คนตกหล่นจากระบบการทะเบียนราษฎร


คนตกหล่นจากระบบการทะเบียนราษฎร

 

          ระบบการทะเบียนราษฎรของประเทศไทยนั้นเริ่มต้นเมื่อช่วงรัชกาลที่ ๕ ที่ได้มีการบัญญัติกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการทะเบียนราษฎร คือ พระราชบัญญัติสำหรับทำบัญชีคนในราชอาณาจักร ร.ศ.128[1] โดยมีเหตุผล[2] ในพระราชบัญญัตินี้ได้มีการกล่าวถึงการมีทะเบียนเพื่อเป็นการรับรู้ข้อมูลประชาชนเพื่อดำเนินนโยบายบริหารประเทศได้อย่างเหมาะสม และพระราชบัญญัติการตรวจสอบบัญชีสำมะโนครัวและการจดทะเบียนคนเกิด คนตาย คนย้ายตำบล พ.ศ.๒๔๖๐ และ พระราชบัญญัติการตรวจสอบบัญชีสำมะโนครัวและการจดทะเบียนคนเกิด คนตาย คนย้ายตำบล พ.ศ.๒๔๖๐ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๗๙

          และเริ่มมีการพัฒนาปรับปรุงโดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙ ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปรับปรุงระบบการทะเบียนราษฎรของประเทศไทยให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยทั้งนี้ในตัวกฎหมายฉบับนี้เป็นการให้มีการเข้าบันทึกและออกหลักฐานทางทะเบียนราษฎรให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปถือเก็บไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานเอกสารในการติดต่อกับทางส่วนราชการ ในมาตรา ๗[3] พร้อมกันนี้ยังได้มีการกำหนดในหลักเกณฑ์การแจ้งเกิดด้วยว่านายทะเบียนจะต้องออกสูติบัตรไว้เป็นหลักฐาน ตามมาตรา ๑๓[4] ทั้งนี้เป็นเพราะว่าจำเป็นที่จะต้องให้ตัวเอกชนผู้ที่มาติดต่อกับหน่วยงานราชการได้มีเอกสารทางทะเบียนราษฎรเก็บไว้เพื่อเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการอ้างอิงถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่จะตามมาได้

          ประการนี้จึงมีการเริ่มถือ ว่าการทะเบียนราษฎรนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ เป็นต้นมา ตามข้อ ๙๓ ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๕ [5] ที่ได้วางหลักไว้ในการขอเพิ่มชื่อลงในทะเบียนบ้าน กรณีของคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎรที่อยู่ในช่วงการเข้าสำรวจทางทะเบียนราษฎร

การสำรวจทางทะเบียนราษฎร การสำรวจทางทะเบียนราษฎรเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่ ?

          การสำรวจทางทะเบียนราษฎรครั้งแรก ได้เริ่มมีการจัดทำขึ้นครั้งแรกเมื่อภายหลังการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสำหรับทำบัญชีคนในราชอาณาจักร ร.ศ.128 แต่การดำเนินการสำรวจนั้นเป็นการสำรวจที่อยู่ภายในเขตของพระนครรวมทั้งบริเวณโดยรอบของเขตพระนคร เท่านั้นแต่ไม่รวมจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล พร้อมกันนี้การดำเนินการสำรวจนั้นเป็นเพียงการสำรวจเพื่อนำเอาข้อมูลของจำนวนประชากรเท่านั้น โดยเป็นการมีทะเบียนเพื่อเป็นการรับรู้ข้อมูลประชาชนเพื่อดำเนินนโยบายบริหารประเทศได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ได้มีการมอบเอกสารให้แก่ตัวเอกชนผู้เข้ารับการสำรวจ ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพียงแค่เป็นข้อมูลภาครัฐเท่านั้น

          ทั้งนี้ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ที่ได้มีการตรา พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร ขึ้นมานั้นก็ได้เริ่มมีการดำเนินการสำรวจบัญชีบุคคลเพื่อนำเข้าสู่ระบบการทะเบียนราษฎรของรัฐไทย และเป็นการปรับปรุงกฎหมายการทะเบียนราษฎรให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้มีการกำหนดว่าจะต้องดำเนินการสำรวจทางทะเบียนราษฎรให้ครบทุกจังหวัดในอาณาเขตพื้นที่ของรัฐไทย แต่ทั้งนี้ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๙ นั้นได้มีการสำรวจเพียงแต่ในพระนคร และจังหวัดโดยรอบจังหวัดพระนคร เท่านั้น ซึ่งกว่าจะเริ่มมีการสำรวจทางทะเบียนราษฎรในต่างจังหวัดก็เลยจากการประกาศพระราชบัญญัติดังกล่าวออกไปถึงหลายปี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การทะเบียนราษฎรในขณะนั้นไม่สมบูรณ์และล่าช้า จึงทำให้มี คนตกหล่นจากทะเบียนราษฎร



[1] ประกาศมา ณ วันที่ 17 กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก 128 เปนวันที่ 14858 ในรัชกาลปัตยุบันนี้ กฎหมายนี้น่าจะมีผลใน พ.ศ. 2452

[2] มีเหตุผลท้ายพระราชบัญญัติว่า มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เวลานี้สมควรที่จะให้คิดจัดทำบัญชีคนในพระราชอาณาเขตร์ให้ทราบความแน่นอนว่า มีคนอยู่แห่งใด เท่าใด เพื่อประโยชน์ที่จะบำรุงความสุข แลรักษาการแผ่นดินให้เหมือนกับที่เปนอยู่ในประเทศทั้งปวง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัตินี้ไว้สืบไป

[3] มาตรา ๗ เมื่อมีผู้มาแจ้งความ หรือแก้แจ้งความตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ นายทะเบียนท้องถิ่นต้องออกใบสำคัญให้

[4] มาตรา ๑๓ เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งการมีคนเกิดแล้วให้ออกสูติบัตรเป็นหลักฐาน

[5] ข้อ ๙๓  ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๕ คนสัญชาติไทยไม่มีชื่อและรายการบุคคลอยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔) เพราะตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙...

หมายเลขบันทึก: 242782เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านแล้วจ๊ะ

พยายามเขียนเรื่อยๆ นะคะ

ครับอาจารย์ จะพยายามเขียนขึ้นบนนี้ให้มากขึ้นครับ

อ่านแล้วเหมือนกันจ้ะ เริ่มต้นได้ซะทีนะ ^_^

อ่านแล้วค่ะ

อยากอ่านช่วงที่หลังพรบ.ทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙ ลองเขียนให้ภาพต่อนะคะ

ขอบคุณครับ พี่ชล

รับทราบครับ

แล้วจะหาข้อมูลและเริ่มเขียนครับ

ก๊อด

กำไร อรุณประชารัตน์

เป็นคนชอบกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร รวบรวมและเขียนเพิ่มอีกซิจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท