การสวมครุยวิทยฐานะ ในโอกาสและพิธีต่างๆ


ครุยวิทยฐานะ

วันนี้ที่เขียนเรื่องนี้ อยากจะแลกเปลี่ยนกับผู้รู้เรื่องการสวมครุยวิทยฐานะ ในโอกาสและพิธีต่างๆ ซึ่งครุยจากที่ได้ไปค้นคว้ามามีดังนี้ครับ

ครุย  คือ  เสื้อที่ใช้สวมคลุมเพื่อใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ หรือแสดงหน้าที่ในพิธีการ  หรือแสดงวิทยฐานะ

     เสื้อครุยที่ไทยใช้อยู่ยังหาหลักฐานแน่ชัดไม่ได้ว่าได้แบบอย่างมาจากชาติใด  บางท่านก็ว่าน่าจะมาจากประเทศจีน  โดยพระเจ้าแผ่นดินจีนถวายฉลองพระองค์ปักด้วยดิ้นหรือไหมทองเงินเป็นรูปต่าง ๆ  มากับเครื่องราชบรรณาการ  บางท่านก็ว่ามาจากประเทศอินเดีย  เพราะได้เห็นพวกพราหมณ์สวมเพื่อเข้าพิธี

     การใช้ครุยในประเทศไทยพอจะอนุมานได้ว่าเริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใน พ.ศ. ๒๒๒๘ เมื่อพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูตออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส ในโอกาสนั้นท่านราชทูตแต่งตัวอย่างเต็มยศตามธรรมเนียมไทย คือ สวมเสื้อเยียรบับ มีกลีบทองและดอกไม้ทอง และสวมเสื้อครุย

     ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีประกาศพระราชกำหนดเสื้อครุยเมื่อวันที่    กรกฎาคม  ร.ศ. ๑๓๐  (พ.ศ. ๒๔๕๔) กำหนดเสื้อครุยข้าราชการไว้ ๓ ชั้น เรียกว่า เสื้อครุยเสนามาตย์ แบ่งเป็นชั้นตรี โท เอก

     นอกจากเสื้อครุยเสนามาตย์แล้ว  ยังมีเสื้อครุยอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า ครุยวิทยฐานะ ใช้สวมเป็นที่เชิดชูเกียรติของผู้ที่สำเร็จวิชาการจากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยชั้นสูง อาจกล่าวได้ว่าเสื้อครุยวิทยฐานะมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยประมาณ  เมื่อ  ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ในสมัยที่พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่    (ภายหลังทรงกรมเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์)  เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยให้ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิตมีสิทธิสวมเสื้อครุย  ซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า เสื้อเนติบัณฑิต

     ครั้น พ.ศ. ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓  เพื่อ  “...นิสิตที่เล่าเรียนสำเร็จตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และได้รับปริญญานั้น  ควรมีโอกาสใช้เสื้อครุยมหาวิทยาลัยเป็นที่เชิดชูเกียรติให้เข้ารูปเยี่ยงนิสิตในสถานอุดมศึกษาทั้งหลายในนานาประเทศ  นับจากนั้นมา บัณฑิตจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  จึงสวมครุยเมื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาในพิธีประสาทปริญญาบัตร

ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี

ซึ่งจากที่ค้นคว้ามา เรามักจะพบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว ก็จะสวมชุดครุยวิทยฐานะของตัวเอง เข้าร่วมแสดงความยินดีกับครอบครัว ในโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวสำเร็จการศึกษา บ้าง หรือแม้กระทั่ง ในพิธีสำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ เช่น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อาจารย์ก็มักจะสวมชุดครุยวิทยาฐานะเพื่อแสดงถึงการให้กำลังแก่ศิษย์ หรือในโอกาสพิธีวันไหว้ครู หลายสถาบันอาจารย์ก็จะสวมชุดครุยวิทยาฐานะเข้าร่วมงาน

 ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เนื่องจากในสถาบันของผู้เขียน จะมีงานพิธีสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา เมื่อสิ้นปีการศึกษาในเดือน มีนาคม ซึ่งการรับใบประกาศนียบัตร ต้องเข้าพิธีรับพระราชทานประกาศนียบัตรในเดือน กรกฎาคม ที่ส่วนกลาง ดังนั้นจึงเกิดข้อคำถามในการจัดงานวันสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาว่า คณาจารย์สามารถแต่งกายสวมครุยวิทยฐานะว่า เหมาะสมหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ไม่เคยปฏิบัติ

       แต่ในความเห็นผู้เขียนเอง   การสวมชุดครุยวิทยฐานะ จึงน่าจะเป็นการแสดงออกที่ดีกับศิษย์ ซึ่งเป็นให้กำลังใจในการดำเนินชีวิต เป็นแบบอย่างของความเป็นครูในการศึกษาหาความรู้ อย่างไรก็ตามหัวใจของงานสำเร็จการศึกษาน่าจะเป็นการแสดงออกถึงการเชิดชู รักษาเกียรติ และธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของสถาบันนั้นๆ

คำสำคัญ (Tags): #ครุยวิทยฐานะ
หมายเลขบันทึก: 242514เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2009 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ดีครับน้าสนใจดี....

เหมาะสมมากกับตำแหน่ง หน.พราก....

และท่านรองฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา และชุมชนสัมพันธ์ฮิๆ

ครับผม ตำแหน่งที่สองพอได้ครับ ส่วนตำแหน่งแรก ก็บอกแล้วครับว่า ตำแหน่งแรก ไม่ใช่ตำแหน่งสอง

คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้นักศึกษามีความรู้สึกที่ดีและมีแรงกระตุ้นที่อยากจะพัฒนาตนเองในด้านวิชาการ และรู้สึกภาคภูมิใจของศิษย์ที่มีครูอาจารย์กับเขา กับสถานบันของเขา ซึ่งก็ไม่ได้น้อยไปกว่าสถาบันอื่นๆเลย ถึงแม้ว่าจะเรียนเพียง 2 ปีก็ตาม ผมเคยเห็นนะครับว่ามีอาจารย์ ดร.ท่านหนึ่งเคยสวมเสื้อคลุย ไปมอบใบประกาศแก่เด็กอนุบาลแห่งหนึ่งครับ ก็รู้สึกดีมากเลย เพราะถือว่าเป็นของขวัญสำหรับเขาที่พยายามเรียนจนสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งน่าจะดีกว่าคำพูดว่ายินดีด้วนนะอย่างเดียวก็แสดงออกโดยการให้เกียรติเขาครับ

ครุยวิทยฐานะ นับว่าเป็นชุดพิธีการถือธรรมเนียมปฏิบัติมาจากพิธีการสำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศตะวันตก ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในประเทศไทยรับธรรมเนียมนี้มาประยุกต์ใช้ โดยได้กำหนดชุดครุยขึ้นเพื่อใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและจะใช้ครุยชนิดนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อแสดงถึงปริญญา วิทยฐานะทางการศึกษาตามที่ตนสำเร็จการศึกษา การที่มหาวิทยาลัยใดจะกำหนดชุดครุยเป็นเครื่องแสดงวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยได้นั้น มหาวิทยาลัยจะต้องตราเป็นกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย ครุยแสดงวิทยฐานะบัณฑิตขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ผู้ใดไม่ได้สำเร็จการศึกษาในปริญญานั้น หากมีการนำชุดครุยประเภทนี้มาใช้โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัยถือเป็นโทษทางอาญามีโทษสูงสุดถึงจำคุก ชุดครุยพระราชทานปริญญาบัตรที่ใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในยุคปัจจุบันมีอยู่หลากหลายประเภท แถบสี ขนิดของเนื้อผ้า ตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดขึ้นมาเพื่อแสดงถึงวิทยฐานะทางการศึกษา ปริญญาของบัณฑิตที่จบการศึกษาในปริญญานั้น ๆ ทั้งนี้สามารถแยกชุดครุยที่ใช้พระราชทานปริญญาบัตรได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1 ลักษณะของครุยวิทยฐานะ

1.1 รูปแบบตามแบบโบราณพระราชพิธีไทย

1.2 รูปแบบตามแบบตะวันตก

รูปแบบตามแบบโบราณพระราชพิธีไทย

มหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยแบบโบราณพระราชพิธีไทย ลักษณะแบบครุยจะเป็นชุดครุยคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา แยกตามชนิดเนื้อผ้าและสีดังนี้

ครุยเนื้อผ้าโปร่ง สีขาว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง

มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ครุยเนื้อผ้าทึบ สีหมากสุก(สีแสด)หรือสีแดง สีแดงเลือดหมู

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ผ้าทึบสีเลือดหมู

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เนื้อผ้าสีแดง แถบตุง

ครุยเนื้อผ้าทึบ สีดำ

มหาวิทยาลัยราชภัฎทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งได้มีการเปลี่ยนแปลงชุดครุยเป็นแบบฉบับของตนเองเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เนื้อผ้าจะใช้สีฟ้าแทน

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

รูปแบบตามแบบตะวันตก

ครุยตามแบบตะวันตก ลักษณะแบบครุยจะเป็นครุยคลุม ตัวอย่างเช่น ครุยตุลาการหรือทนายความ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ใช้ครุยลักษณะนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้แยกครุยประเภทนี้ออกเป็น 2 แบบคือ แบบที่มีหมวกกับแบบที่ไม่มีหมวกประดับฮูด ชุดครุยแบบตะวันตกแบบมีหมวก มหาวิทยาลัยที่ใช้ครุยชนิดนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้แก่

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชุดครุยแบบตะวันตกแบบที่ไม่มีหมวก เนื้อผ้าสีดำประดับฮูด

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยทักษิณ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เนื้อผ้าสีเทา

มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำด้วยผ้าหรือแพรสีน้ำเงินเข้ม (มีหมวกสำหรับดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตเท่านั้น )

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้ครุยวิทยะฐานะมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำด้วยผ้าหรือแพรสีน้ำเงินเข้ม เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้า ประมาณ ๑๕ เซนติเมตร หลังจีบและมีจีบที่หัวไหล่ด้วย ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบกำมะหยี่สีทอง กว้าง ๔ เซนติเมตร และถัดแถบสีทองออกไปมีแถบกำมะหยี่สีประจำคณะ กว้าง ๒ เซนติเมตร เย็บติดเป็นสาบตลอดด้านหน้าทั้งสองข้างและโอบรอบคอเสื้อ แขนเสื้อยาวตกข้อมือ ปลายแขนปล่อยตอนกลางแขนทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มกว่าตัวเสื้อเล็กน้อย กว้าง ๕ เซนติเมตร จำนวน ๓ แถบ (สำหรับครุยดุษฎีบัณฑิต) ๒ แถบ (สำหรับครุยมหาบัณฑิต) และ ๑ แถบ (สำหรับครุยบัณฑิต) ติดเรียงกันระยะห่าง ๕ เซนติเมตร มีผ้าคล้องคอทำด้วยผ้าหรือแพรสีน้ำเงินเข้มเช่นเดียวกับเสื้อ ด้านนอกตอนปลายของผ้าคล้องคอขลิบริมด้วยผ้าหรือแพรสีทองริมหนึ่งและขลิบด้วยผ้าหรือแพรสีประจำคณะหรือสาขาวิชาอีกริมหนึ่ง ประกอบด้วยหมวกแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ ๒๔ เซนติเมตร ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีน้ำเงินเข้มมีพู่ทำด้วยดิ้นทองยาว ๒๒ เซนติเมตร (สำหรับครุยดุษฎีบัณฑิต) หมวกมีพู่ทำด้วยดิ้นสีน้ำเงินเข้ม (สำหรับครุยมหาบัณฑิต) ครุยวิทยฐานะประกอบด้วยหมวกสำหรับดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตเท่านั้น ส่วนบัณฑิตไม่มีหมวกประกอบ

สีประจำคณะและสีประจำสาขาวิชา มีดังต่อไปนี้ (๑) คณะนิติศาสตร์ สีขาว (๒) คณะบริหารธุรกิจ สีฟ้า (๓) คณะมนุษยศาสตร์ สีแสด (๔) คณะรัฐศาสตร์ สีแดงเข้ม (๕) คณะวิทยาศาสตร์ สีเหลือง (๖) คณะศึกษาศาสตร์ สีชมพู (๗) คณะเศรษฐศาสตร์ สีม่วง (๘) สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ สีเขียว (๙) สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน สีเขียวตองอ่อน (๑๐) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สีน้ำตาล (๑๑) สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สีเลือดหมู (๑๒) สาชาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ สีครีมทอง

เข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยรามคำแหงสำหรับผู้ได้ปริญญา มีลักษณะเป็นพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ พระหัตถ์ขวาทรงถือหนังสือข้างล่างมีอักษรชื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหงทำด้วยโลหะรมดำ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยนครพนม

ฝากไว้ว่าถ้ากลัวว่าใส่ครุยเพื่อมอบ Transcript ผิดหรือไม่ควรสอบถามไปทางผู้ที่รู้(สภามหาวิทยาลัยเลยครับ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อยากเรียนถามผู้รู้ค่ะ ว่า การสวมชุดครุยที่มีหมวกในวันที่ นศ.จบ ถ่ายรูปร่วมกันอาจารย์และนศ. อาจารย์ที่เป็นข้าราชการแต่งชุดขาวปกติทับด้วยครุย ต้องใส่หมวก ประดับด้วยหรือไม่ ถ้าใส่พู่ต้องเฉียงด้านใด .....ขอบคุณมากนะคะที่ตอบให้รับรู้ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง

สวัสดีค่ะ

แวะมารับความรู้...ประวัติ...ที่มาการสวมเสื้อครุย

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ที่ได้รับ

เรียน คุณครูพยาบาล หัวข้อ4. ครับ

ไม่มีสวมหมวกขาวหรอกครับ เพราะการใส่ชุดปรกติขาวเป็นการบ่งบอกว่าเป็นข้าราชการ กระทรวงใด ส่วนหมวกถ้าชุดครุยสถาบันใดมีหมวกก็ต้องใส่ครับ เพราะเป็นครุยวิทยฐานะของแต่ละสถาบันการศึกษา

คงตอบตรงคำถามนะครับ

การสวมชุดครุยร่วมพิธีการต่างๆ โดยสวมทับชุดอื่นๆที่ไม่ใช่ชุดปกติขาว คือถูกต้องหรือทำได้ใช่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท