ทุกข์แห่ง "อริยสัจ"


ทั้งนี้ทั้งนั้น

แต่ป่วยอะไร ป่วยทางกาย ไม่ร้ายแรงเท่า

ป่วยภายใน (ป่วยทางจิต) นะเราว่า

ป่วยภายในด้วยกิเลส นาประการ

ป่วยภายในอันนี้สิ สามารถนำมาซึ้งป่วยภายนอกทางกายได้ด้วย

เช่นบางคนโทสะมาก อาการประกฎทางผื่น ภูมิแพ้ ไมเกรน ปวดท้อง เป็นต้น

(ที่มาจากบันทึก ไชโย ไชโย เราป่วยแล้ว...)


ถูกต้อง ๆ

ชีวิตย่อมเป็นเ่ช่นดังที่ท่านว่า
เกิด แก่ เจ็บ และตาย ล้วนแล้วแต่เป็นของธรรมดา

เมื่อมีเกิด เมื่อเราได้เกิด วันนั้นเราควรร้องไห้ เพราะนั่นคือ จุดเริ่มต้นแห่งความทุกข์
ทุกข์ที่จะต้องตามมา "ทั้งกาย และใจ"


ความตายนั่นหรือบางคนเรียกว่า "หมดทุกข์"
เพราะบางคนนั้นต้องทุกข์อย่างแสนสาหัส และต้องทุกข์ไปจนตาย
ก็เพราะว่าเรานั้นก็ตายมากกว่ากลัวทุกข์

แต่บางคนนั้นไม่กลัวตาย แต่กลัวทุกข์ เขาจึงต้องหนีทุกข์แล้วไปตาย

เมื่อตายแล้วก็ต้องตายอีก เมื่อเกิดแล้วก็ต้องเกิดอีก วนเวียนเป็นวงล้อแห่ง "วัฏฏะ"

เราทั้งหลายมิควรพอใจในการเกิดเลย
แต่เราทั้งหลายควรพอใจใน "การทุกข์"
เพราะทุกข์นั้นเป็นเหตุให้เกิด "เกิดโอกาส" ที่จะหมุนวงล้อแห่ง "อริยสัจ" อันว่าด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรค และมรรค


เราทั้งหลายโปรดใช้โอกาสป่วยนี้มาหมุนวงล้อแห่งอริยสัจเถิด
และผลอันเกิดจากการหมุนวงล้ออันนี้แล จักนำเราให้พ้นจากวัฏฏะนี้แน่แท้พลัน...


หมายเลขบันทึก: 243572เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะอาจารย์ (ผู้ให้เราเรียกว่าอาจารย์)

แต่ตอนนี้ขอเรียกว่าพระอาจารย์นะคะคงอนุญาติ

ไม่เสียเวลาที่ได้เข้ามาดู

เหล็กถ้าอายุงานนานๆไปก็เกิดสนิมได้

ได้ฟังธรรมบ้างก็รู้สึกเป็นสุขตั้งเยอะ

จากที่เริ่มเหินห่างก็กลับมาเคาะสนิม

ทำให้ใจโล่งโปร่งสบาย......

ความสุขบังเกิดในใจ.......สาธุ.

คนที่นี่ แถว ๆ นี้ ใคร ๆ เขาก็เรียกกันและกันว่า "อาจารย์"

คนที่ทำดี เราก็เรียกเขาว่า "อาจารย์" และนำสิ่งที่เขาทำมาประพฤติ ปฏิบัติตาม เป็นเยี่ยง เอาอย่าง

คนที่ทำไม่ดี อื่ม... มองแล้วก็เรียกเขาว่า "อาจารย์" เช่นกัน และนำสิ่งที่เขาประพฤติ ปฏิบัติ มาสอนใจ บอกกับใจไว้ว่า อย่าทำตามอย่างเขา ไม่ให้เอาเยี่ยง ตามอย่าง...

เห็นว่าทุกข์แห่งอริยสัจ มันเนื่องมาจากความอยากตามแบบแต่ละคน

นี่แหละทำให้ทุกข์ ไม่สิ้นสุด

มีอยู่วันหนึ่ง เรามองดูนก

หมาบ้านเรากัดนกตาย เพื่อน (หรืออาจเป็นญาติมัน) มาดูๆ บินลงมา

อยู่พักหนึ่ง สักพักมันก็บินไปทำกิจกรรมมันต่อ

ต่างกับคน ถ้าคนใกล้ชิดตายนี่หลง คร่ำครวญอยู่นั่น

ไม่ภาวนา ดูเข้ามาให้เห็นว่า ความโศกนี่แหละกำลังบั่นทอนเรา

อายนกมัน

สิ่งใดเกิดก็ต้องจาก ต้องตาย ไม่มีไรเที่ยง

การบ้านคือภาวนา ภาวนา ภาวนา

แล้วจะทำให้เข้าใกล้ทุกสิ่ง ทุกสถานะการณ์ ทุกเหตุการณ์ อย่างมีสติมากขึ้น

เราว่านี่แหละคือสิ่งพิเศษที่มนุษย์มีมากกว่า สัตว์เดรฉาน

พรหมวิหารทั้ง ๔ ย่อมครอบคลุมอยู่แน่แท้

เมตตา กรุณา มุทิตา และ "อุเบกขา..."

การวางใจเป็นกลางมิใช่การปล่อยวางโดยไม่ปฏิบัติ แต่เป็นการ "ปฏิบัติในเรื่องการปล่อยวาง..."

สรรพสิ่งในโลกล้วนแล้วแต่เป็นเช่นนั้น

หากสัตว์ หากบุคคลในโลกนี้มีความเมตตา กรุณาต่อกัน โลกนี้จะน่าอยู่ขึ้นอีกมาก

หากสัตว์ หากบุคคลลดความโลภลง มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โลกนี้จะสงบสุขขึ้นอีกเยอะ

หากสัตว์ หากบุคคลมีตาอันแจ่มแจ้ง ไม่หลงมัวเมาในกิเลสและตัณหาทั้งหลาย โลกนี้จะพบศานติสุข

แต่ก็ช่างเขาเถอะ

หน้าที่เร่งด่วนของเราก็คือ การลดความโลภ ความโกรธ และความหลงของเราเอง

การทำหน้าที่ของเราให้ดีแท้เราจะได้มีชื่อว่า "สุขโต"

ผู้ที่รู้ทุกข์ รู้สุข ของตนด้วยตนเอง...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท