ลักคณา พบร่มเย็น
อาจารย์ ลักคณา ลักคณา พบร่มเย็น พบร่มเย็น

ความแตกต่างระหว่างที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน


ที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

ความแตกต่างระหว่าง

ที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

ที่ดินที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดินธรรมดา

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

๑. ลักษณะของการถือครอง

     ถือครองเสมือนเอกชน กล่าวคือ รัฐถือไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน

๑. ลักษณะของการถือครอง

    รัฐ ถือครองไว้ในฐานะตัวแทนของพลเมืองใช้เพื่อสาธารณประโยชน์  หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน  หรือเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ

๒. ลักษณะการใช้ที่ดิน

     ไม่ได้มีการใช้หรือสงวนไว้อย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

     โดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐนำที่ดินไปหาผลประโยชน์ หรือจัดให้เอกชนเข้าทำประโยชน์ได้    

๒. ลักษณะการใช้ที่ดิน

     ใช้หรือสงวนไว้

      -เพื่อการสาธารณประโยชน์

      -เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือ

      -เพื่อให้พลเมืองใช้ร่วมกัน

๓. ลักษณะของทรัพย์

     ที่ดินที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดินธรรมดา ถือเป็น ทรัพย์ในพาณิชย์

๓. ลักษณะของทรัพย์

     สาธารณสมบัติของแผ่นดิน  ถือเป็น ทรัพย์นอกพาณิชย์

๔. การได้มา

     -โดยนิติกรรม-สัญญา เช่น การให้  การแลกเปลี่ยน  การซื้อ

     -โดยผลของกฎหมาย

     -โดยคำพิพากษาของศาล

๔. การได้มา

     -โดยสภาพตามธรรมชาติ

     -โดยการใช้ร่วมกันของประชาชน

     -โดยนิติกรรม

     -โดยผลของกฎหมาย

     -โดยคำพิพากษาของศาล

๕. การโอน

     ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๐๕ กล่าวคือ สามารถจำหน่าย จ่าย โอน ได้โดยทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด

๕. การโอน

     ตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๐๕  กล่าวคือ  สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จะโอนแก่กันมิได้  เว้นแต่ อาศัยบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา

๖. การยกอายุความขึ้นต่อสู้

     ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ.มาตรา ๑๓๐๖  กล่าวคือ  หากเป็นทรัพย์ของแผ่นดินที่รัฐถือครองเสมือนเอกชน  ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินได้

๖. การยกอายุความขึ้นต่อสู้

     ตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ.มาตรา ๑๓๐๖  กล่าวคือ  ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

     บทบัญญัติของกฎหมายได้ ห้ามเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น

๗. การบังคับใช้กฎหมาย

     ตกอยู่ภายใต้บังคับของ กฎหมายเอกชน

    ดังนั้น ที่ดินของรัฐประเภทนี้ ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.มาตรา ๑๓๐๔ และมาตรา ๑๓๐๕ กล่าวคือ

     (๑) รัฐสามารถจำหน่าย จ่าย โอนได้

     (๒) ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินได้

     แต่ตกอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.มาตรา ๑๓๐๗ กล่าวคือ

     (๓) ห้ามยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน 

๗. การบังคับใช้กฎหมาย

     ตกอยู่ภายใต้บังคับของ กฎหมายมหาชน

     ดังนั้น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๐๔ มาตรา ๑๓๐๗ กล่าวคือ

(๑)   ห้ามโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(๒) ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน

     (๓)  ห้ามยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน    

๘. การสิ้นสุดการเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน

     -โดยผลของนิติกรรม ตามกฎหมายเอกชน

     -โดยผลของกฎหมาย

     -โดยผลจากคำพิพากษา

๘. การสิ้นสุดการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

     -เพิกถอนสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยอาศัยกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา

 
หมายเลขบันทึก: 242965เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2009 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

๑)การได้มาและสิ้นสุดโดยคำพิพากษามีได้จริงหรือครับ หรือว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพราะคำพิพากษาต้องตัดสินตามกฎหมาย

๒)การโอนที่ราชพัสดุซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาต้องดูพรบ.ที่ราชพัสดุด้วย แต่หลักเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท