ลักคณา พบร่มเย็น
อาจารย์ ลักคณา ลักคณา พบร่มเย็น พบร่มเย็น

ข้อมูลเตรียมการในการลงพื้นที่ที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่


การลงพื้นที่ที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลเตรียมการในการลงพื้นที่ที่อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่

 

          การลงพื้นที่ศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชุมชน อำเภอแม่วาง  จังหวัดเชียงใหม่  ในการศึกษาถึงสิทธิในที่ดินของบุคคลบนพื้นที่สูง  ได้เลือกพื้นที่ในอำเภอแม่วางในการศึกษา โดยแบ่งเป็น ๒ หมู่บ้าน ดังนี้

-------------------------------------------------------------------------------------------

บ้านห้วยเนียม  หมู่ 6  ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ (bad practice)

-------------------------------------------------------------------------------------------

        ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านห้วยเนียม เป็นชาวเขาเผ่าม้ง  โดยพื้นที่ในหมู่บ้านและพื้นที่ทำกินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงไม่มีเอกสิทธิ์ในพื้นที่ทำกิน และได้มีการประกาศกำหนดเขตโครงการพระราชดำริ  ปรากฏว่าพื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในโครงการพระราชดำริได้ถูกบุกรุกจากชาวเขาเผ่าม้ง  ซึ่งตอนกำหนดเขตพื้นที่ในโครงการพระราชดำริได้มีขอบเขตไว้ชัดเจน  จึงก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง  เนื่องจากการบุกรุกพื้นที่ในโครงการพระราชดำริโดยชาวเขาเผ่าม้งและคนในพื้นราบที่เป็นกลุ่มนายทุน  แต่ดูเหมือนว่าชาวเขาได้ถูกจับกุมและดำเนินคดีจนในที่สุด ศาลมีคำพิพากษาให้รอลงอาญา  แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มนายทุนกลับไม่ถูกจับกุมดำเนินคดี  ทำให้เกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติในพื้นที่นี้

          โดยในพื้นที่ดังกล่าวนี้  จะเป็นปัญหาการแย่งชิงที่ดินทำกินและการบุกรุกป่า  อันจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาการจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชนที่ไม่ดี  ทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งในชุมชน  จึงได้ดำเนินเลือกพื้นที่บ้านห้วยเนียม  หมู่ 6  ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เพื่อศึกษากรณีดังต่อไปนี้

1.       ศึกษาประวัติของชุมชนในการเข้ามาอยู่ในที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว

2.       ศึกษาลักษณะการถือครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชาวเขาที่ไม่ได้อยู่ในเขตโครงการพระราชดำริ

3.       ศึกษาลักษณะการถือครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชาวเขาที่ไม่ได้อยู่ในเขตโครงการพระราชดำริ

4.       ศึกษาลักษณะแห่งสิทธิของชาวเขาในการถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดิน 

5.       ศึกษาถึงการยอมรับสิทธิในที่ดินของชาวเขาทั้งที่มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

6.       ศึกษาถึงความมีอยู่และการบังคับใช้กฎเกณฑ์-ข้อบังคับของชุมชนในการจัดการเรื่องการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ

7.     ศึกษาสภาพปัญหาและความขัดแย้งในการแย่งชิงพื้นที่ทำกิน และการบุกรุกพื้นที่ป่าใน ชุมชน และการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ดังกล่าว

8.     ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือความเคลื่อนไหวของชุมชนในการเข้ามารักษา ดูแล และจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติ

-----------------------------------------------------------------------------------

บ้านหนองเต่า หมู่ 4 ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  (best practice)

-----------------------------------------------------------------------------------

          พื้นที่ใน บ้านหนองเต่า หมู่ 4 เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใน เป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง  ที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างดี  โดยมีพิธีบวชป่า เพื่อการรักษาดูแลพื้นป่า สำหรับเป็นต้นน้ำ ลำธารให้ได้ใช้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ได้ต่อไป   ความเข้มแข็งของชุมชนที่มีการวางระเบียบ  ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ของชุมชนในการดูแล  รักษา และจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติซึ่งหมายความรวมถึงที่ดิน  ทำให้การจัดการที่ดินอย่างเป็นระบบ  โดยแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ดินที่ชาวบ้านอยู่อาศัยและทำกิน  กับที่ดินที่เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดการ ดูแล รักษา ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป  ไม่ให้มีผู้ใดเข้ามาทำลายได้ และในที่สุดป่าชุมชนของหมู่บ้าหนองเต่าได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ด้วยความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ดีของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง  ที่บ้านหนองเต่า  และองค์กรภาคเอกชน (NGO) ทำให้ชุมชนบ้านหนองเต่าได้พยายามกันแนวเขตพื้นที่ทำกินกับพื้นที่ป่าไว้ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการบุกรุก  และปัญหาความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในภายหลัง  โดยชุมชนได้ทำการจัดทำแผนที่แนวเขตไว้ชัดเจน  และกำลังผลักดันให้องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน ดำเนินการรับเอาแผนที่และข้อมูลที่องค์กรภาคเอกชนและชาวบ้านได้จัดทำไว้  ดำเนินการจัดทำโฉนดชุมชนในพื้นที่บ้านหนองเต่าต่อไป เพื่อป้องกันการบุกรุกแนวเขต  ป้องกันปัญหาการขายที่ดินให้แก่นายทุนเข้ามาทำประโยชน์

พื้นที่บ้านหนองเต่า หมู่ 4 ตำบลแม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  เป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการ ดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน  โดยชุมชนที่เข้มแข็ง  ก่อให้เกิดการผลักดันที่ต้องการทำโฉนดชุมชน  เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติมและป้องกันความขัดแย้งจากเจ้าหน้าที่ อันเป็นปรากฏการณ์เคลื่อนไหวของชุมชนที่พยายามจะสร้างหลักฐานการถือครองและเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน  จึงได้เลือกพื้นที่ดังกล่าวนี้ เพื่อทำการศึกษากรณีดังต่อไปนี้

1.       ศึกษาประวัติของชุมชนในการเข้ามาอยู่ในที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว

2.       ศึกษาลักษณะการถือครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชาวเขาในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

3.       ศึกษาลักษณะแห่งสิทธิของชาวเขาในการถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดิน 

4.       ศึกษาถึงการยอมรับสิทธิในที่ดินของชาวเขาทั้งที่มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

5.     ศึกษาถึงกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของชุมชนในการจัดการเรื่องการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ  และการบังคับใช้หลักเกณฑ์  ระเบียบ ข้อบังคับดังกล่าว

6.       ศึกษาแนวคิดและความต้องการของคนในชุมชนในการจัดทำโฉนดชุมชน 

7.       ศึกษาสภาพปัญหาและความขัดแย้งในการในพื้นที่

8.     ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือความเคลื่อนไหวของชุมชนในการเข้ามารักษา ดูแล และจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติ

9.       ศึกษาถึงการยอมรับสิทธิของชุมชนในการจัดการ ดูแล รักษา และใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว

10.   ศึกษาเปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินระหว่างพื้นที่หมู่ 6  ต.ดอนเปา อ.แม่วาง และพื้นที่บ้านหนองเต่า หมู่ 4 ตำบลแม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 

-----------------------------------

กำหนดการเดินทางลงพื้นที่

-----------------------------------

                ในวันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2552

                เวลา 8.30 น.                         เดินทางออกจากที่พัก

                เวลา 10.00-12.00 น.           เข้าไปศึกษาในพื้นที่บ้านห้วยเนียม  หมู่ 6  ต.ดอนเปา อ.แม่วาง

จ.เชียงใหม่  โดยพบปะชาวบ้านและผู้นำชุมชน  พร้อมกับ

เจ้าหน้าที่รัฐ

                เวลา 12.00-13.00 น.           รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00-15.00 น.           เข้าไปศึกษาในพื้นที่บ้านหนองเต่า หมู่ 4 ตำบลแม่วิน

อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่  โดยพบปะชาวบ้านและผู้นำชุมชน  พร้อม

กับเจ้าหน้าที่รัฐ

                เวลา 15.00-16.00 น.           เข้าไปเดินดูป่าชุมชน ในพื้นที่บ้านห้วยเนียม  หมู่ 6 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 242738เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท