Blended Learning


Blended Learning

เบล็นเด็ดเลินนิ่ง การเรียนรู้แบบผสมผสาน คำนี้หมายถึงอะไร ทำไม เป็นประเด็นร้อนในแวดวงของการเรียนรู้และนักวิชาการ ผมเลยลองถามพี่กุ๊ก ถึงความหมายของคำดังกล่าว พี่กุ๊กก็เลยแนะนำให้พบปราชญ์ชาวบ้าน แห่งวงการไอทีคือ พี่วิ ซึ่งพี่วิเอง ก็ได้พูดถึงเบล็นเด็ดเลินนิ่ง ไว้ว่า

 

             เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ

 

            การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน

 

            ความจริงแล้วผมว่าอาจารย์ผู้สอนหลายท่านคงใช้ เบล็นเด็ดเลินนิ่ง อยู่แล้ว ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผมว่าไม่มีสื่อหนึ่งสื่อใด หรือวิธีการหนึ่งวิธีการใดที่จะใช้แล้วประสบความสำเร็จในทุกครั้ง แต่เราคงต้องผสมผสาน หลากหลายกระบวนท่า เพื่อสู่ความสำเร็จในการเรียนที่ผู้เรียนมีความหลากหลาย

 

             เมื่อสักสองสามวันก่อน มีนิสิตที่ในที่ปรึกษาของผม มีแนวคิดจะนำเบล็นเด็ดเลินนิ่งไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะ โดยนิสิตได้ลองนำเสนอแนวคิดกับคณะกรรมการพิจารณา เพื่อนำเสนอกรอบคิด ซึ่งคณะกรรมการบางท่านได้ถามนิสิตว่า ถ้าใช้เบล็นเด็ดเลินนิ่ง จะใช้การเรียนในห้องเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็น จะใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บกี่เปอร์เซ็นต์ นิสิตของผมเพิ่งจะศึกษาเรื่อง เบล็นเด็ดเลินนิ่ง ทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่าจะใช้แต่ละวิธีเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์

 

             ซึ่งผมเองก็อึ้ง ไปเหมือนกัน ว่าควรจะใช้ยุทธวิธีต่างๆ เป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็น ไม่เคยคิดไว้ก่อน ลองไปเรื่อย วิธีไหนดี วิธีไหนน่าสนใจ ไม่ได้ใช้แนวคิดหรือทฤษฏีอะไรเลย แต่การที่จะเป็น PHD canddate คงจะตอบแบบนี้ไม่ได้ เราต้องมีกรอบความคิด มีที่มาที่ไป ทำให้ผมนึกว่า เอ ! การที่เราอยู่ในแวดวงวิชาการ อยู่ในมหาวิทยาลัย ทำให้เราติดกรอบมากไปหรือเปล่า บางครั้งเราใช้ใจเราบ้างไม่ได้หรือในการเป็นเหตุเป็นผลสำหรับการวิจัย แต่ก็มานึอีกทีขืน นิสิตของผมเค้าตอบแบบนี้ เค้าคงถูกไล่ลงเวทีไม่ทันแน่

 

 

Blended Learning เป็นการบูรณาการ online learning และ face-to-face meetings เข้าด้วยกัน  ข้อสมมติของชุมชนการเรียนรู้ในลักษณะนี้ คือ 1) ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ และร่วมมือกันที่ลึกซึ้งขึ้น 2) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน จะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มที่มีการจัดวางการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี

 

ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก่อน และ/หรือหลังจากมีface-to-face learning แล้ว ก็ได้ ซึ่งอาจจะรวมถึง pre-event activities เพื่อ warm-up ก่อนมีการประชุมเป้าหมายก็เพื่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในระหว่างผู้เรียน สร้างความรู้สึกการเป็นทีมร่วมกันซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการทำงานกลุ่ม อาจมีการปฐมนิเทศ แนะนำ ชี้แจง ก่อนเรียนทาง

Web conferences, online discussions, และ conference ซึ่งจะทำให้มีการเปิดใจกว้าง ที่จะเรียนรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กัน ถ้าหากสุดท้ายผู้เรียนจะต้องมาพบกันในชั้นเรียนแบบเดิม หรือในอีกกรณีตัวอย่างหนึ่ง คือการให้มี Follow-up learning community หลังจาก มี face-to-face event แล้ว ชุมชนการเรียนรู้ในลักษณะนี้ อาจด้วยการให้ผู้เรียนทำ group projects, discussing research findings, และ mentoring peers เป็นต้น หรือลักษณะ end-to-end communities ที่รวมทั้ง pre-event และ follow-up learning activities ด้วย ผู้เรียนบางคนอาจชอบ end-to-end community มากกว่า เพราะ face-to-face meeting แบบปกติ มักเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ที่จะมาร่วมมือกันทำงาน ตัวอย่างเช่น ครูอาจใช้ ice-breaker community สำหรับ prework และแนะนำ เรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน ใช้ face-to-face experiential workshop ในการให้ความชัดเจนเรื่องจุดประสงค์การเรียนของแต่ละคน และใช้ follow-up community ในการ coaching และ mentoring เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

 

 

 

Blended Learning เป็นการบูรณาการ online learning และ face-to-face meetings เข้าด้วยกัน

ข้อสมมติของชุมชนการเรียนรู้ในลักษณะนี้ คือ 1) ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ และร่วมมือกันที่ลึกซึ้งขึ้น 2)

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน จะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม

ที่มีการจัดวางการทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก่อน และ/หรือหลังจากมี

face-to-face learning แล้ว ก็ได้ ซึ่งอาจจะรวมถึง pre-event activities เพื่อ warm-up ก่อนมีการประชุม

เป้าหมายก็เพื่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในระหว่างผู้เรียน สร้างความรู้สึกการเป็นทีมร่วมกัน

ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการทำงานกลุ่ม อาจมีการปฐมนิเทศ แนะนำ ชี้แจง ก่อนเรียนทาง

Web conferences, online discussions, และ conference ซึ่งจะทำให้มีการเปิดใจกว้าง ที่จะเรียนรู้ร่วมกัน

แลกเปลี่ยนการเรียนรู้กัน ถ้าหากสุดท้ายผู้เรียนจะต้องมาพบกันในชั้นเรียนแบบเดิม

หรือในอีกกรณีตัวอย่างหนึ่ง คือการให้มี Follow-up learning community หลังจาก มี face-to-face event

แล้ว ชุมชนการเรียนรู้ในลักษณะนี้ อาจด้วยการให้ผู้เรียนทำ group projects, discussing research

findings, และ mentoring peers เป็นต้น หรือลักษณะ end-to-end communities ที่รวมทั้ง pre-event และ

follow-up learning activities ด้วย ผู้เรียนบางคนอาจชอบ end-to-end community มากกว่า เพราะ

face-to-face meeting แบบปกติ มักเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ที่จะมาร่วมมือกันทำงาน

ตัวอย่างเช่น ครูอาจใช้ ice-breaker community สำหรับ prework และแนะนำ เรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน ใช้

face-to-face experiential workshop ในการให้ความชัดเจนเรื่องจุดประสงค์การเรียนของแต่ละคน และใช้

follow-up community ในการ coaching และ mentoring เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้

 

 

 

Blended Learning   นั้นคืออะไรและมีการทำงาน อย่างไร

1. Blended Learning    นั้นจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สิ่งต่อไป            ในช่วงปลายยุค 90 นั้น ทุกๆคนต่างหันมาให้ความสนใจกับอย่างมากมาย การฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเติบโตมากขึ้นในโลกของการสื่อสาร  ผู้คนเสียเวลากับการอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของพวกเขา            ปัจจุบันนี้เราได้รู้ว่าปัญหาที่แตกต่างกันก็ต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ต่างกัน (ต้องใช้การผสมผสานที่ต่างๆกันในการผสมสื่อ และช่องทางการสื่อสาร) และเราเชื่อว่านั้นคือกุญแจสำคัญ  ในการผสมผสานที่ถูกต้อง ที่จะช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆ 

 

2. การเรียนแบบผสมผสานให้เหมาะกับทรัพยากรของคุณ            เราคำถามที่เกิดขึ้นมากมายนั้นก็คือ อะไรที่จะนำมารวมกันระหว่าง เครื่องมือ กับสื่อต่างๆ ที่จะส่งผลที่ดีที่สุดกลับมาและใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด>>> กุญแจสำหรับ Blended Learning    ก็คือ การเลือกส่วนผสมที่ถูกต้องในการรวมสื่อต่างๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุดสำหรับการลงทุนที่มูลค่าต่ำที่สุด. 

 

3.สื่อแต่ละประเภทมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยอยู่ในตัว            การที่จะทำให้ Blended Learning   นั้นมีความสามารถที่มากขึ้นเต็มความสามารถของการผสมผสานนั้น คุณอาจจะเริ่มต้นที่จะมองหาสื่อต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การฝึกอบรมในชั้นเรียน ,การฝึกอบรมผ่านทางเครือข่าย ,การสัมมนาผ่านทางเครื่อข่าย, ชุดการเรียนการสอนด้วย CD-ROM  หรือแบบจำลองสถานการณ์การเรียนรู้ต่างๆ  สื่อต่างๆนั้นคือความน่าตื่นเต้นเล็กน้อย แต่ที่สำคัญจะต้องรวม หนังสือ เอกสารต่างๆ

 

4. Blended Learning   ทำให้เราต้องคิดเกี่ยวกับปัญหาทางด้านธุรกิจ            เมื่อคุณเริ่มตัดสินใจที่จะใช้สื่อต่างๆ หรือเริ่มที่จะทำการผสมผสาน จุดจะต้องเริ่มทำการบริหารจัดการกับการเก็บข้อมูล และย่อมที่จะต้องเจอกับปัญหาในการใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างแน่นอน  เมื่อคุณเริ่มที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ก็ต้องเริ่มที่จะเจอกับ ความเสี่ยง เวลา และงบประมาณ 

 

5. เทคโนโลยีไม่ได้ง่าย และสะดวกทุกที่ทุกเวลาอย่างที่เราคิด            เมื่อเราใช้เทคโนโลยีมาก ก็ยากแก่การที่จะควบคุมได้ทั้งหมด เมื่อเรานำ เทคโนโลยีมาใช้เราก็ต้องจัดการโครงสร้างของการทำงานให้เข้ากับเทคโนโลยีหรือไม่ก็ต้องออกแบบหรือสร้างโครงสร้างของการทำงานขึ้นมาใหม่  ซึ่งโครงสร้างใหม่ที่เพิ่มขึ้นมานั้นสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้อย่างมากมาย

 

6. การคิดถึงกระบวนการแปรรูป   

 

       ประเด็นพื้นฐานใหญ่ๆ ที่พบก็คือ ต้องหาวิธีการจัดสรรระหว่างเวลา และเงิน ในการที่จะทำการตลาด  การดำเนินงาน และกระบวนการแปรรูป  ในการที่จะให้ประสบความสำเร็จ คุณจะต้องทำการพัฒนาและทำการรวม เพื่อที่จะให้เข้าถึงตลาดได้  กำหนดแผนที่จะดำเนินการเพื่อที่จะเจาะตลาดให้ได้

               ในช่วงปี ’90s เป็นยุคที่ e-learning กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนา Blended Learning ขึ้น ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่ประกอบด้วยการเรียนจากสื่อเทคโนโลยี เช่น CD-ROM การเรียนออนไลน์ และการเรียนในชั้นเรียน (face-to-face) เข้าด้วยกัน (Bersin & Associates Provider) ซึ่งผู้เรียนจะได้ร่วมกันทำกิจกรรม  ทำแบบฝึกหัด กับเพื่อนๆ เป็นการเปิดโอกาสให้  ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับครูได้ปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง นอกจากนี้ยังมีช่องทางติดต่อสื่อสารด้วย chat, E-mail, Bulletin board อีกด้วย ดังนั้นถ้าจะจัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning ครูผู้สอนต้องเตรียมตัววางแผนให้รอบคอบว่า

            1. จะใช้ computer และ internet ในการสอนอย่างไร

2. จะวางแผนการสอนอย่างไร

3. จะควบคุมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้แบบนี้อย่างไร

4. จะใช้แหล่งเรียนรู้ online ให้เกิดประสิทธิผลอย่างไร

5. จะใช้แรงจูงใจและช่วยเหลือสนับสนุนผู้เรียนอย่างไรบ้าง

6. จะให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มอย่างไร

7. จะสร้างองค์ประกอบของการสอนแบบ fact-to-face ได้อย่างไร

8. จะเสริมการเรียนรู้แบบออนไลน์ได้อย่างไร

ผลการวิจัยเปรียบการเรียนในชั้นเรียน กับการเรียนแบบ Blended Learning ของสถาบันวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้เรียนที่เรียนแบบ Blended Learning มีความรู้สูงขึ้นกว่า การเรียนในชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความรู้ที่คงทนกว่าถึงร้อยละ 110

http://www.clomedia.com/content/templates/clo_article.asp?articleid=1070&zoneid=25

http://www.e-learningguru.com/wpapers/blended_bersin.doc

http://www.learningcircuits.org/2003/jul2003/rossett.htm

Net Lingo เป็น พจนานุกรมอินเตอร์เน็ตออนไลน์ ที่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ คำศัพท์ที่หยิบยกมีทั้งที่เป็นคำศัพท์ พร้อมคำอธิบายที่ชัดเจน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังนำเสนอคำย่อ ( Acronyms ) ชวเลข ( Text shorthand ) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น 2G2B4G ซึ่งหมายถึง Too Good To Be Forgotten http://www.netlingo.com/inframes.cfm ถ้าจะเปรียบเทียบกับเว็บ http://www.abbreviations.com/  และ http://emoticonuniverse.com/expression/  จะพบว่าวิธีการนำเสนอของเว็บนี้ในเรื่องตัวย่อ      ( Acronyms / Abbreviations ) จะน่าสนใจกว่าเพราะนำเสนอเป็นหมวดหมู่สะดวกแก่การสืบค้น เช่น กลุ่มคำย่อในหมวด Internet  และพจนานุกรมที่จะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับ         นักการศึกษา ก็คือ training dictionary online ซึ่งผู้ใช้สามารถเพิ่มคำศัพท์ ขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำศัพท์และความหมายที่มีอยู่เดิมก็ได้โดยต้องสมัครลงทะเบียนเป็นสมาชิกก่อน http://trainingdictionary.com/  เว็บข้างต้นต่างก็มีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอในเรื่องของคำศัพท์ในรูปแบบที่คล้ายกัน คือเป็นการเชื่อมต่อจากหน้าหนึ่งไปสู่หน้าอื่นๆ ไม่เหมือนกับการนำเสนอข้อมูลใน http://www.techtionary.com/index_in.html ซึ่งสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว สีสันสวยงาม และภาพสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนกว่า

Smartphone-Assisted Remote Proctoring เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการทุจริตในการสอบทางไกล หรือการสอบออนไลน์ ซึ่งแต่เดิมมีการนำเทคโนโลยีประเภทการพิมพ์ลายนิ้วมือ การใช้ pin number, รูปถ่าย หรือแม้แต่เสียงพูด แต่ก็ยังมีการทุจริตได้ คือผู้ที่ทำข้อสอบเป็นคนละคนกับคนที่พิมพ์ลายนิ้วมือเข้าไป จึงได้มีการพัฒนา เทคโนโลยีแบบใหม่ โดยการใช้โทรศัพท์ที่ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษทำหน้าที่เสมือนผู้คุมสอบแทน

            ข้อดี คือ ผู้สอบสามารถจะสอบที่ใดก็ได้ ถ้าสามารถต่อสัญญาณโทรศัพท์ได้ และหันตัวกล้องให้สามารถมองเห็นผู้สอบได้ตลอดเวลา            ข้อเสีย อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำข้อมูลส่วนตัว ภาพถ่ายไปใช้ในทางที่ไม่ชอบ

http://www.xplanazine.com/archives/2006/10/smartphoneassis.php

 

Learning management systems เป็นระบบการเรียนออนไลน์ที่จัดให้นักเรียนได้เรียนตาม

คำสำคัญ (Tags): #blended learning
หมายเลขบันทึก: 243882เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2009 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากได้ Blended Learning เพิ่มเติมในประเด็น

ความหมายจากนักวิชาการศึกษา

องค์ประกอบBlended Learning

กระบวนการBlended Learning

รูปแบบBlended Learning

ประเภทBlended Learning

การสร้างBlended Learning

modemBlended Learning

ประโยน์Blended Learning

ข้อดีข้อเสียBlended Learning

ท.บ.ที่เกี่ยวข้อง Blended Learning

การประยุกต์ในวงการศึกษาBlended Learning

ลักษณะพิเศษBlended Learning

ข้อจำกัดBlended Learning

อยากให้มีตัวอย่างการเขียนบทความ เกี่ยวกับ Blended Learning

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท