สัปปุริสธรรม ๗


 บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่องหลักธรรม

 สัปปุริสธรรม 7

คำชี้แจง

1.      นักเรียนอ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ให้เข้าใจก่อน

2.      นักเรียนสอบก่อนเรียน  เมื่อสอบแล้ว  ตรวจคำตอบรวมคะแนนไว้

3.      ศึกษาและทำกิจกรรมครั้งละกรอบในบทเรียน   ซึ่งมีทั้งหมด   4   กิจกรรม       จากการศึกษาตั้งแต่กรอบที่ 1  -    กรอบที่ 6

4.      แต่ละกิจกรรมเมื่อทำเรียบร้อยแล้ว  ให้ตรวจคำตอบจากเฉลยในกรอบต่อไป  รวมคะแนนแต่ละกิจกรรม

5.      ขอให้มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง  เพราะคะแนนที่ได้เป็นการแข่งขันกับตนเอง

6.      เมื่อศึกษาถึงกรอบสุดท้ายแล้ว  สอบหลังเรียน   สอบแล้วตรวจ

     คำตอบจากเฉลย

7.      คะแนนรวมกิจกรรม  นักเรียนต้องได้คะแนนร้อยละ 80  

8.      คะแนนสอบเต็ม    10  คะแนน  นักเรียนต้องได้คะแนนร้อยละ 70   และมีความก้าวหน้าในการเรียนตั้งแต้ร้อยละ15  ขึ้นไป (คะแนนสอบหลังเรียนลบด้วยคะแนนสอบก่อนเรียน นำมาหาค่าร้อยละ)

9.      นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อ 7 และข้อ 8  ให้นักเรียนศึกษาและทำ

เอกสารเล่มนี้ส่งครูและสอบใหม่อีกครั้ง

10. เริ่มทำกิจกรรมได้แล้วค่ะ

 

 

สาระสำคัญ

 

 

                       สัปปุริสธรรม  7  ประกอบไปด้วย  การรู้จักเหตุ  การรู้จักผล  การรู้จักตน  การ

รู้จักประมาณ   การรู้จักกาล  การรู้จักชุมชน  การรู้จักบุคคล   เป็นธรรมของคนดี     ผู้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมย่อมรู้หลักการดำรงชีวิตที่ดีย่อมมาจากการปฏิบัติธรรม  เป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์   และยังชีพอยู่ได้ด้วยความไม่ประมาท

จุดประสงค์การเรียนรู้

 

1. อธิบายและจำแนกหลักธรรมสัปปุริสธรรม  7 ได้

2. บอกผลที่ได้รับเมื่อปฏิบัติตนตามหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 ได้

แบบทดสอบก่อนเรียน

เรื่องหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7

………………………………………………………………….

 

คำชี้แจง    จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว  และเขียนตอบในกระดาษคำตอบ

แบบทดสอบก่อนเรียน

หลักธรรมสัปปุริสธรรม 7

       จำนวน  10 ข้อ

 

ยกตัวอย่างนะคะ 

1.       สัปปุริสธรรม  7 หมายถึงข้อใด

ก.      ธรรมะของคนดี

ข.      ธรรมะของสมณเพศ

ค.      ธรรมะของผู้ที่กลับใจ

ง.       ธรรมะของพระมหากษัตริย์

 

2.       คนดี ในแนวทางพระพุทธศาสนา  ประกอบด้วยคุณสมบัติหลายประการ

ยกเว้นข้อใด

ก.      มีความคิด มีเหตุผล

ข.      เกิดในตระกูลมั่งคั่ง

ค.      มีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวเหมาะสม

ง.       รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

3.  ข้อใด   ไม่ใช่   องค์ประกอบหลักธรรม

      สัปปุริสธรรม 7

     ก.  การรู้จักตน   การรู้จักประมาณ

     ข.  การรู้จักกาล   การรู้จักชุมชน

     ค.  การรู้จักผล   การรู้จักบุคคล

     ง.   การรู้จักเหตุ    การรู้จักวิเคราะห์

 

4.  ข้อใดมีความสัมพันธ์  ไม่ถูกต้อง

      ก. มัตตัญญุตา :   การรู้จักประเมินตน

      ข. ธัมมัญญุตา  :  การรู้จักเหตุ

      ค. ปริสัญญุตา  :  การรู้จักชุมชน

      ง. กาลัญญุตา   :  การรู้จักกาล

 

 

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน

1.                   2.                3.                   4. 

 

สัปปุริสธรรม     หมายถึงธรรมที่ทำให้คนเป็นสัปปบุรุษ  แปลว่าธรรมะของนรชน   หมายความว่า  ผู้ใดมีธรรมเหล่านี้แล้ว  ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนดี  นรชนหมายถึงคนดี  ทรชน หรือ ทุรชน  หมายถึงคนชั่ว    สัปปุริสธรรมมี  7   ประการ คือ

 

เราเรียนหลักธรรมข้อย่อย ๆ กันนะคะ

1.ธัมมัญญุตา   การรู้จักเหตุ   หมายถึงความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์ความสามารถในการแยกเหตุ     รู้จักผลว่ามาจากเหตุอะไร   และหาทางแก้ไขที่สาเหตุ คนใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

 2.  อัตถัญญุตา   การรู้จักผล  หมายถึง  ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาระและผลอันเกิดจากสาเหตุดังกล่าว เช่น  ผลคือนักเรียนได้รับรางวัลเรียนดี  ย่อมมาจากเหตุคือความขยันและตั้งใจเรียน      ผลย่อมเกิดจากเหตุเสมอการรู้จักเปรียบเทียบเหตุผล จะทำให้เราเป็น

3. อัตตัญญุตา  การรู้จักตน   ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์ตนเองในด้านความรู้คุณธรรม  และ ความสามารถ   รู้จักภาวะ และฐานะของตน   จะประพฤติตนได้เหมะสมกับภาวะและฐานะนั้น ๆ  เช่น โต้งเป็นนักเรียน ต้องรู้ว่าตนมีหน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียนเป็นลูก  ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ผู้ปกครอง   ที่กล่าวตักเตือนด้วยความเอาใจใส่   เป็นต้น

4. มัตตัญญุตา  การรู้จักประมาณ   หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักหลักของความพอดี   การดำเนินชีวิตพอเหมาะพอควร  รู้จักทำทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น โต้ง  เป็นนักเรียนต้องขยันเรียนและอ่านหนังสือสม่ำเสมอ  เมื่อถึงเวลาใกล้สอบก็จะไม่หักโหม   ไม่อ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ  จะทำให้เราสอบได้คะแนนดี  เป็นต้น  การรู้จักประมาณเป็นทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บุคคลต่าง ๆ    ได้ประพฤติปฏิบัติกัน 

5.  กาลัญญุตา  การรู้จักกาล   หมายถึง  ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ  รู้ว่าเวลาเช่นไร ควรทำเช่นไร  รู้คุณค่าของเวลา โดยทำให้ทันเวลาทำถูกเวลา  ทำตามเวลา  และ ทำตรงเวลา  เช่นโต้ง  ขณะเรียนพระพุทธศาสนาอยู่  ไม่นำ วิชาอื่นมาทำ  หรือไม่สนใจเรียน เป็นต้น

6. ปริสัญญุตา  การรู้จักชุมชน  หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติ  การปรับตนและแก้ไขตนให้เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มและชุมชน  เมื่ออยู่ในชุมชน  ควรรู้ว่าควรวางตัวอย่างไรควรทำอะไร   ควรพูดอย่างไร  เช่น เมื่อเข้าไปในวัด     ควรสำรวมกาย วาจา ใจ  ไม่คึกคะนอง เป็นต้น

7. ปุคคลัญญุตา    การรู้จักบุคคล หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพของบุคคล  และ  ชุมชน  รู้จักและเข้าใจในแต่ละคนว่ามีความรู้ความสามารถต่างกัน โดยนิสัย   คุณธรรม  ฐานะ  เพศ  เราควรรู้ว่า คนดีควรคบหา  ถ้าเป็นคนชั่วควรหลีกเว้น     เป็นต้น

อันนารี  รูปงาม   ทรามสวาท                        ถ้าหากไร้   มารยาท    ที่งามสม

คงไม่มี   ชายดี     จะอบรม                          มีแต่ชม    เล่นพลาง    แล้วร้างไป

อย่าหลงเมา ในลาภ ยศ  สรรเสริญ                ปล่อยใจเพลิน  ลืมตาย วายสังขาร

มีสิ่งใด    ที่จีรัง    ยั้งอยู่นาน                           เมื่อถึงกาล    ย่อยยับ     ดับไปเอง

อ้างอิง

จรัส  พยัคราชศักดิ์ และ กวี  อิศริวรรณ.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน พระพุทธศาสนา

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช  2548.

ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.  คำกลอนสอนใจ  จากพุทธมณฑล.  กรุงเทพมหานคร  :

ธรรมสภา,  มปป.

ปรีชา  ช้างขวัญยืน และ วิจิตร  เกิดวิสิษฐ์ .  หนังสือเรียนสังคมศึกษา  ส 0113  พระพุทธศาสนา .

             พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร  :   ไทยวัฒนาพานิช ,  2541.

พระธรรมปิฎก (ป. อ.  ปยุตฺโต).  พจนานุกรมพุทธศาสตร์  ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9 

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , 2543.

พระธรรมปิฎก (ป. อ.  ปยุตฺโต).    พจนานุกรมพุทธศาสตร์  ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9 

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , 2543.

พระระพิน พุทธิสาโร และ วีรชาติ นิ่มอนงค์. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ศาสนา

ศีลธรรม  จริยธรรม. กรุงเทพมหานคร :  พัฒนาคุณภาพวิชาการ, 2548.

วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์  วรรณปก. พระพุทธศาสนา มัธยมศึกษาปีที่ 3.

พิมพ์ครั้งที่ 11  กรุงเทพมหานคร :  ไทยร่มเกล้า, 2550.

วิทย์  วิศทเวทย์   และ  เสฐียรพงษ์  วรรณปก  หนังสือเรียนสังคมศึกษา  0113 พระพุทธศาสนา .

              พิมพ์ครั้งที่  4 กรุงเทพมหานคร  :   อักษรเจริญทัศน์  ,  มปป .

อมร  โสภณวิเชษฐ์วงศ์ และ กวี  อิศริวรรณ . หนังสือเรียนสมบูรณ์แบบ ส 0113 พระพุทธศาสนา .

              กรุงเทพมหานคร  :  วัฒนาพานิช ,  2537.

เอกรินทร์  สี่มหาศาล  และ คณะ  .  แบบทดสอบครบวงจร  ส 0113  พระพุทธศาสนา .

                พิมพ์ครั้งที่  4   กรุงเทพมหานคร  :   อักษรเจริญทัศน์  ,  มปป .

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สัปปุริสธรรม ๗
หมายเลขบันทึก: 243435เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท