SOPA
นาง โสภา อิสระณรงค์พันธ์

บทบาทพยาบาล กับ โรงพยาบาลในฝัน


องค์การที่มีสุขภาพสมบูรณ์ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น

ปัจจุบันบริบทแวดล้อมทางสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง เป็นพลวัตตลอดเวลา กระแสความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง  เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า และความคาดหวังของประชาชนต่อการบริการที่มีคุณภาพ  ล้วนส่งผลกระทบให้องค์จำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐาน

 

ซึ่งการพัฒนาคุณภาพบริการดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง  นโยบายการบริหาร และบุคลากรผู้ปฏิบัติทุกระดับในองค์การ ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวของบุคลากรทุกระดับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ดังที่ Miles (อ้างถึงใน บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, 2550)  กล่าวว่า องค์การที่มีสุขภาพสมบูรณ์ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น    พยาบาลเป็นกลุ่มบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีจำนวนมากที่สุดจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการนำพาองค์การไปสู่ความเป็นเลิศ     

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบุคลากรสามารถสร้างและรักษาสมดุลระหว่างความสุขกับคุณภาพให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะสามารถนำองค์การไปสู่ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง    เกิดเป็นโรงพยาบาลในฝันของทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ   โรงพยาบาลในฝันอาจเป็นไปได้และมีอยู่จริงในปัจจุบัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมมอง และ ความสอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่ายด้วย   หากองค์การในฝันของผู้รับบริการเป็นองค์การที่ผู้ให้บริการทำงานทำงานด้วยความเหนื่อยล้า ไม่มีความสุข ย่อมไม่ใช่องค์การในฝันของผู้ให้บริการ  ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ และไม่มีความยั่งยืน

          หลักการนำองค์การสู่องค์การในฝัน คือ ต้องมีการกำหนด วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ที่ท้าทายและมีความเป็นได้   ผู้บริหารจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้กับบุคลากรทุกระดับ  โดยเน้นที่คุณภาพบริการ  สร้างความประทับใจ  ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ และ  ได้รับประโยชน์สูงสุด 

ขณะเดียวกัน ต้องสามารถสร้างและรักษาสมดุลระหว่างความสุขกับคุณภาพชีวิตผู้ปฏิบัติให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย

 

โรงพยาบาลที่ดิฉันทำงานอยู่เป็นโรงพยาบาลทั่วไป  เมื่อเปรียบเทียบโรงพยาบาลทั่วไป กับโรงพยาบาลชุมชน  แน่นอนว่าโรงพยาบาลทั่วไปย่อมมีปัจจัยสนับสนุน ด้าน คน  งบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์ที่พร้อมกว่าในการพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลในฝัน  แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าโรงพยาบาลขนาดเล็กจะสร้างองค์การในฝันไม่ได้

 

นอกจากความพร้อมด้านต่างๆแล้ว    บทบาทพยาบาล และ หลักการดำเนินงานที่มีความถูกต้อง ชอบธรรม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายก็มีความสำคัญมาก  องค์การพยาบาลในฐานะองค์การวิชาชีพในระบบบริการสุขภาพ ต้องปรับระบบการบริหารจัดการสู่ระบบการบริหารที่ดีแบบธรรมาภิบาล  ที่มุ่งผลลัพธ์ให้การบริหารจัดการในองค์การพยาบาล  มีความโปร่งใส มีความถูกต้องชอบธรรม  มีคุณธรรม  มีความเสมอภาค เท่าเทียม และ ความมีส่วนร่วม  อันเป็นคุณลักษณะ ที่สำคัญของความมีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ และสร้างความสุขในการทำงาน  สร้างคุณภาพชีวิตของคนในองค์การ

  มีการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรในองค์การอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด    ตอบสนองต่อความต้องการ ความคาดหวังและข้อเรียก้องของประชาชนหรือผู้รับบริการ ที่ต้องการได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงสิทธิ คุณค่าความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมกัน    ดังนั้น การเป็นโรงพยาบาลในฝันนั้นจึงควรยืนอยู่บนความโปร่งใส  มีความถูกต้องชอบธรรม  มีคุณธรรม  จริยธรรมที่ดีงามด้วย

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 243759เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2009 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

มาเยี่ยมโรงพยาบาลในฝันค่ะ..

มาเยี่ยมให้กำลังใจค่ะ

ทำด้วยใจ จะมีความสุขค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอขอบคุณ ทุกกำลังใจค่ะ

บทความ ..ซาบซึ้ง..และ

อยากเป็นพยาบาล โรงพยาบาลในฝันค่ะ..

ขอบคุณ คุณนายค่ะ สำหรับกำลังใจในการเขียนบทความนี้ คราวต่อไป จะพยายามคัดสรร เรื่องราวดี ๆ มาบอกเล่ากันอีกค่ะ

เริ๊ดดดดดดดดดด พี่สาวฉ๊านเอง คิกๆๆๆสู้ๆๆ

  • หากเราฝันแล้วเดินตามทางแห่งฝันนั้น ฝันก็จะเป็นจริง
  • รพ.น่านมีศักยภาพหลากหลาย โดยเฉพาะบุคลากร นี่คือจุดแข็งยิ่งนัก
  • เห็นด้วยว่าโรงพยาบาลในฝันนั้นต้องเกิดมาจากฐานภายในจิตใจที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม
  • เป็นกำลังใจกับคนทำงานครับ

ขอบคุณ คุณพ่อน้องซอมพอ ที่เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

สิ่งที่เรียนรู้เมื่อไป การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ครั้งที่10

Lean and Seamless Healthcare

10- 13 มีนาคม 2552

ณ. ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

สิ่งที่ได้ตามความคาดหวัง

ปรัชญาของคำว่า Lean คื่อ สิ่งที่ พัฒนาคนทำงาน พัฒนางาน และคุณค่าที่มอบให้ผู้รับผลงานคนสุดท้าย

การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

Seamless ได้เข้าใจ ความหมายอย่างแท้จริง ที่เราได้ดำเนินงานอยู่อย่างเป็นรูปธรรม ที่ได้เห็นตัวอย่างทั้งอยู่ในชุมชน และระบบเครือข่ายระบบสาธารณสุข การนำเสนอของโรงพยาบาลจังหวัดที่เชื่อมต่อไปยังสถานีอนามัยของจังหวัดเชียงรายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง การประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการบริหารปอดด้วยนกหวีดที่ทำจากไม้ไผ่

สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากทีมงานที่ไปด้วยกัน

กลุ่มงาน orthoรพ.น่าน ที่รักษาปัญหาBack pain ที่สาเหตุมาจาก DIS มีประโยชน์อะไรสำหรับคนที่อยู่สถานีอนามัย ก็ต้องบอกว่าคนไข้มาบอกว่าได้รับการรักษาจากรพ.น่านแล้วเราไม่รู้เรื่อง เป็นเรื่องเชยหลุดโลก

การใช้ยา Fluoxetine ที่ผู้ป่วยมีปัญหาแล้วไปรับบริการจากงานจิตเวชได้รับยามากินยังไม่เข้าใจฤทธิ์ยาเท่าใดนัก เคยฟังการบรรยายจากจีตแพทย์ก็แค่ผ่านหู การพูดคุยในรถที่นั่งไปด้วยกันเข้าใจมากขึ้น ซึ่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าที่ได้มาจากการคัดกรองในพื้นที่ให้บริการจะได้ส่งต่อ

การสอบสวนสาเหตุการตายของเด็ก พบว่าสาเหตุเหล่านี้พบเห็นได้ทุกที่ตลอดเวลาในหมู่บ้าน ชุมชนจนชินตากลายเป็นเรื่องปรกติ ไม่อุบัติเหตุจากรถ การจราจร การจมน้ำ ตกที่สูงตลอดจนโดนทำร้ายในครอบครัว หลายหน่วยงานพยายามแก้ไข ปัญหา เราเองคงไม่มีพลังพอที่จะให้ เกิด นโยบายสาธารณ แต่ก็มีพลังใจเมื่อกลับมาถึงบ้านกะว่าจะนอนตื่นสายก็ต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้ยินเสียงตามสายว่าทีมตำรวจจะอบรมเยาวชนที่สถานีอนามัยเรื่องทำอย่างไรเยาวชนจึงจะห่างไกลยาเสพติด จึงเข้าร่วมทีมให้ข้อคิดกับเยาวชน เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บ และตายของเด็ก ถึงแม้ว่าจบการอบรมแล้วยังคงภาพเดิมอยู่คือเด็กขี่มอเตอร์ไซด์ไม่ใส่หมวกกันน๊อคก็ตาม

เรียนรู้จากทีมจังหวัดน่านด้วยกัน การดูแลผู้ป่วยCOPD.จากรพ.ท่าวังผา การคลอดตามธรรมชาติของโรงพยาบาลปัว

สิ่งที่จะเอามาประยุกต์ใช้ การบันทึกการตรวจผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการซึ่งเดิมจะบันทึกแค่BW. BP. DTX การนัดตรวจ การใช้แบบฟอร์มใหม่ที่ได้มานี้ ต้องอภัยด้วยว่าไม่ได้บันทึกเป็นของหน่วยงานไหน

สิ่งที่เรียนรู้เมื่อไป การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ครั้งที่10

Lean and Seamless Healthcare

10- 13 มีนาคม 2552

ณ. ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

สิ่งที่ได้ตามความคาดหวัง

ปรัชญาของคำว่า Lean คื่อ สิ่งที่ พัฒนาคนทำงาน พัฒนางาน และคุณค่าที่มอบให้ผู้รับผลงานคนสุดท้าย

การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง

Seamless ได้เข้าใจ ความหมายอย่างแท้จริง ที่เราได้ดำเนินงานอยู่อย่างเป็นรูปธรรม ที่ได้เห็นตัวอย่างทั้งอยู่ในชุมชน และระบบเครือข่ายระบบสาธารณสุข การนำเสนอของโรงพยาบาลจังหวัดที่เชื่อมต่อไปยังสถานีอนามัยของจังหวัดเชียงรายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง การประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการบริหารปอดด้วยนกหวีดที่ทำจากไม้ไผ่

สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากทีมงานที่ไปด้วยกัน

กลุ่มงาน orthoรพ.น่าน ที่รักษาปัญหาBack pain ที่สาเหตุมาจาก DIS มีประโยชน์อะไรสำหรับคนที่อยู่สถานีอนามัย ก็ต้องบอกว่าคนไข้มาบอกว่าได้รับการรักษาจากรพ.น่านแล้วเราไม่รู้เรื่อง เป็นเรื่องเชยหลุดโลก

การใช้ยา Fluoxetine ที่ผู้ป่วยมีปัญหาแล้วไปรับบริการจากงานจิตเวชได้รับยามากินยังไม่เข้าใจฤทธิ์ยาเท่าใดนัก เคยฟังการบรรยายจากจีตแพทย์ก็แค่ผ่านหู การพูดคุยในรถที่นั่งไปด้วยกันเข้าใจมากขึ้น ซึ่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าที่ได้มาจากการคัดกรองในพื้นที่ให้บริการจะได้ส่งต่อ

การสอบสวนสาเหตุการตายของเด็ก พบว่าสาเหตุเหล่านี้พบเห็นได้ทุกที่ตลอดเวลาในหมู่บ้าน ชุมชนจนชินตากลายเป็นเรื่องปรกติ ไม่อุบัติเหตุจากรถ การจราจร การจมน้ำ ตกที่สูงตลอดจนโดนทำร้ายในครอบครัว หลายหน่วยงานพยายามแก้ไข ปัญหา เราเองคงไม่มีพลังพอที่จะให้ เกิด นโยบายสาธารณ แต่ก็มีพลังใจเมื่อกลับมาถึงบ้านกะว่าจะนอนตื่นสายก็ต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้ยินเสียงตามสายว่าทีมตำรวจจะอบรมเยาวชนที่สถานีอนามัยเรื่องทำอย่างไรเยาวชนจึงจะห่างไกลยาเสพติด จึงเข้าร่วมทีมให้ข้อคิดกับเยาวชน เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บ และตายของเด็ก ถึงแม้ว่าจบการอบรมแล้วยังคงภาพเดิมอยู่คือเด็กขี่มอเตอร์ไซด์ไม่ใส่หมวกกันน๊อคก็ตาม

เรียนรู้จากทีมจังหวัดน่านด้วยกัน การดูแลผู้ป่วยCOPD.จากรพ.ท่าวังผา การคลอดตามธรรมชาติของโรงพยาบาลปัว

สิ่งที่จะเอามาประยุกต์ใช้ การบันทึกการตรวจผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการซึ่งเดิมจะบันทึกแค่BW. BP. DTX การนัดตรวจ การใช้แบบฟอร์มใหม่ที่ได้มานี้ ต้องอภัยด้วยว่าไม่ได้บันทึกเป็นของหน่วยงานไหน

รูปเอาใส่ไม่ได้ (ต้องขอตำแนะนำ)

ปัญหาเมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านซึ่งผู้สูงอายุซึ่งปัญหากินยาไม่ถูก ยามากมายหลายชนิด เอาเทคนิคนี้มาแก้ปัญหา

เทคนิคจากรพ.เชียงของ จ.เชียงราย

กระป๋องยาถ้าหากว่าสถานีอนามัยไม่พอจะไปขอที่ห้องยารพ.น่าน

เทคนิคชุมชน โครงการพัฒนากระบวนการทำงานของชุมชนของอสม.ต้นแบบชุมชนโพธิ์ไทร อ.เมืองจ.กาฬ์สินธุ์ ซึ่งผลการดำเนินงานลดเหล้าอย่างยั่งยืนได้1 คน ซึ่งสถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดน่านโรงพยาบาลน่านมีกิจกรรมมากมายและผลที่ได้ก็มีมากกว่าซึ่งทำให้รู้ว่าการนำเสนอเป็นเรื่องสำคัญ มี่สถานีอนามัยตำบล

ถืมตองเองมีการดำเนินงานที่หลากหลายในแนวทางตำบลจัดการสุขภาพ ในเรื่องอาหารปลอดภัยด้วยการลดการใช้สารเคมีในการเกษตร การดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการลดขยะ มาตรการลดเหล้าในชุมชน ฯลฯ

สิ่งที่อยากบอก

สิ่งที่ได้เกินความคาดหมาย คณะที่ไปด้วยกันคุณโสภาไปทำวิจัยได้พบกับอาจารย์พยาบาลที่ได้ให้ความกรุณาให้ความรู้ที่พยาบาลต้องพัฒนาตนเองอย่างไรที่อยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวินาที

สิ่งที่จะทำให้ดีกว่าเดิม คือแสวงหาเทคนิคการนำเสนองานซึ่งมองว่าเป็นจุดอ่อนของบุคคลที่มีภาระงานเช่นทีมสุขภาพของจังหวัดน่าน เพราะคนทำงานมักจะคิดว่าทำดีอยู่แล้วผู้บังคับบัญชาทราบอยู่แล้วก็เลยไม่นำเสนอสิ่งที่เราทำ หรือพัฒนางาน จึงมีงานเขียนมาให้อ่านกรุณาวิจารณ์ด้วย

4วันแห่งการเรียนรู้จึงมีความหมายสำหรับการลาพักผ่อน ที่ไม่ธรรมดา

วัณโรคที่รักษาด้วยความรักของคนในครอบครัว

“ จดหมายจากวสค. ถึงผู้รับผิดชอบงานวัณโรค สถานีอนามัย...” ข้าพเจ้าเปิดจดหมายที่ ผู้ป่วยมีเบาหวานร่วมด้วย ดูประวัติการรักษาในแฟ้มครอบครัว พบว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่มีประวัติเรื่องไอเรื้อรังหรือน้ำหนักลดพบแค่ประวัติ Chronic diarrhea เคยส่งต่อไปไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด ใบreferตอบกลับก็มีแค่ Chronic diarrhea

เยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย วัณโรคเป็นนโยบายที่ต้องทำ ที่คนทำงาน จะรายงานยกเมฆไม่ได้เพราะผู้ป่วยนัดโรงพยาบาล ผู้รับผิดชอบถามอยู่แล้วจริงหรือไม่ว่าเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยไปเยี่ยมบ้านหรือเปล่า

ความจริงคืออะไรถ้าโม้เป็นเรื่องทันที

บ่ายวันศุกร์วางแผนออกเยี่ยม ที่สถานีอนามัยมีMask เอาไปด้วยเผื่อคนในครอบครัวผู้ป่วยด้วย งานนี้ไปคนเดียวครับท่านคนอื่นบอกว่ามีงานไปไม่ได้ ไปเองก็ได้ ลุย

สิ่งที่พบผู้คนญาติพี่น้องหลายคนอยู่ด้วยดูมีสีหน้าไม่ทุกข์อะไรยิ้มแย้มดีและทักทาย ป้าคนหนึ่งถามออกมาว่า “ทำไม่ ไม่มาให้เร็วกว่านี้สักชั่วโมง” “ทำไมละ มีอะไรหรือ” งงซิเรา

“ก็สู่ขวัญเพิ่งเสร็จ อาหารเหลือแต่ข้าวขวัญเท่านั้นแหละ” ข้าวขวัญคืออาหารที่ใช้ทำพิธีสู่ขวัญสำหรับผู้ป่วย ซึ่งมักจะเก็บไว้ให้ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อไม่ให้เสียมารยาท จึงตอบว่าไม่เป็นไร จะมาเยี่ยมผู้ป่วยเท่านั้น จึงเดินเข้าไปในบ้านซึ่งมีลักษณะบ้านไม้2 ชั้น ผู้ป่วยอยู่ชั้นล่าง ดูบริเวณแล้วดูสะอาด โล่ง ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงริมหน้าต่างที่เปิดกว้างมีแสงแดดส่องถึง

“ได้ข่าวไม่สบาย จึงมาเยี่ยม” บอกกับภรรยาของผู้ป่วย ซึงเป็นผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมที่สถานีอนามัยเป็นประจำจึงคุ้นเคยกันดี และยังเป็นศิลปินนักร้องเพลงพื้นบ้านด้วย พร้อมกับแนะนำให้รู้จักกับเด็กสาว2 คนบอกว่าเป็นลูกสาว ทำงานที่กรุงเทพฯทั้ง2 คนซึ่งไม่คุ้นหน้าทั้ง2 คนยกมือไหว้ ดูเป็นคนสวยและน่ารักทั้ง2 คน

ผู้ป่วย สภาพดูอิดโรย มีmask ปิดปากและจมูก ผอมแห้ง นอนนิ่ง ลูกสาวคนโตบอกว่า พ่อวันนี้นั่งนานตอนสู่ขวัญ จึงนอนได้ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ทั้งตำรา อาจารย์ ประสบการณ์บอกว่าผู้ป่วยนอนนานไม่ดีเลือดไหลเวียนไม่สะดวก จึงบอกให้ผู้ป่วยลุกนั่ง เด็กสาวทั้ง2 คนรีบช่วยกันพยุงพ่อลุกนั่ง เมื่อลุกนั่งได้ถามผู้ป่วยแล้วไม่มีอาการเวียนหัว ลองให้ยืน ผู้ป่วยยืนได้ และให้เดินไปนั่งที่เก้าอี้รับแขก ทั้ง2 คนช่วยกันประคองพ่อเดินซึ่งทำได้ดี ได้วัดความดันโลหิตให้ผู้ป่วย ไม่มีอาการหายใจหอบ แต่ไม่พูด จึงหันไปสอบถามประวัติการเจ็บป่วย ลูกสาวคนโตที่ดูท่าทางคล่องแคล่วในการดูแลผู้ป่วย บอกว่า “ พ่อมีอาการท้องเสียบ่อย รักษาที่บ้านเราไม่หายจึงพาไปรักษาที่กรุงเทพฯ หมอที่กรุงเทพฯบอกเป็นโรคลำไส้ไม่ดูดซึม และมีเบาหวานร่วมด้วย”

“แล้วโรคปอดรู้จากที่ไหน” “ รักษาที่กรุงเทพฯเกือบเดือนต่อมาขอมารักษาที่โรงพยาบาลบ้านเรา หมอบอกว่าเป็นวัณโรคปอด”

“แล้วหมอว่าต้องทำอย่างไร ปฎิบัติตัวอย่างไร” ถามแบบประเมินความรู้ตามหลักการเลยเรา

คำตอบที่ได้ถูกต้อง และทำได้ เช่น ถามเรื่องยา ทำได้ถูกต้อง การป้องการแพร่กระจายโรค อาหาร

ทำให้สบายใจได้ว่าคงไม่มีอะไรมากนัก เรื่องเศรษฐกิจเราก็ต้องถามด้วยงั้นไม่ครบกระบวนคำตอบที่แสนประทับใจคือ “ หนูจะดูแลพ่อจนหายเรื่องงานนั้นค่อยหาใหม่ ให้น้องไปทำงานต่อ” “แล้วน้องทำงานอะไรล่ะ” น้องสาวบอกว่า “หนูเป็นพนักงานงานเครื่องสำอางจากประเทศฝรั่งเศส ยี่ห้อ...” ยี่ห้อไฮไซที่คนไกลม๊อบและปืนกลอย่างเรารู้ได้ก็จากนิตยสารชั้นนำเท่านั้น รู้แล้วละว่าเด็กสาวคนนี้ถึงได้ผิวพรรณสวยใส

“มีอะไรจะถามอีกหรือไม่” ถามก่อนจะปิดการสนทนา “มีอีกเรื่อง หนักใจมาก” แม่ของเด็กสาวพูด “อะไรหรือ” “ ก็ลูกสาวคนนี้ ไปตรวจสุขภาพหมอบอกว่าแต่งงานจะมีปัญหา ทำให้นอนไม่หลับมาหลายคืนแล้ว” จึงให้ไปเอาสมุดบันทึกตรวจสุขภาพมาให้ดู เป็นสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังที่มักเห็นโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือวารสารทางสุขภาพ มีความผิดปกติคือ ธาลัสซีเมียแฝง จึงให้คำปรึกษาดูสีหน้าของทั้งแม่และลูกดูโล่งใจ “ นึกว่าลูกสาวจะไม่ได้แต่งซะแล้ว” คนเป็นแม่พูด กลับมาถึงสถานีอนามัยแทนที่จะเล่าเรื่องผู้ป่วยกลับมาเล่าเรื่องเครื่องสำอางไฮไซให้กับทีมงานและทุกคนให้ความสนใจความสวยเป็นที่ตั้ง

อีกอาทิตย์ต่อมาก็วางแผนการเยี่ยมอีกก็ทราบข่าวจากคนในหมู่บ้านว่าผู้ป่วยรายนี้กลับไปนอนรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดอีก นึกกังวลในใจว่าความก้าวหน้าการรักษาโรคของผู้ป่วยคงไม่ค่อยจะดีนัก สิ่งที่เคยให้กำลังแก่ผู้ป่วยว่า “อย่าเพิ่งเป็นอะไรไปตอนนี้ ต้องรอทำบุญพระธาตุก่อน ตำบลเราไม่เคยมีการสร้างพระธาตุเจดีย์เลยอีก ไม่ถึง10 ปีก็สร้างเสร็จ” ก็พูดต่อหน้าญาติตั้งหลายคนกลัวพระธาตุเจดีย์จะไม่ศักดิ์สิทธิ์ ข่าวในชุมชนในชนบทรู้กันทั่วว่าผู้ป่วยกลับมาบ้านแล้ว ไปเยี่ยมอีก พบผู้ป่วยไม่นอนในบ้านแล้วออกมานอนนอกบ้านได้ ลูกสาวคนโตอยู่ดูแล รู้สึกชื่นชมเด็กสาวที่ดูแลพ่อเป็นอย่างดี อีกอาทิตย์ต่อมาไปเยี่ยมอีก ภรรยาผู้ป่วยบอกว่า “คนไข้สงสัยจะหายแล้วล่ะ” “ รู้ได้ไงล่ะ” “ก็บอกอยากจะร้องเพลงแล้ว อยู่ว่างๆเหงาร้องเพลงท่าจะดี”

ต้องรีบดูว่ากินยาครบหรือเปล่า กินยาครบ ครั้งล่าสุดไปเยี่ยม ลูกสาวบอกว่าพ่อออกกำลังกายได้แล้ว ออกเดินถึงโรงเรียน มองเห็นรอยยิ้มในแววตาเธอ

สวัสดีค่ะ อ่านแล้วเดาได้เลยว่าต้องเป็นพี่สุพัต พยาบาลคนเก่งของเรานี่เอง สวย เก่ง ฉลาดแสนดี อย่างนี้ แถมไม่พอยังขยันอีกต่างหาก ไปประชุมมาแล้วยังสรุปความคิด ความรู้ที่ได้แบ่งปันประสบการณ์ให้กับคนอื่นๆด้วย อ่านบทสรุปของคุณพี่แล้วไม่ต้องนั่งเขียนบันทึกเลย ขอบคุณมากมายค่ะ

ภูมิใจที่ได้เป็นพยาบาลคนหนึ่งในโรงพยาบาลในฝันและขอสัญญาว่าจะปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส มีความถูกต้อง ชอบธรรม มีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามจ๊ะ เป็นกำลังใจให้นะ เดี๋ยววันหลังจะฝากผลงาน ดีๆมานำเสนอจ้า

ฝากความคิดถึง ถึงน้อง TC ด้วยนะจ๊ะ

สวัสดีค่ะ คุณPISA ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ เดี๋ยวจาหอบความคิดถึงไปฝาก TC ให้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท