ครูบารินไซ


รินไซ


ภาพครูบารินไซ กิเจ็น ศิษย์เอกครูบาฮวงโป


 
บันทึกของผู้แปลไทย :
 
 
 
 
" รินไซ " อาจารย์เซ็น ข้าพเจ้าแปลออกมาจากที่มาในหนังสือภาษาอังกฤษสองเล่ม
คือหนังสือ Ch 'an And Zen Teaching ของอุบาสก ลู ก ' วน ยู หรือ ชาร์ลสลุค
ในบทที่ ๓ ที่มีชื่อว่า The Lin Chi Sect ( Rinzai Zen ) กับหนังสือ The Zen Teaching
Of Rinzai ซึ่งนาย IRM-GRAD SCHLOEGL เป็นผู้แปลออกมาจากฉบับจีนอีก
เล่มหนึ่ง





ในเล่มแรกคือเล่มที่เขียนโดยอุบาสก ลู ก ' วน ยู นั้นข้าพเจ้าได้เลือกแปลแต่เฉพาะ
ที่เห็น ว่าสำคัญดังที่ปรากฏในภาค ๑ ที่ผ่านมาแล้วทั้งหมด ซึ่งจะเป็นเครื่องใช้ให้
เห็นประวัติดั้งเดิมที่แท้จริงของมาสเตอร์รินไซ





เมื่อพูดถึงอุบาสก ลู ก ' วน ยู ก็ดูเป็นผู้อาวุโสในเรื่องของเซ็นมากพอสมควร
พอทราบประวัติอยู่บ้างว่าเป็นชาวจีน แต่เดิมอยู่ประเทศจีนผืนแผ่นดินใหญ่
และเป็นสานุศิษย์ของ มาสเตอร์ฮู ยุน อาจารย์เซ็นยุคสุดท้ายของจีนผู้ซึ่งเพิ่งจะ
มรณภาพ ไปเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๕๙ ( พ.ศ. ๒๕o๒ ) นี้เอง มาสเตอร์
ฮูยุน เป็นอาจารย์เซ็นพ้องยุคกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ของไทยเรา มรณภาพ
ที่ภูเขายุนชู ' เมาน์เทนมลฑลเกียงชิ ประเทศจีนขณะที่ท่านมรณภาพมีที่บอกว่า
อายุของท่านได้ ๑๒o ปี และกล่าวว่าอายุในธรรมของท่านได้ถึง ๑o๑ ปี
ข้อนี้ทำให้ทราบว่า มาสเตอร์ฮู ยุน ท่านนี้ ข้าพเจ้าเองยังไม่ได้ค้นคว้า แต่ก็ได้
ทราบเหมือนกันว่ายิ่งใหญ่มหาศาลเช่นเดียวกับ พระอาจารย์มั่น ของเราเลย
ทีเดียว และถ้ามีบุญหรือหากว่าเป็นไปได้ ข้าพเจ้าคงจะได้นำปฏิปทาอัน
มหัศจรรย์ของ มาสเตอร์ฮู ยุน มาเล่าสู่กันฟังอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าหาบุญไม่
ก็สุดแต่กรรมของข้าพเจ้ากับท่านนั่นเป็นแท้




มาพูดถึงอุบาสก ลู ก ' วน ยู กันอีกครั้ง ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าขณะนี้ ( พ.ศ.๒๕๒๓ )
เขาจะยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า ถ้าข้าพเจ้าไม่ผิดก็ดูเหมือนว่า หนังสือเรื่องนิกาย
เซ็นทั้งห้าเล่มนี้เขาเขียนเมื่อตนเองมีอายุอานามปาเข้าไปตั้ง ๖o แล้ว ( ค.ศ. ๑๙๕๙ )
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเขาได้อพยพจากประเทศจีนเข้ามาตั้งรกราก
อยู่ในฮ่อง ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ก็เขียนที่ฮ่องกงนั่นเอง แต่ถึงอย่างไรศรัทธาและ
ความซาบซึ้งตรึงใจของเขาก็ยังมิได้เสื่อมคลายไปจากพระอาจารย์ที่รักคือ มาสเตอร์
ฮูยุน ของเขาเลย ตามที่มีข้อความภาษาอังกฤษที่เขาบันทึกเองอยู่ตอนหนึ่งว่า :



To the memory of my late master , the Venerable Hsu Yun , the right dharma
eye of this generation , who passed away on 13 October 1959 on Yun ch' u
mountain , Kiangsi , Chaia , in his 120 th year at the Dharma age of 101



ซึ่งแปลได้ความว่า :



เพื่อความทรงจำแด่พระอาจารย์ผุ้ล่วงลับของฉันท่านอาจารย์ ฮูยุน ผู้รู้เห็นธรรม
ถูกต้องถ่องแท้ของยุคนี้ ผู้ที่ท่านละจากไปเมื่อ ๑๓ ตุลาคม ๑๙๕๙ ณ ภูเขา
ยุน ชู ' เมาน์เทน , เกียงซิ , ประเทศจีน อันเป็นปีที่ ๑๒o ของท่านขณะที่ท่าน
มีธรรมายุได้ ๑o๑ ปี.



ดังนั้น " รินไซอาจารย์เซ็น " ภาค ๑ ในชุดแปลไทยนี้จึงถือว่าเป็นผลงานต้นตำรับ
ของ ลู ก ' วน ยู สานุศิษย์ผู้สัตย์ซื่อและเจนจัดต่อคำสอนของเซ็นโดยเฉพาะ และ
แม้ว่าฝรั่งหลายคนจะมีความเห็นเหมือนกันว่าคำอธิบายในตอนท้ายของหน้ากระดาษ
แต่ละหน้าที่ ลู ก ' วน ยู เขียนอธิบายไว้นั้นมันจะมากไปเกินไป ชนิดน้ำท่วมมุ่ง แต่
ข้าพเจ้าก็ยังเห็นความสำคัญเหล่านั้นอยู่เป็นอันมาก เพราะมันเปรียบเสมือนเป็นเครื่อง
ชี้ให้เราได้เห็นแนวคำสอนที่แท้ของ " รินไซ " เป็นอย่างไร ถ้าปราศจากคำอธิบาย
เหล่านั้นเสียแล้วข้าพเจ้าก็ไม่แน่ใจนักว่าใคร ๆ จะสามารถเข้าใจความหมายของ
" รินไซ " ที่คำสอนส่วนมากล้วนแล้วแต่เป็นการร้องตะโกน ทุบตีและบีบคั้นได้
หรือไม่เพียงไร




ส่วนหนังสืออีกเล่มหนึ่งคือ The zen teaching of rinzai ที่แปลจากภาษาจีน
โดย นายเอิร์มการ์ด ชโลคล์ นั้นมีที่มาของประวัติและคำสอนค่อนข้างจะไม่ตรง
นักกับของ ลู ก ' วน ยู ซึ่งก็เป็นธรรมดาของการค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคดี
ที่ย่อมจะมีคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ในระหว่างสองเล่มนี้ก็ ไม่สู้จะแตกต่างกัน
มากนัก




ในเล่มของ ลู ก ' วน ยู ว่า มาสเตอร์รินไซ ชื่อเดิมว่า ไอ ฮวน ต่อมาเรียกท่าน
ตามชื่อตำบลที่อยู่ของท่านว่า ลินชิ และนิกายของท่านก็ถูกเรียกว่า นิกายลินชิ
ด้วย แต่ก็มีชื่อนวงเล็บไว้ด้วยว่า ( รินไซเซ็น ) ซึ่งมีแสดงไว้แล้วในแผนผังลำดับ
ตระกูลแห่ง ฌ ' า น หรือเซ็นในคำแปลภาค ๑ นั้น และในเล่มของ ลู ก' วน ยู
ไม่เคยเรียกท่านว่า " รินไซ " แต่ในเล่มของ นายเอิร์มการ์ด ชโลคล์ กลับชี้ว่า
นามเต็มของมาสเตอร์คือรินไซ กิเจ็น ซึ่งก็ถูกนำมาเรียกเป็นชื่อนิกายของท่านว่า
" นิกายรินไซ " ในภายหลัง เราก็ยอมรับและใช้เรียกในที่นี้





กล่าวโดยสรุปก็คือ พุทธศาสนาแบบเซ็นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๕ นิกาย มีชื่อ
เรียกทั้งภาษาจีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะว่าเริ่มแรกทีเดียวนั้นเซ็นถูกก่อตั้งขึ้นใน
จีน แล้วจึงมารุ่งโรจน์นญี่ปุ่นภายหลัง นิกายทั้ง ๕ นั้นมีชื่อทั้งจีนทั้งญี่ปุ่น
ดังนี้ :



ญี่ปุ่นเรียก ไอเกียวเซ็น ของจีนว่า นิกายกุยยาง
ญี่ปุ่นเรียก รินไซเซ็น ของจีนว่า นิกายลินชิ
ญี่ปุ่นเรียก โฮเก็นเซ็น ของจีนว่า นิกายฟาเยน
ญี่ปุ่นเรียก อุมมอนเซ็น ของจีนว่า นิกายยุนเมน
ญี่ปุ่นเรียก โซโตเซ็น ของจีนว่า นิกายเซาตุง




รวมเป็น ๕ นิกายด้วยกัน สำหรับนิกายลินชิหรือรินไซเซ็นนี้ถูกนำจากประเทศจีน
เข้าไปเผยแพร่ในญี่ปุ่นระหว่างคริสตศตวรรษที่ ๑๓ ในปัจจุบันนิกายเซ็นทั้ง ๕
เหล่านี้ดูเหมือนจะยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ นิกายเท่านั้น คือนิกายรินไซ กับ นิกายโซโต






ที่หนังสือทั้งสองเล่มนี้แสดงไว้ต่างกันอีกก็คือวันมรณภาพของ มาสเตอร์รินไซ
ในเล่มของอุบาสก ลู ก ' วน ยู บอกแต่ว่า มาสเตอร์รินไซ เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๘๖๗
แต่นายเอิร์มการ์ด ชโลคล์ บอกถึงวันที่ที่มาสเตอร์รินไซมรณภาพด้วยเลย โดยระบุ
ว่าท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑o มกราคม ปี ค.ศ. ๘๖๖




อย่างไรก็ตาม คำสอนของมาสเตอร์รินไซก็ถือได้ว่าเป็นคำสอนที่มี " แก่น "
มากกว่ากระพี้เป็นพิเศษทีเดียว สำหรับท่านที่เคยอ่านหรือเคยศึกษาเรื่องนิกาย
เซ็นพร้อมทั้งคำสอนนแนวนี้าแล้ว ก็คงจะพอเข้าใจได้ว่า " เซ็น " เขามีการสอน
ชนิดที่เรียกว่า " ถึงลูกถึงคน " กล่าวคือมันคล้ายกับว่าเขาทุบสันหลังบรรดา
พวกลูกศิษย์เพื่อให้ตรัสรู้ ซึ่งการ " ตรัสรู้ " ของเซ็น เขามักจะยืมเอาคำว่า
" ตื่นลุกโพลง " มาใช้แทน ก็หมายความว่า " การกระแทกให้สะดุ้ง " หรือ
" ยุให้ตื่น " เป็นเทคนิคชั้นสุดยอดที่เซ็นเขาชอบใช้ และถือเป็นหัวใจของ
การสอนเซ็นโดยเฉพาะ และเฉพาะนิกายรินไซ เขาถือกันว่ามีวิธีการสอน
ที่ดีที่สุด ได้รับการพัฒนาทางเซ็นดีที่สุด และมีอาจารย์ผู้สอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ด้วยเหมือนกัน .




ในทัศนะของข้าพเจ้าที่เกี่ยวกับ " รินไซ " ทั้งในส่วนคำสอนและตัวอาจารย์นี้
ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นนโยบายการสอนที่ค้อนข้างจะเฉลียงฉลาดปราดเปรื่องเอา
การอยู่ และสติปัญญาภายในของอาจารย์เองก็สูงคมคายพอได้อาศัย เพราะถ้า
หากว่าผู้เป็นอาจารย์ไม่รู้แจ้งเห็นจริงใน " พุทธภาวะ " แล้ว ก็จะสอนอย่างฉับไว
และเอาเป็นเอาตายอย่างนี้ไม่ได้ อย่างเช่นข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างว่า ถ้าอาจารย์
ผู้สอนมิใช่ผู้รู้ว่า " แก้ว " คืออะไร ? อาจารย์เซ็นโง่ ๆ ก็จะไม่สามารถตอบปัญหา
นั้นด้วยการทุบแก้วให้แตกไปต่อหน้าต่อตาผู้ถามได้ หมายความว่า โดยธรรมชาติ
ที่แท้จริงแล้ว " แก้ว " มิได้มีอยู่จริง มันเป็นสักแต่ว่ามายาหรือสิ่งลวง ดังนั้น
ทางที่ดีที่สุดในกรตอบปัญหาก็คือต้อง " ทุบ " แก้วให้แตกฉิบหายไปเสียเลย
เพื่อความรู้ที่ว่า " แก้วมิได้มีอยู่จริง " ซึ่งวิธีการ " ทุบ " หรือ " กระแทก "
หรือ " บีบ " นี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าถ้าข้าพเจ้าเป็นอาจารย์เซ็น ข้าพเจ้าก็จะทำค่อน
ข้างบ่อยเลยทีเดียว แม้ว่าข้าพเจ้าจะเป็นอาจารย์เซ็นผู้โง่เขลาเบาปัญญาที่สุด
ก็ตามที



วิธีการที่คล้ายกับลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการตอบปัญหาสอนธรรมของเซ็นที่แยบยลที่สุด
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า " เซ็น " โดยเฉพาะ " รินไซ " นี้ เขาปราดเปรื่องจริง ๆ




ในส่วนของการศึกษาและปฏิบัติ ท่านทั้งหลายจะต้องพยายามจับความหมายในทุก ๆ
ประโยคขณะอ่านให้ได้ อย่าให้คลาดสายตาไปพอแต่ว่ารู้แล้วรู้รอด เพราะการไม่
เข้าใจนคำพูดของ " รินไซ " เขาถือว่าเป็นสิ่งผิด และในขณะเดียวกัน ถ้าท่านสามารถ
เข้าใจได้ในทุก ๆ ประโยคของ " รินไซ " ท่านก็อย่างเพิ่งเชื่อเลยว่า " เข้าใจ "
เพราะ " รินไซ " เขาถือว่านั่นมันเป็นสิ่งที่ผิดด้วยเหมือนกัน แต่ที่ถูกนั้น ท่านจะต้อง
พยายามทำความรู้สึกไว้เป็นกลาง ๆ อย่าข้องแวะยึดติดอยู่กับส่วนข้างใดข้างหนึ่ง
อย่างนี้จึงจะเรียกว่าท่าน " ตรัสรู้ " ที่เซ็นเขาเรียกว่า " ท่านไม่รู้อะไรเลย " นั่นเอง




ในระหว่างคำแปลภาค ๒ ต่อไปนี้ทุกข้อ ข้าพเจ้าได้บันทึกหมายเหตุไว้อย่าง
รัดกุมเป็นส่วนมาก เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการขบคิดปัญหาที่รู้สึกว่าค่อน
ข้างจะยากและมืดมน ซึ่งศัพท์ส่วนมากหรือจะว่าทั้งหมดก็ว่าได้นั้น เป็นศัพท์
ศาสนาทางฝ่ายมหายาน ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่จะทำให้ทุกท่าน
ได้ศึกษาหาความรู้หลักธรรมทางวิชาการของพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือนั้นได้
เป็นอย่างดี




ข้าพเจ้าผู้แปล " รินไซอาจารย์เซ็น " ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำสารสาส์น
" เสียงปลุก " ทุกท่านที่ได้เปิดทางให้อาจารย์ " รินไซ " ของข้าพเจ้าและ
ของสรรพสัตว์ทั้งปวง ได้ก้าวเท้าออกมายืนชูแซ่เพื่อปัดยุงอันได้แก่อุปธิกิเลส
ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปจาก " เขาคนนั้น " ซึ่งคำว่า " เขาคนนั้น " ก็คือ
ผู้ที่อยู่ต่อหน้าท่านที่นี่และเดี่ยวนี้ และปราศจากรูปร่างตามความหมายของ
" รินไซ " ที่หมายถึง จิตบริสุทธิ์ที่เป็นผู้รู้เป็นพุทธะอยู่ในตัวของท่านทุก ๆ
ท่านนั่นเอง




ขอโปรดได้รับพรแห่งพุทธะ ธรรมะและทางตามโวหารของ " รินไซ "
โดยทั่วกันเถิด




เตชปญโญ ภิกษุ
ผู้แปลไทย
๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
อุบลราชธานี

 
  บันทึกการเข้า

เริงร่ายในเวิ้งฟ้า
ห่มกายในม่านเมฆ
ดื่มกินดวงสุริยันและคว้าจับจันทรา
หมู่ดาราคือบริวารแห่งข้าฯ
ทารกผู้เปลือยเปล่าช่างงดงามและสูงสง่า
สัตตบงกชเบ่งบานอยู่ทั่วฟ้า
ช่างน่าประหลาดล้ำที่ได้เห็นนาฏกรไร้รูป
ร่ายรำกับวงมโหรีที่ปราศจากผู้บรรเลง

http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2598
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 02:47:35 PM »
 


ภาพครูบารินไซ อีกเวอชั่น
 
 
ภาค ๒
 
ว่าด้วยวิธีการอันเป็นคำสอนตามแนวทางของท่าน
 
 
 

ก. ท่านข้าหลวง โอ โจจิและคณะของท่านได้นิมนต์ท่านอาจารย์ขึ้นธรรมมาสน์
ท่านอาจารย์ขึ้นธรรมมาสน์แล้วกล่าวว่า " ฉันไม่อาจปฏิเสธการร้องขอ ของพวก
ท่านที่ขอให้ขึ้นธรรมมาสน์วันนี้ ในธรรมเนียมของครูบาอาจารย์ ฉันจะไม่แม้
แต่เอ่ยปากสรรเสริญพุทธภาวะ ส่วนท่านจะหาที่สำหรับวางเท้าก็ไม่มดังนั้น
วันนี้ได้รับ นิมนต์ของท่านข้าหลวงแล้ว ฉันจะอำพรางแนวทางของฉันอยู่ใย ?
ถ้าจะให้ดีแล้ว มีนายทัพนายกองผู้เก่งกาจที่จะแปรขบวนพลพยุหะของเขา
แล้วชักธงทิวขึ้นสู่ยอดเสาสักคนใหม ? ถ้ามีก็ปล่อยให้เขาทำไปก่อน และให้
เขาแสดงความสามารถอันช่ำชองของเขาเสียก่อน "



ข. ภิกษุรูปหนึ่งถามขึ้นว่า " อะไรคือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาครับ ? "
ท่านอาจารย์ร้องตะโกนออกมาอย่างดัง ( ๑ ) ภิกษุรูปนั้นย่อตัวเป็นเชิงรับ
ท่านอาจารย์จึงพูดว่า " ใครคนนี้จะสามารถยับยั้งตัวเขาไว้ในการโต้เถียงได้ "



มหายเหตุ ( ๑ ) เป็นการตะโกนอย่างสุดเสียง โดยผู้แปลจะไม่อธิบาย
ความหมายใด ๆ ของเสียงปริศนานี้เป็นอันขาด ปัญญาความรู้ชัดใน
" จุด " ๆ นั้นของทุกท่านคือคำตอบ

- ผู้แปลไทย -

 
  บันทึกการเข้า

เริงร่ายในเวิ้งฟ้า
ห่มกายในม่านเมฆ
ดื่มกินดวงสุริยันและคว้าจับจันทรา
หมู่ดาราคือบริวารแห่งข้าฯ
ทารกผู้เปลือยเปล่าช่างงดงามและสูงสง่า
สัตตบงกชเบ่งบานอยู่ทั่วฟ้า
ช่างน่าประหลาดล้ำที่ได้เห็นนาฏกรไร้รูป
ร่ายรำกับวงมโหรีที่ปราศจากผู้บรรเลง

http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2598
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 02:48:45 PM »
 

ค. ภิกษุรูปหนึ่งถามว่า " อาจารย์ เพลงที่ท่านร้องนี้ของใคร ? แนวทางของท่าน
ได้รับมาจากใหน ? " ท่านอาจารย์พูดว่า " เมื่อฉันอยู่กับอาจารย์ฮวงโป ฉันถาม
ท่านอาจารย์สามครั้ง ก็ถูกเฆี่ยนถึงสามครั้ง " ภิกษุรูปนั้นแสดงท่ากระอักกระอ่วนใจ
ท่านอาจารย์ร้องตะโกนออกมาอย่างดัง แล้วเอากำปั้นทุบเขาพร้อมกับพูดว่า
" ใคร ๆ ไม่สามารถจะตอกจะปูลงไปในที่ว่าง "


ง.มีอาจารย์นักปริยัติรูปหนึ่งถามว่า " คำสอนที่ว่าด้วยยานทั้งสามและพระพุทธวจนะ
๑๒ ( ๑ ) จะทำให้สว่างไสวในธรรมชาติแห่งพุทธะได้หรือไม่ ? " ท่านอาจารย์ตอบ
ว่า " พื้นดินของท่านยังไม่ได้ขุดก่อน " อาจารย์นักปริยัติจึงพูดว่า " พระพุทธเจ้า
หลอกลวงประชาชนได้อย่างไรหรือ ? " ท่านอาจารย์พูดว่า " ท่านอยู่ใหนล่ะ พระ
พุทธเจ้า ? " อาจารย์นักปริยัติองค์นั้นจึงไม่มีคำจะพูด ท่านอาจารย์ต่อีกว่า
" นี่ ต่อหน้าท่านข้าหลวงนะ ไล่พระหลวงตาองค์นี้ไปได้ แล้ว ! เอาออกไปเสีย
ให้พ้น ! ท่านกีดกันคนอื่นไม่ให้เขาได้ถามปัญหาของเขา "



หมายเหตุ ( ๑ ) ยาน ๓ ได้แก่



๑. มหายานคือพุทธศาสนาในส่วนอุตตรนิกายเป็นนิกายฝ่ายเหนือมีอยู่ในประเทศ
ธิเบต มองโกเลีย จีน เกาหลี และญี่ปุ่น
๒. ปัจเจกพุทธยาน หมายเอา การรู้เฉพาะตน สอนคนอื่นไม่ได้ของพระปัจเจก
พุทธเจ้าทั้งปวง
๓. สาวกยานคือพุทธศาสนาในส่วนทักษิณนิกาย นิกายฝ่ายใต้ หมายเอานิกาย
หินยานหรือเถรวาท



พระพุทธวจนะ ๑๒ มีพระสูตรและคาถาเป็นต้น

 
  บันทึกการเข้า

เริงร่ายในเวิ้งฟ้า
ห่มกายในม่านเมฆ
ดื่มกินดวงสุริยันและคว้าจับจันทรา
หมู่ดาราคือบริวารแห่งข้าฯ
ทารกผู้เปลือยเปล่าช่างงดงามและสูงสง่า
สัตตบงกชเบ่งบานอยู่ทั่วฟ้า
ช่างน่าประหลาดล้ำที่ได้เห็นนาฏกรไร้รูป
ร่ายรำกับวงมโหรีที่ปราศจากผู้บรรเลง

http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2598
 
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2008, 02:49:24 PM »
 

จ. แล้วอาจารย์พูดต่ออีกว่า " มันเป็นเรื่องของคนผู้เข้าถึงพุทธภาวะที่เราพูดถึงกัน
ในวันนี้ ใครมีปัญหาอะไรอีกใหม ? ถ้ามีก็รีบถามต่อไปไว ๆ ! แต่เมื่อท่านปริปากพูด
ออกมามากเพียงไร ท่านก็ออกนอกจุดไปมากเพียงนั้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
ท่านไม่ทราบหรือว่าพระพุทธเจ้าได้ ตรัสไว้ว่า " ธรรมะนั้นนอกเหนือไปจากคำพูด
มันไม่ใช่ทั้งความจำกัดขอบเขตและไม่ใช่ทั้งความมีความเป็น เพราะเหตุที่ท่านไม่มี
ความรู้ยิ่งในข้อนี้ ท่านจึงพัวพันและถูกผูกมัดอยู่ในปัญหาทั้งหลาย ฉันเกรงว่า
ท่านข้าหลวงและคณะของท่านอาจจะพัวพันอยู่ และธรรมชาติแห่งพุทธะของ
ทุกคนจะมืดมน ฉันถอดถอนมันออกได้ดี " แล้วท่านอาจารย์ก็ร้องตะโกนออกมา
อย่างดัง พร้อมกับพูดว่า " ท่านผู้มีความรู้ยิ่งน้อย ท่านไม่เคยได้พักผ่อนเลย ฉันได้ทำ
ให

คำสำคัญ (Tags): #รินไซ
หมายเลขบันทึก: 243727เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2009 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไปเล่นน้ำสงกรานต์กันนะคะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

อากาศร้อน..อย่าใจร้อนนะคะ

(¯`°.•°•.★* กำเนิดวันสงกรานต์ *★ .•°•.°´¯)

ไปสิครับ แล้วจะตามไป

อากาศมันไม่ได้ร้อนนะครับ เพียงแต่ว่า...

มันแปรปรวนเล็กน้อยถึงปานกลาง

สวัสดีปีใหม่ไทยๆนะครับ รักาสุขภาพเช่นกัน

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยือนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท