็จะเสียสัญชาติลาว” และตามมาตรา ๔๘ แห่งรัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๒๐๐๓ได้บัญญัติไว้ว่า “พลเมืองลาวทุกคนมีพันธะเสียภาษีและสุรกากรตามระเบียบกฎหมาย”ที่กำหนด

         จากการอ่านตามมาตรา๑วรรค๑ มาตรา๒๐วรรค๒แห่งกฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาวและมาตรา๔๘แห่งรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวเห็นว่ากาวีพรยังมีนิติสัมพันธ์กับรัฐสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาวอยู่ดังนั้นกาวีพรจึงอาจถือได้ว่าเป็นคนลาวโดยข้อเท็จริงตามกฎหมายลาว

แนวทางกานแก้ไขของกาวีพร

        เพื่อเป็นารพิสูตตัวตนว่ากาวีพรยังมีสัญชาติลาวจริงหรือไม่และเพื่อเข้าสู่ระบบทะเบียนตามกฎหมายลาวในระดับขั้พื้นฐานในความเป็นไปได้กาวีพรจะต้องประกอบที่สำคัญมีดังนี้

๑.     ปื้มสำมโนครัวให้มีการยืนยันสำเนาถูกต้องตามฉบับเดิมพร้อมด้วยประทับกราสีแดง

๒.     มีหนังยืนยันจากนายบ้านว่า ตุ่น หรือกาวีพรเป็นบุตรของนาย,นาง และอยู่ในความดูแลของบ้านนี้จริง โดยเชนผ่าน ปกส เมือง และแขวงที่สังกัดอยู่ พร้อมละบุว่าปีที่เข้ามาในประเทศไทย

๓.     หนังสืออยืนยันหรือใบบินที่ได้เสียเงินพาสีในแต่ละปีโดยบ้านเป็นผู้รับรองก็ได้

  

      จากการศึกษาในทางกฎหมายและในปฏิบัติแล้วเห็นว่ามันมีหลายช่องทางที่จะแก้ไขสถานของกาวีพรดังต่อไปนี้

๑.     เข้าสู่กระบวนการพิสูตสัญชาติ

๒.     ไม่เข้าสู่กระบวนการในการพิสูตสัญชาติแต่ไปขอหนังเดินทางกลับประเทศลาวเลย

๓.     ส่งเข้าส.น.หรือ ต.ม.เพื่อที่จะให้ตำรวจดำเนินการเอง

๔.     เสนอไปหาองค์การระหว่างประเทศ UN เพื่อดำเนินการขั้นต่อไป

      ถ้าเข้าสู่กระบวนการพิสูตสัญชาติ สำคัญต้องขึ้นทะเบียนแรงงานและต้องได้ดำเนินการไก้ไขแบบรับรองรายการทะเนียนประวัติ ของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ของกาวีพรและลูกคนที่ระบุว่าสัญชาติพม่าถ้าอยากให้เด็กคนนั้นมีสัญชาติลาวตามแม่

      ถ้าเลือกในช่องทางที่สองคือไปขอหนังเดินทางกลับประเทศลาว  สำคัญต้องมีหนังรับรองว่ากาวีพรยังมีชื่อในทะเบียนบ้านจริง เพื่อมีความรับประกันไม่ให้มีความผิดพราด และจะไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง เพื่อกาวีพรไปถึงประเทศลาวแล้วจะได้ไปทำบัตรประจำหรือประชาชนได้และสามารถไปทำ passport ได้เลย (กำลังรวบรวมข้อมูลพยานหลักเพิ่มเติมอยู่ ถ้าจำเป็นต้องลงพื้นที่ตัวจริงเพื่อให้ชัดเจนถ้าจะนำใช้วิธีนี้)

      ส่วนในความคิดของผู้เขียนคิดว่าหน้าจะใช้ในรูปแบบหรือช่องทางที่สองหน้าจะดีกว่า

      ในส่วนของสามี กาวีพร นั้นต้องไปดำเนินการในการทะเบียนการสรรสให้ถูกต้องตามกฎหมายหลังจากที่ดำเนินการในส่วนของกาวีพรเส็จแล้วเพื่อที่จะให้สามีของเขาไปอยู่ลาวกับภรรยาและได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไปจดทะเบียนการสมรรสย้อนหลังคืน

      ถ้ามีปัญหาใดเพิ่มเติมในส่วนประเด็นในข้อกฎหมายกับกาวีพรให้ถามเพิ่มเติมได้

      ข้อเสนอ ถึงอาจารย์และคณะรับผิดโครงการอาจารย์เอ อาจารย์เพ็ด พอที่จะมีทุนลงพื้นที่ตัวจริงหือไม่ ถ้าได้ลงพื้นที่ตัวจริงในกรณีนี้คาดว่าอาจสำเร็จคงไม่เกินหนึ่งเดือน

 

วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑

                                                                                                                  บุญมีราชมีไช



[1] มาตรา ๒๐ กฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาว ค.ศ.๒๕๐๔.

[2] มาตรา2, กฎหมายว่าด้วยสัญชาติลาว, ค.ศ. 2004.

หมายเลขบันทึก: 244173เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2009 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท