การใช้ระบบ MISสำหรับเจ้าหน้าที่การเงิน บัญชีและพัสดุ(หน่วยงานย่อย)


ระบบMIS
กรณียืมเงินทดรองราชการ/เงินรับฝาก
1. โครงการต่าง ๆ เช่น โครงการปฐมนิเทศก์ฯ โครงการปัจฉิมนิเทศก์ฯโครงการพิธีซ้อมย่อย
งานพระราชทานปริญญาบัตร
                        ผู้ยืม/ผู้รับผิดชอบเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติเงิน
                        เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
-          ตรวจสอบเงินงบประมาณรายจ่าย
-          จัดทำใบยืมเงิน (รายการตามรหัส ประเภทเงินที่ได้รับอนุมัติ)
-          นำเสนอและส่งเอกสารที่กองคลัง
            2. การดำเนินงานสอบคัดเลือก การควบคุมการสอบ
                        งานวิชาการจัดทำคำสั่ง
                        เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
-          ตรวจสอบเงินงบประมาณรายจ่าย
-          จัดทำใบยืมเงิน (รายการตามรหัส ประเภทเงินที่ได้รับอนุมัติ)
-          นำเสนอและส่งเอกสารที่กองคลัง
3. การเดินทางไปราชการ
            งานการเจ้าหน้าที่จัดทำคำสั่ง
                        เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
-          ตรวจสอบเงินงบประมาณรายจ่าย
-          จัดทำใบยืมเงิน (รายการตามรหัส ประเภทเงินที่ได้รับอนุมัติ)
-          นำเสนอและส่งเอกสารที่กองคลัง

 

กรณีการเบิกจ่ายเงินเพื่อส่งคืนเงินยืมทดรองราชการ/เงินรับฝาก
1. โครงการต่าง ๆ เช่น โครงการปฐมนิเทศก์ฯ โครงการปัจฉิมนิเทศก์ฯ โครงการพิธีซ้อมย่อยงาน
พระราชทานปริญญาบัตร (ผู้ยืม/ผู้รับผิดชอบรวบรวมใบสำคัญ/เงินสด) ส่งเอกสารให้ผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
                        1.1 ใบสำคัญในการจัดซื้อ/จ้าง เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าจัดทำป้าย ค่าโฆษณา ค่าจัดดอกไม้ ค่าเอกสาร ฯลฯ
                        เจ้าหน้าที่พัสดุ
                                    - จัดทำใบคืนเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ยืม, พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบยืมเงิน)
                                    - จัดทำใบขอซื้อ/จ้าง, ใบตรวจรับพัสดุ (ข้อ 39 วรรค สอง) รายงานผลการดำเนินการ
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน (ผู้ยืม/ผู้รับผิดชอบเป็นกรรมการตรวจรับโดยอนุโลม)
                                    - นำเสนอ และส่งเอกสารเบิกจ่ายเงินที่กองคลัง
                        1.2 ใบสำคัญอื่น ๆ เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร  ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  ค่าอาหาร ฯลฯ
                        เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
                                    - จัดทำใบคืนเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ยืม พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบยืมเงิน)
                                    - จัดทำใบขอเบิกเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ได้รับอนุมัติ)
- นำเสนอ และส่งเอกสารเบิกจ่ายเงินที่กองคลัง
                        1.3 เงินสด
                        เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
                                    - จัดทำใบคืนเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ยืม  พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบยืมเงิน)
- นำเสนอ และนำส่งเงินสดที่กองคลัง
            2. การดำเนินงานสอบคัดเลือก การควบคุมการสอบ
                        1.1 ใบสำคัญ เช่น บัญชีค่าตอบแทนกรรมการ ใบลงเวลาในการปฏิบัติงาน แบบใบเบิก
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  บิลค่าน้ำมันรถยนต์ ใบเสร็จรับเงิน+ใบแจ้งรายการเข้าพักโรงแรม(Folio)  คำสั่ง ฯลฯ
เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
                                    - จัดทำใบคืนเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ยืม  พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบยืมเงิน)
                                    - จัดทำใบขอเบิกเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ได้รับอนุมัติ)
- นำเสนอ และส่งเอกสารเบิกจ่ายเงินที่กองคลัง
                        1.2 เงินสด
                        เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
                                    - จัดทำใบคืนเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ยืม  พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบยืมเงิน)
- นำเสนอ และนำส่งเงินสดที่กองคลัง
3. การเดินทางไปราชการ
                        1.1 ใบสำคัญ เช่น แบบใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  บิลค่าน้ำมันรถยนต์
ใบเสร็จรับเงิน+ใบแจ้งรายการเข้าพักโรงแรม(Folio)  ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ บก. 111) กรณีเดินทางโดยรถส่วนบุคคล/ค่ารถประจำทาง/ค่าแท็กซี่ คำสั่ง ฯลฯ
เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
                                    - จัดทำใบคืนเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ยืม  พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบยืมเงิน)
                                    - จัดทำใบขอเบิกเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ได้รับอนุมัติ)
- นำเสนอ และส่งเอกสารเบิกจ่ายเงินที่กองคลัง
                        1.2 เงินสด
                        เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
                                    - จัดทำใบคืนเงิน (ตามรหัส ประเภทของเงินที่ยืม  พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบยืมเงิน)
- นำเสนอ และนำส่งเงินสดที่กองคลัง
กรณีจัดซื้อ/จัดจ้าง
          1. ขั้นตอนการจัดหาและขออนุมัติเงินเพื่อก่อหนี้ผูกพัน
                        1.1 ผู้ต้องการใช้พัสดุแจ้งเจ้าหน้าที่พัสดุขอให้จัดหา
                        1.2 เจ้าหน้าที่พัสดุ
-          จัดทำประมาณการราคาพร้อมประสานงานเจ้าหน้าที่บัญชีเพื่อตรวจสอบ
เงินงบประมาณรายจ่าย/เงินรับฝาก
-          จัดทำใบขออนุมัติจัดซื้อ/จัดจ้าง
-          นำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ
-          ดำเนินการติดต่อผู้ประกอบการ เพื่อทำสัญญา/ส่งของ
-          จัดทำใบตรวจรับพัสดุ รายงานผลการดำเนินงานและขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน
-          นำเสนอ สำเนาและส่งเอกสารต้นฉบับส่งกองคลัง
2. ขั้นตอนการจัดเก็บ
            เจ้าหน้าที่พัสดุ
-          การลงหมายเลขครุภัณฑ์ จัดพิมพ์ทะเบียนพัสดุ  การตรวจนับพัสดุและ
การรายงานผลการตรวจสอบพัสดุประจำปี
กรณีการเบิกจ่ายเงินค่าสอนเหมาจ่าย (ศูนย์นอก) ได้แก่ ศูนย์การเรียนจ. อุดรธานี จ.นครพนม จ. นครราชสีมา
จ. ยโสธร จ. สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.สระบุรี
                        งานวิชาการจัดทำตารางเรียนตารางสอน ใบสำคัญรับเงิน
                        เจ้าหน้าที่การเงิน
-          ตรวจสอบยอดเงินงบประมาณรายจ่าย/เงินรับฝาก
-          จัดทำใบเบิกเงิน (ตามรหัส ประเภทเงินที่ได้รับอนุมัติ
-          นำเสนอ สำเนาและส่งเอกสารต้นฉบับที่กองคลัง
กรณีการเบิกจ่ายเงินค่าสอนอาจารย์พิเศษ (ศูนย์ใน) ได้แก่ ศูนย์การเรียนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                        อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
- ขออนุมัติเชิญอาจารย์พิเศษและขออนุมัติค่าใช้จ่าย          
                        งานวิชาการจัดทำหนังสือเชิญอาจารย์พิเศษ
                        เจ้าหน้าที่การเงิน
-          ตรวจสอบยอดเงินงบประมาณรายจ่าย/เงินรับฝาก ผูกพันเงิน
-          จัดทำใบเบิกเงิน (ตามรหัส ประเภทเงินที่ได้รับอนุมัติ
-          นำเสนอ สำเนาและส่งเอกสารต้นฉบับที่กองคลัง
กรณีกันเงินไว้จ่ายเหลื่อมปี (ขอกันเงินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่กองคลังฯ กำหนด)
1.      การจัดซื้อ/จ้าง
เจ้าหน้าที่พัสดุ
-          จัดทำใบขอซื้อ/จ้าง
-          นำเสนอและสำเนาใบขอซื้อ/จ้างส่งแจ้งการขอกันเงินฯ ที่กองคลัง
2.      การเบิกจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าตอบแทนการสอน ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าเช่าสถานที่ ค่าโทรศัพท์
เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
-          จัดทำใบขอกันเงิน (แสดงรายการตามรหัส ประเภทเงินที่ได้รับอนุมัติ) ***ควรกันเงินที่เหลือไว้ทั้งหมด
-          นำเสนอและส่งแจ้งรายการขอกันเงินฯ ที่กองคลัง

 

 

กรณีการเบิกจ่ายเงินกันไว้จ่ายเหลื่อมปี (ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี)
1.      การจัดซื้อ/จ้าง
เจ้าหน้าที่พัสดุ
-          จัดทำใบตรวจรับพัสดุ รายงานผลการดำเนินงานจัดซื้อ/จ้าง
-          นำเสนอและส่งเอกสารที่กองคลัง
2.      การเบิกจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าตอบแทนการสอน ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าเช่าสถานที่ ค่าโทรศัพท์
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี
-          จัดทำใบยกเลิกเงินกัน (ตามรหัส ประเภทเงิน พร้อมอ้างอิงเลขที่ใบกันเงิน)
-          จัดทำใบเบิกเงิน (ตามรหัส ประเภทเงินที่ได้รับอนุมัติ)
-          นำเสนอ และส่งเอกสารที่กองคลัง
*** กรณีเงินกันเหลือให้ดำเนินการยกเลิกเงินกันเพื่อคืนเป็นเงินสะสม
คำสำคัญ (Tags): #ระบบ mis
หมายเลขบันทึก: 24381เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2006 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท