รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา


รูปแบบการจัดการเรียนรู้

รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

 

                 การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ (Tacit Knowledge)

ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก  การเรียนรู้  เจตคติในงาน  ประสบการณ์การทำงาน  และพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล 

ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง แล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์  เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ (Analysis) หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่  ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน  มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ    

ขั้นตอนในการจัดการความรู้สถานศึกษา

 1.       ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ (Culture Change)

1.1   เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมของผู้บริหาร ครู และบุคลากรให้เป็นผู้ยึดแนวการทำงานที่เปิดรับ และพร้อมจะสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ พร้อมเป็นผู้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน

1.2    สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีมุมมองผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาในเชิงบวก

1.3    กล้านำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ ร่วมกัน หาทางออกหากขัดต่อระเบียบข้อบังคับ

1.4    สร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และให้โอกาสทีมงานด้วยความสมัครใจ

1.5   ปลูกฝังแนวคิดที่เอื้อต่อการทำงาน เช่น ความตั้งใจจริง การเอาชนะอุปสรรค การทำงานให้ผลออกมาดีที่สุด ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในความถูกต้อง ความดีงาม ฯลฯ

2.       สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Communication)

2.1    สื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น เช่น ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ ประโยชน์ของการจัดการความรู้

2.2    สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอนในการจัดการความรู้ ตลอดจนเครื่องมือที่จะใช้ในการจัดการความรู้

2.3    สื่อสารถึงบทบาทหน้าที่คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้

2.4    สื่อสารเกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดการความรู้ ตลอดจนความยาก และปัญหาที่อาจจะพบในการจัดการความรู้

3.     กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้ (Process and Tools) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภทชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) มักจะใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภทฝังลึก (Tacit Knowledge) มักจะเป็นกระบวนการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันได้ เช่น

3.1    ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกัน

3.2    สอนงาน (Coaching)

3.3    เรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)

3.4    จัดชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice)

4.     เรียนรู้ (Learning) เพื่อสร้างความรู้ต่อยอด ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย สำหรับข้อเสนอแนะในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้โดยการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) มีกระบวนการขั้นตอนดังนี้

              4.1   การกำหนดเป้าหมาย (Desired State) ซึ่งเป็นความต้องการในการจัดการความรู้ เพื่อตอบคำถามจะจัดการความรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด และจะทำให้ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการจัดการความรู้นั้น

                4.2   สรรหาผู้ปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมเวทีต้องเป็นตัวจริง คือเป็นผู้ปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ เป็นแบบอย่างที่ดี และมาจากความแตกต่าง หลากหลาย จึงจะเกิดพลัง

4.3   ค้นหาความรู้ฝังลึกในตัวผู้ปฏิบัติ ซึ่งเขามีวิธีการปฏิบัติอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ

ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling) โดยใช้กระบวนการสกัดขุมความรู้ (Knowledge Assets) เป็นรายบุคคล แล้วหลอมรวมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของทุกคนให้เป็นแก่นความรู้ (Core Competence)

4.4      สร้างความรู้ ที่กระจัดกระจายอยู่มากมายมารวมไว้ เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสม

และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

4.5      เลือกและกลั่นกรอง (Refine) โดยสรรหาเลือกความรู้ที่เป็นประโยชน์ และโดดเด่น

ซึ่งอาจจะนำไปเทียบเคียงทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดที่มีบันทึกไว้ หากไม่ตรงกับหลักการใด เราอาจจะได้หลักการปฏิบัติใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

4.6      เผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution) กิจกรรมนี้ นำการจัดการที่เป็นระบบแล้ว

เผยแพร่แก่นักปฏิบัติที่มีความต้องการจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์

4.7      นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Use) เป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อ

การจัดการความรู้แล้วไม่นำไปใช้ประโยชน์ก็ไม่บังเกิดผลใด ๆ ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการจัดการความรู้

4.8      นำความรู้ที่ได้มา และผ่านการนำไปใช้แล้วว่าเกิดประโยชน์จริง มาเก็บไว้ในระบบ

เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ไว้เป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Assets) เพื่อให้เกิดพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4.9      ตรวจสอบ (Monitor) เป็นการทบทวนดูว่าทุกขั้นตอนของการจัดกระบวนการ

ความรู้ มีขั้นตอนใดที่จะต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขั้นตอนใดมีความเหมาะสมดีแล้ว

5.     การวัดผลการจัดการความรู้ (Meausurement) การวัดผลจะทำให้เราได้รู้ว่าการจัดการความรู้ของเรา สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงหรือไม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องจัดทำตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ อย่างน้อยที่สุด 3 ประการ คือ เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดควรมีลักษณะดังนี้         

1.  ตัวชี้วัดจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน-          ตัวชี้วัดต้อ

สามารถอธิบายและทำความเข้าใจแก่ทุกคนได้

2. ตัวชี้วัดบางตัว อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ควรให้ทุกคนในหน่วยงานรับทราบ

6.     การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and Rewards) ในการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้นั้น จะต้องมีสิ่งกระตุ้น ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพิจารณาเรื่องการยอมรับ และให้รางวัล ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ความสอดคล้อง และความเต็มใจถ่ายทอดร่วมกับผู้อื่น ซึ่งแต่ละองค์กรต้องพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น

1.  ของรางวัล

2.  ประกาศเกียรติคุณ

              3.  คำยกย่อง ชมเชย    รางวัลอาจเป็นเงื่อนไขที่ตามมา ดังนั้น จึงควรผลักดันให้ทุกคน

เกิดความรู้สึกว่า ผลสำเร็จของงาน คือ รางวัลที่ยิ่งใหญ่ของตนเอง (Self – rewarding)  

                       ตัวอย่าง  การจัดการความรู้ในสถานศึกษา  โรงเรียน มีวิสัยทัศน์ มุ่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ประสานชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ  มีความรู้คู่คุณธรรม  สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  และพัฒนาวิชาชีพให้นักเรียนสามารถประกอบสัมมาชีพได้  เป็นคนคุณภาพของสังคมและประเทศชาติ  การส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาวิชาชีพครู มุ่งให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา  บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรมไทยให้ได้มาตรฐานได้แก่                             

ส่งเสริมให้ครู   นักการ  ลูกจ้าง  เป็นคนดี คนเก่ง ให้ได้แสดงความรู้ ความสามารถให้มากยิ่งขึ้น โดยวิธีการต่อไปนี้                                     

.    จัดทำศูนย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหาร ครูต้นแบบ ครูดีในดวงใจ ครูดีเขต

พื้นที่                                         

                .  จัดให้ครูทุกคนได้มีโอกาส  เข้ารับการอบรม  ประชุมสัมมนา  ศึกษาดูงานในเรื่องที่สนใจ  คนละ  อย่างน้อย  ๔ ครั้งต่อปี                                     

.๓ มอบรางวัล สร้างขวัญและแรงจูงใจให้แก่  ผู้บริหาร  ครู  นักการ  ลูกจ้าง ที่มีผลงาน

ดีเด่นเป็นคนคุณภาพ  เพื่อเสริมสร้างกำลังใจในการปฏิบัติงาน                             

 .   ประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  ผลงานของผู้บริหาร  ครู นักการ  ลูกจ้าง  ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน                             

 .   สนับสนุนให้ครูเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ใช้ผลงานวิจัยประกอบการวางแผนและแก้ปัญหาเผยแพร่ผลงานวิจัยของ  ผู้บริหาร  ครู ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา การจัดการเรียน       การสอนและควรเป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  เช่น การวิจัยในชั้นเรียน

  กระตุ้นให้ครู ผู้บริหารร่วมกันคิดและสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้ทีประสบผลสำเร็จในการคิดปรับปรุง หรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอน                             

.   ส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือกันทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย                               

.       ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย ระหว่างบุคคลและเครือข่ายระหว่างหน่วยงานกับสถานศึกษา ดังนั้นในการจัดการความรู้ของโรงเรียน จึงกำหนด   “เป้าหมายในการจัดการความรู้”  (Desired State) เพื่อให้วิสัยทัศน์ บรรลุผล โดยเลือกกำหนดให้สอนคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ในแผน    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา  :  กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:

                             อัดสำเนา 97 หน้า, 2548.

            โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล. รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา  เรื่อง ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนท้อง  

                             เนียนคณาภิบาล  ประจำปี 2549.  

             สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :  

                              จิรวัฒน์ เอ็กเพรส  จำกัด, 2544

              เลิศศักดิ์   นาวารัตน์. รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา .  [ลอนไลน์].เข้าถึงได้จาก  

                   http://gotoknow.org/blog/lertsak/137769 . (2552, กุมภาพันธ์  22).

หมายเลขบันทึก: 244131เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2009 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท