การฝังเข็ม กับ วิชาชีพแพทย์ พยาบาล กายภาพบำบัดในประเทศไทย


ในฐานะมีประสบการณ์ เกี่ยวกับการฝังเข็ม มาเกือบ 20ปี

ได้สงสัยขึ้นว่า  ในหลักการวิชา และ ขอบเขต ของการใช้วิชากับผู้ป่วยมีได้หลากหลาย

สังคมไทย จะออกแบบกำหนดให้ การฝังเข็ม รับใช้ประชาชนได้อย่างไร จึงจะเหมาะสม

จากฐานทุกวันนี้ การฝังเข็ม ทำได้โดยแพทย์เท่านั้น ตามกฎ หรือ ข้อตกลง ของแพทย์สภา

แต่ในทางปฏิบัติ มีผู้ป่วยจำนวนมากๆ ที่จะได้ประโยชน์จากการฝังเข็ม บำบัดอาการ  ทำนองเดียวกับการนวด ที่ได้กำหนด ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ให้นวดรักษาผู้ป่วยได้  เพราะตัวหมอแพทย์แผนไทยแท้ๆ ที่สอบผ่านใบประกอบโรคศิลป มีน้อยมากๆ  กฎหมายวิชาชีพ จึงให้  ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ที่ผ่านการฝึกอบรม  ตามหลักสูตรที่กำหนด  รักษาบริการผู้ป่วยได้

คราวนี้มาเรื่องฝังเข็ม ก็น่าจะมีการตกลง ให้วิชาชีพอื่น สามารถรักษา ฝังเข็มได้ หากกลัวว่า จะไปแย่งแพทย์หากิน ประกอบวิชาชีพ

ก็น่าจะใช้ข้อตกลง รักษาภายใต้การควบคุมรับผิดชอบของแพทย์ ในสถานพยาบาล (คือ โรงพยาบาลเท่านั้น ) ซึ่งมีปัญหาอะไรก็สามารถแก้ไขได้ โดยไม่เกิดผลเสียร้ายแรงต่อผู้ป่วย

จึงน่าจะมีหลักสูตรฝึกอบรม การฝังเข็ม ให้กับ นักกายภาพบำบัด และ พยาบาลผู้ชำนาญการทางด้านการพยาบาลกระดูกและข้อ  ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับสถาบันนั้นมีวิสัยทัศน์ หรือ มีโครงการพัฒนาคุณภาพการรักษากลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกเส้นเอ็นด้วย  

หากไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มีโครงการนี้ ก็ไม่ต้องส่ง นักกายภาพ พยาบาลชำนาญการ มาฝึกอบรมให้เสียเวลา

การฝังเข็ม จะเป็นวิธีอย่างง่าย และ ประหยัด แล มีประสิทธิภาพ ในการรักษากลุ่มอาการ ช้ำบาดเจ็บ ของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น

เป็นเรื่องที่สังคมไทย  รับรู้กันน้อย  และ เสียโอกาสมานานแล้ว ยิ่งรักษาในระยะเฉียบพลับที่บาดเจ็บใหม่ๆ จะได้ผลชัดเจน  หากทิ้งไว้นานเรื้อรัง การรักษาก็ยากและใช้เวลานาน

สังคมไทยเราใช้ฝังเข็ม กับ โรคหรือภาวะที่เรื้อรังไปมาก จากภาวะเฉียบพลัน จึงเห็นผลการรักษาที่จำกัด

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ใช้การฝังเข็มกับ โรคทางสมองมาก ทั้งระยะเฉียบพลัน และ ระยะเรื้อรัง   จัดเป็นผู้นำของการฝังเข็มกับโรคทางสมอง โดยทีมของ อาจารย์ นพ กิตติศักดิ์ เก่งสกุล

 

หมายเหตุ บันทึกนี้ ได้แรงบันดาลใจ จากการไปเยี่ยมญาติสนิท บาดเจ็บกระดูกหัก เข้ารักษาผ่าตัดใส่เหล็ก ใน รพ.ของรัฐ  จึงเห็นโอกาสของการใช้ วิชาฝังเข็ม โดยพยาบาลหอผู้ป่วยกระดูก    ส่วนตัวผมเชื่อว่า ภายใน 10 ปี  นี้ พยาบาลชำนาญทางกระดูก จะสามารถฝังเข็มแทนแพทย์  ช่วยผู้ป่วยที่บาดเจ็บ ที่มารักษาตัวในโรงพยาบาล

การฝังเข็มแขนขา จะง่ายกว่า การฉีดยาเคมีบำบัด ให้ผู้ป่วย หากได้รับการฝึกอบรมมาแล้วอย่างเหมาะสม

และบางทีสมาคมวิชาชีพอื่นๆ เช่น กายภาพบำบัด อาจจะเรียกร้อง ให้มีหลักสูตรฝึกอบรม  และ ให้สังคมยอมรับการให้บริการกับผู้ป่วยภายใต้ขอบเขต ที่สังคมกำหนด ทั้งนั้ขึ้นกับ วิสัยทัศน์ ของผู้นำในสาขาวิชาชีพนั้นๆ จะเห็นคุณค่าของวิชา

คำสำคัญ (Tags): #ฝังเข็ม
หมายเลขบันทึก: 242006เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2009 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท