กระบวนการจัดการความรู้... มุ่งสู่การพัฒนาบุคคลากรในสถานศึกษา


เทคนิคการจัดการความรู้

          การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการความรู้ยุคปัจจุบันนี้ เพราะองค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)  ก็คือ "คน" ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ที่ต้องใช้ "เทคโนโลยี" เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น โดยการพัฒนา "กระบวนการความรู้" มาใช้ในการการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และเกิดนวัตกรรมใหม่

           ซึ่ง คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้  จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของสถานศึกษาจึงต้องยึดตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน

             สถานศึกษาจึงควรใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ซึ่งมีทั้งหมด  7 ขั้นตอน คือ

              1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

              2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

              3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

              4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

              5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

              6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

              7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

             ดังนั้นการจัดการความรู้ร่วมกันของผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา  โดยทุกฝ่ายต้องยอมรับความคิดเห็น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นทีม    วันเวลาแห่งการจัดการความรู้  ที่มีการขับเคลื่อนไปควบคู่กับกิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปในที่สุด    ผมมีความเชื่อมั่นว่า "การจัดการความรู้ จะไม่มีวันประสบความสำเร็จได้เลย หากหน่วยงาน สถานศึกษายังไม่ได้ลงมือปฏิบัติจัดการความรู้ "  ถึงเวลาแล้วหรือยังครับที่เราจะมาร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายความสำเร็จท่ามกลางระบบเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ (Economic Knowledge Based Society) โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้เป็นเครื่องมืออันทรงพลานุภาพ

อ้างอิง

"การจัดการความรู้".[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก  http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html#km1

หมายเลขบันทึก: 243353เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท