ทต.บัวบาน
สำนักงานเทศบาลตำบลบัวบาน ทต.บัวบาน

โครงการประสานพลังปัญญาฯเทศบาลตำบลบัวบาน


โครงการประสานพลังปัญญาฯ ทต.บัวบาน

            

รงการประสานพลังปัญญาเพื่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเทศบาลตำบลบัวบาน

อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

 

1.       ชื่อโครงการ   "วัฒนธรรมท้องถิ่นเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยภูมิปัญญาเทศบาลตำบลบัวบาน"
2.       บริบทและความเป็นมา
                     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมปลูกข้าว  พืชไร่  พืชสวน  เลี้ยงประชากรโลกมาเป็นเวลาช้านาน ในครั้งอดีตบรรพบุรุษทำการเกษตรได้ผลดีโดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีเป็นจำนวนมากเหมือนในปัจจุบัน  ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นดินยังมีความอุดมสมบูรณ์สภาพความสมบูรณ์ตามธรรมชาติมีอยู่โดยทั่วไปและพื้นที่ป่าไม้มีมากมายฝนฟ้าตกตามฤดูกาลจึงเกิดการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิต  ทั้งมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคอันดับแรก สัตว์ป่าและพืชพันธ์อื่นๆ ในฐานะเป็นผู้ผลิต  ความอุดมสมบูรณ์นี้เป็นที่กล่าวขานในนานาประเทศจึงเรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลกเพราะในน้ำมีปลาในนามีข้าว   แต่ในปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ที่เคยพบในอดีตแทบจะไม่มีหลงเหลืออีกต่อไปเป็นเพราะว่าการเกษตรในปัจจุบันได้ทำลายความสมดุลตามธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งสร้างความเสียหายให้กับต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารทำให้ฝนฟ้าไม่ตาตามฤดูกาลรวมถึงการเผาป่าเศษพืช  ตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยวก็ยังเป็นการทำลายธาตุอาหารที่ต้นพืชดูดซับมาจากพื้นดินเพราะโดยปกติดินจะสูญแร่ธาตุให้กับพืชในรูปของผลผลิตอยู่แล้วแต่มนุษย์และสัตว์ก็ยังเป็นผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง  นอกจากนี้การเผาป่า  เผาวัชพืชยังเป็นการทำลายจุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ในดินอีกทางหนึ่งซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้เป็นตัวช่วยย่อยสลายซากพืช  ซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยคืนสู่ดิน  สร้างความสมดุลส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชสามารถดูดซับเอาไปใช้ต่อไปการทำการเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว  โดยไม่มีการบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียหายต่อการทำการเกษตรในระยะยาวเพราะปุ๋ยเคมีเป็นสารอนินทรีย์และมีส่วนผสมของเกลือเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรดพืชจะเจริญเติบโตไม่ดีเพราะในสภาพที่เป็นกรดจะเกิดการตรึงธาตุอาหารรากพืชไม่สามารถดูดขึ้นมาใช้ได้
                ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพคือปุ๋ยที่ได้จากการหมักย่อยของจุลินทรีย์ทั้งหลาย  แล้วนำมาผ่านขบวนการปั้นเม็ดเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้  ประโยชน์ของปุ๋ยชนิดนี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ สร้างความสมดุลทางธรรมชาติทำให้เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นพืช แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติเบื้องต้นของปุ๋ยชนิดนี้เป็นตัวช่วยให้โครงสร้างดินให้ดีอยู่แล้วเมื่อใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมีจะทำให้ดินไม่เกิดพิษตกค้างและผลผลิตจะเพิ่มขึ้น
                ตำบลบัวบานได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลบัวบานเมื่อวันที่   18 กรกฎาคม พ.ศ.2551 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 หมู่บ้าน มีพื้นที่โดยประมาณ 82 ตารางกิโลเมตร    มีประชากรจำนวน 13,264 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 3,467 ครัวเรือน ประชาการส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ โดยสังเกตได้จากจำนวนวัดในพื้นที่มีมากถึง 19 วัด
                 สภาพโดยทั่วไปของตำบลบัวบานนับว่าเป็นพื้นที่ที่ยังคงสภาพความเป็นชนบทค่อนข้างสูง ประชาชนยังดำเนินชีวิตแบบสังคมชนบท การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การดำเนินชีวิตยังยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดังเดิมค่อนข้างจะเคร่งครัด การเคารพ และขัดเกลาจิตใจยังคงให้ความสำคัญในสถาบันครอบครัว และสถาบันทางศาสนาค่อนข้างสูง ดังนั้น ทั้งสองสถาบันนี้จึงยังคงมีส่วนเกื้อหนุนซึ่งกันและกันตลอดมา
                ตำบลบัวบานตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเขื่อนลำปาว พื้นที่เกือบทั้งหมดได้รับน้ำจากโครงการชลประทานลำปาวตลอดปี การประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ส่วนมากจึงมุ่งเน้นหนักไปทางด้านเกษตรกรรม อาชีพหลักที่ทำ  ก็คือ การทำนาปลูกข้าว ซึ่งจะทำกันปีละ 2 ครั้ง และอาชีพที่สร้างรายได้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง การปลูกผักกะเฉดน้ำ และไม้ผลทั่วไป และผลิตผลทางการเกษตรหลายชนิดของตำบลบัวบาน เป็นที่ต้องการบริโภคของชุมชนใกล้เคียง จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนเร่งผลิตพืชผลเหล่านี้ออกมาให้ทันกับความต้องการของตลาด จนเป็นที่น่าหวั่นเกรงว่าอาจจะมีการนำปุ๋ยเคมี และสารเคมีอื่นเข้ามาเป็นตัวเร่งในการผลิตมากขึ้น   ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตในอนาคตได้
                เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน เทศบาลตำบล   บัวบานจึงได้ร่วมกับสถาบันทางศาสนาใช้พื้นที่ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต และการดำเนินกิจกรรมทางด้านการเกษตรที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรโดยการเพิ่มกระบวนการกล่อมเกลาจิตใจ และการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรที่ต้องผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตท้องถิ่น ซึ่งศูนย์รวมของประชาชนส่วนมากจะรวมกันที่วัดเป็นส่วนมาก การดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมและความเชื่อ ดังนั้น การสร้างกระบวนการกล่อมเกลาจิตใจ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตผ่านสถาบันทางศาสนา จึงเป็นช่องทางที่สามารถสร้างและซึมซับได้อย่างลึกซึ้งและยาวนาน อีกทั้งยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชุมชนได้เป็นอย่างดี
                เรื่องราวประวัติศาสตร์การดำรงชีวิตสืบทอดเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาหลายชั่วอายุคนจนถึงรุ่นลูกหลานโดยอาศัยการบันทึกเป็นตำรา เป็นภาพวาด แม้ในรูปของการเล่าเป็นนิทานการร้องสรภัญญะ จะสะท้อนให้คนสมัยใหม่มองย้อนเห็นวิถีชีวิตของคนในสมัยอดีตได้และยังสามารถนำมาเป็นแรงยึดเหนี่ยวในการประกอบอาชีพอีกทางหนึ่ง เช่นเดียวกับสรภัญญะเรื่องปุ๋ยชีวภาพของโครงการวัฒนธรรมท้องถิ่นเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยภูมิปัญญาจะเป็นเสมือนแรงทิพย์บันดาลใจให้เกษตรกรตำบลบัวบานประกอบอาชีพเกษตรด้วยความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อจนเกิดความสุขในการดำรงชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและวิสัยทัศน์ตำบลบัวบานที่ว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีรายได้ ทำให้เมืองน่าอยู่"      
                โครงการวัฒนธรรมท้องถิ่นเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยภูมิปัญญาจะเป็นแหล่งเรียนรู้แลกเปลี่ยนของชุมชนในเขตบัวบาน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานใน 2 ปีแรก 2 ชุมชน คือ บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ 1 และบ้านโคกคำ หมู่ที่ 18  ชุมชนผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ วิธีการผลิต และการใช้ที่ถูกต้อง เป็นการเพิ่มความมั่นใจและยอมรับปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้ คือ ลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และเป็นการสนองตอบแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย โครงการนี้จะดำเนินการต่อเนื่องในรูปแบบกองทุนปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน โดยแปลงปลูกพืชของสมาชิกทุกคนจะเป็นแปลงสาธิตให้ชุมชนอื่นได้เรียนรู้
3.       วัตถุประสงค์ของโครงการ
          3.1      เพื่อส่งเสริมและใช้วัฒนธรรมประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  เพื่อการพัฒนาสุขภาวะคุณภาพชีวิต และความจำเป็นในการประกอบอาชีพ
          3.2      เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อการผลิตทางการเกษตร
4.       เป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จ
          4.1    ด้านปริมาณ
                   4.1.1    การขับร้องสรภัญญะ
                               1.       มีผู้นำชุมชน/ผู้อำนวยการโรงเรียนเข้าร่วมโครงการร้องสรภัญญะ จำนวน...8...คน
                               2.       มีการแข่งขันสรภัญญะด้านต่าง ๆ ดังนี้

  •                                 ด้านศาสนาและวัฒนธรรม                       จำนวน....1....เพลง
  •                                 ด้านประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต                  จำนวน...1....เพลง
  •                                 ด้านการประกอบอาชีพและพึ่งตนเอง        จำนวน....1.....เพลง
  •                                 ด้านการใช้ปุ๋ยชีวภาพ                             จำนวน....1....เพลง

                                3.       เกิดเครือข่ายขับร้องสรภัญญะขึ้น  จำนวน....23....เครือข่าย
                  4.1.2      การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
                               1.       มีผู้เข้ารับการอบรม 3 รุ่น ๆ ละ 90  คน  รวมจำนวน  270 คน
                               2.       เกิดการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย  เพื่อปรึกษาหารือและจัดทำปุ๋ยชีวภาพอย่างน้อยตำบลละ 1 กลุ่ม
                               3.       เพิ่มพื้นที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ไม่น้อยกว่า  376  ไร่
            4.2     ด้านคุณภาพ
                      4.2.1     การขับร้องสรภัญญะ
                           1.   นักเรียน/เยาวชน  ที่ชนะการแข่งขันสวดสรภัญญะมีมากขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของปีที่ผ่านมา
                           2.     นักเรียน  เยาวชน  และประชาชน  ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น  วัฒนธรรม  วิถีชีวิต  และการประกอบอาชีพ  และชอบใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น
                     4.2.2      การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
                           1.       เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น
                           2.       มีการปรับโครงสร้างดินให้มีความสมดุล ตามธรรมชาติมากขึ้น
                           3.         เกษตรมีแรงบัลดาลใจเกิดความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  และสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
  • 5. แผนการดำเนินงาน

จุดประสงค์ของกิจกรรม
 
ขั้นตอน/กิจกรรม
 
พื้นที่ดำเนินการ/ผู้รับผิดชอบ
ช่วงเวลา/ระยะเวลา
ของแต่ละขั้นตอน
งบประมาณ
1.       เพื่อเตรียมการโครงการวัฒนธรรมท้องถิ่นฯ
1.1 ปรึกษาหารือแกนนำและผู้รับผิดชอบเพื่อกำหนดกรรมการและแผนการทำงาน
 
1.2 เสนอโครงการเพื่อเป็นความคิดเห็นต่อประชาชนพื้นที่เป้าหมาย
 
 
1.3 จัดทำแผนการดำเนินงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบ
สำนักงานเทศบาล
จนท.เทศบาล/ผู้นำชุมชน
 
สำนักงานเทศบาล /กรรมการ
 
 
สำนักงานเทศบาล/คณะกรรมการ
 
12  ม.ค.  2552
2  ชั่วโมง
 
 
15  ม.ค.  2552
3  ชั่วโมง
 
 
16  ม.ค.  2552
2  ชั่วโมง
100
 
 
 
1,000
 
 
 
500
 
2.       เพื่อใช้บททำนองสรภัญญะเป็นสิ่งส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี คุณธรรม  และการประกอบอาชีพ
2.1 แกนนำปรึกษาหารือวางแผนดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
 
 
 
2.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเป้าหมาย และผู้ที่สนใจจัดทำแผน กิจกรรมต่าง ๆ และเพลง  และฝึกซ้อมขับร้องเพลงในระหว่างโรงเรียน  ตำบล หรือเครือข่ายด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์  และสรุปผลเป็นแนวทางการดำเนินงานในรอบ 1 ปี
 
2.3 จัดเวทีแข่งขันและขับร้องสรภัญญะด้ายต่างๆ มีการจัดรางวัลและกิจกรรมให้กำลังใจและความสำเร็จ
 
2.4 หลังจัดกิจกรรมแข่งขันและขับร้องแต่ละครั้ง  ผู้รับผิดชอบจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จและถอดบทเรียนทันทีเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดครั้งต่อไป
 
2.5 จัดทำเอกสารสรุปบทเรียนความสำเร็จและเอกสารบทเพลงและผลงานเพื่อเผยแพร่และส่งเสริมกิจกรรมนี้ต่อไป
 
 
 
สำนักงานเทศบาล / คณะกรรมการ
 
 
 
 
โรงเรียน / วัด / บ้าน /
คณะกรรมการ
 
 
 
 
 
 
 
สนง. เทศบาล / คณะกรรมการ / ผู้นำชุมชน/
ผู้อำนวยการโรงเรียน
 
 
สนง. เทศบาล / คณะกรรมการ / ผู้นำชุมชน/
ผู้อำนวยการโรงเรียน
 
 
 
สนง. เทศบาล / คณะกรรมการ / ผู้นำชุมชน/
ผู้อำนวยการโรงเรียน
16  ม.ค.  2552
1  ชั่วโมง
 
 
 
 
1  ก.พ.  -  27  มี.ค. 2552
 
 
 
 
 
 
 
28  มี.ค.  2552
6  ชั่วโมง
 
 
 
28  -  31  มี.ค.  2552
 
 
 
 
 
5  -  6  เม.ย.  2552
100
 
 
 
 
 
7,000
 
 
 
 
 
 
 
 
25,000
 
 
 
 
1,000
 
 
 
 
 
5,000
3.       เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการผลิตการเกษตร
3.1 คณะแกนนำปรับแผนการอบรมจาก 5 ครั้ง เหลือ 3 ครั้ง ตามเป้าหมายเชิงปริมาณ
 
3.2 คณะแกนนำจัดเตรียมการฝึกอบรมหลักสูตร  วิทยากรและผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อร่วมเป็นวิทยากรอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
3.3 จัดอบรมตามแผนทีละรุ่น  โดยเน้นกระบวนการจัดการความรู้  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์  หลักเสร็จการอบรมแต่ละรุ่นมีการทบทวนความสำเร็จและแนวทางปรับปรุงโดยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
 
3.4 หลักอบรมและผู้เข้ารับการอบรมทำปุ๋ยชีวภาพไปใช้แล้ว (หรืออาจจะผลิตปุ๋ยใช้เอง)แกนนำจัดให้ผู้ที่ผ่านการอบรมกลับมารวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จและแนวทางปรับปรุงมีการให้ผู้ใช้ปุ๋ยประสบความสำเร็จมาเล่าประสบการณ์  หรือไปศึกษาดูงานของกันและกัน
 
3.5 กลุ่มแกนนำคัดเลือกเกษตรกรที่สนใจในการใช้ปุ๋ยชีวภาพไปศึกษาดูงานการผลิตและการใช้ปุ๋ยชีวภาพตามความสนใจของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง
 
3.6 เกษตรกรตัวอย่างและแกนนำปรึกษาหารือการผลิตและการใช้ปุ๋ยชีวภาพตามแนวใหม่ผสมผสานกับแนวเดิม
 
3.7  เกษตรกรตัวอย่างและแกนนำดำเนินงานผลิตและจัดกิจกรรมใช้ปุ๋ยตามธรรมชาติที่ร่วมกันผลิต
 
3.8  เกษตรกรตัวอย่างและแกนนำปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้  และถอดบทเรียนความสำเร็จเป็นกรณีศึกษาต่อไป
สำนักงานเทศบาล /
คณะกรรมการ
 
 
สำนักงานเทศบาล /
คณะกรรมการ
 
 
 
 
โรงปุ๋ยอินทรีย์เทศ
บาลตำบลบัวบาน
/ คณะกรรมการ/ทีมวิทยากร
 
 
 
ศาลากลางบ้านโคก
คำ / คณะกรรมการ
 
 
 
 
 
 
 
สำนักงานเทศบาล /
คณะกรรมการ
 
 
 
 
 สำนักงานเทศบาล / คณะกรรมการ
 
 
 
โรงปุ๋ยอินทรีย์เทศ
บาลตำบลบัวบาน
คณะกรรมการ / ชาวบ้าน
สำนักงานเทศบาล / คณะกรรมการ
16  ม.ค.  2552
2  ชั่วโมง
 
 
16  ม.ค.  2552
1  ชั่วโมง
 
 
 
 
28  -  30  ม.ค.  2552
6  ชั่วโมง
 
 
 
 
 
1  -  2  เม.ย.  2552
3  ชั่วโมง
 
 
 
 
 
 
 
30  -  31  ส.ค.  2552
2  วัน
 
 
 
 
22  ม.ค.  2552
4  ชั่วโมง
 
 
 
2  -  28  ก.พ.  2552
 
 
 
1  -  2  ก.ย.  2552
2  วัน
100
 
 
 
2,000
 
 
 
 
 
40,500
 
 
 
 
 
 
1,000
 
 
 
 
 
 
 
 
30,000
 
 
 
 
 
1,000
 
 
 
 
82,700
 
 
 
3,000
 
 
 
6.  ระยะเวลาการดำเนินงาน
  • เริ่มดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2552
7.  งบประมาณ
  • ทุนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ จำนวน 200,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้
  • 7.1 ค่าจัดซื้อวัสดุเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ   จำนวน 18,800 กิโลกรัม เป็นเงิน 82,700 บาท
          7.2  ค่าใช้จ่ายในส่วนวัฒนธรรมท้องถิ่น (สรภัญญะ) ข้อ 2 , 3, 4, 5          เป็นเงิน   38,000   บาท
          7.3  ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการและติดตามประเมินผล                            เป็นเงิน     8,800   บาท
           7.4  ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงาน                                                         เป็นเงิน   30,000   บาท
          7.5  ค่าฝึกอบรม                                                                                 เป็นเงิน   40,500   บาท
                                                                          รวมเป็นเงิน                         เป็นเงิน  200,000  บาท   
8.   ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นายกเทศมนตรีตำบลบัวบาน คณะผู้บริหาร นักวิชาการเกษตรเทศบาลตำบลบัวบาน   และคณะกรรมการเป็น   ผู้รับผิดชอบโครงการ
9.   ผู้เขียนโครงการ
 
..................................................................
(นายทวี  ถาวงค์กลาง)
นักวิชาการเกษตรเทศบาลตำบลบัวบาน
10.   ผู้เสนอโครงการ
 
                  ....................................................                            .......................................................
                                  (นายเตียง  ภูพานใหม่)                                                    (นายคำอุ่น  ภูขยัน)
                               ผู้ใหญ่บ้านโคกดำหมู่ที่ 18                                              ผู้ใหญ่บ้านโคกใหญ่หมู่ที่ 1
11.   ผู้เห็นชอบโครงการ 
 
                 ....................................................                               .......................................................
                            (นางนฤมล   สิงห์เงา)                                                      (นายสมยศ   ยนต์ชัย)
                        ปลัดเทศบาลตำบลบัวบาน                                                นายกเทศมนตรีตำบลบัวบาน
12.   ผู้อนุมัติโครงการ
 
.............................................................
(ดร. สุวัฒน์  เงินฉ่ำ)
หัวหน้าโครงการประสานพลังปัญญาฯ

______________________________________________________________________

รูปประกอบโครงการประสานพลังปัญญาฯ  ทต.บัวบาน

 

 

 

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 242615เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2009 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับ ทต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เปลี่ยนบล็อกใหม่แล้วนะครับ

ส่วนบล็อกเก่า เดี๋ยวผมขอใช้ส่วนตัวต่อแล้วกันนะครับ........ขอบคุณครับ

ตามนี้นะครับ http://gotoknow.org/blog/buoban1/242615

ตกลงเอาอันนี้ใช่ไหมคะ

นักวิชาการเงินและบัญชี

รับนักวิชาการเงินและบัญชีหรือเปล่าค่ะ ดิฉันเป็นคนหนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี 5 081-6518679

จ.อ.พิพัฒน์ พิมพ์โภชน์ คุณย้ายมาที่นี้แล้วทำเป็นไม่สนใจเลยนะ ติดต่อกลับหาพี่ ทร.ด่วน

ไม่งั้นผมเขียนคุณลงในกระทู้ทุกวันแน่ ใครรู้จักฝากบอกเจ้าตัว ด้วยคุณมีสัญญาณลูกผู้ชายไว้ แล้วมาทำตัวแบบนี้ได้งัย

แล้วย้ายมาอยู่นี้ทำตัว.............................................ดีๆๆๆๆๆๆๆนะ

มันน่าเจ็บใจนัก คำพูดลูกผู้ชายของคุณนะ จ.อ.พิพัฒน์ สมโภชน์ ไม่มีข้อมูลผมคงไม่มาเขียนในกระทู้หรอกนะ

ผมจะเขียนกระทู้ไปตลอดถ้าคุณไม่ทำตามคำพูดที่ตกลงกันไว้นะ ขออภัยด้วยนะครับที่อาจมีเรื่องส่วนตัวเข้ามานะครับ

ถ้าใครรู้จักบอกเจ้าตัวให้ทราบด้วย ไม่งั้นก็จะเขียนมาเรื่อยๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท