ชมรมหัวรถไฟ


ชมรมหัวรถไฟ หมายถึง การเดินทางที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเด็ก โดยรถไฟทุกขบวนจะเดินทางไปแต่สถานที่เป็นปัญหาของสังคมตามวัตถุประสงค์ของชมรมเรา

กำเนิดชมรมในแง่ความคิดผม

บทความนี้ ที่จริงผมน่าจะเขียนได้นานแล้ว แต่ด้วยวันเวลาต่างๆ ทำให้ผมคิดว่าบทความนี้เริ่มน่าสนใจมากขึ้นที่จะบันทึกมันลงไป เพราะเรื่องราวต่างนั้นเริ่มที่จะมากมายหลากหลายมากขึ้น อีกทั้งผมเริ่มให้ความสนใจกับปัญหาสังคมมากขึ้นจากเดิม จากการที่มีโอกาสหลายๆอย่างทำให้เห็นแง่มุมมากขึ้นและได้นำสิ่งที่ได้ศึกษากฎหมายมาปรับใช้กับชีวิตจริงมากขึ้น เกิดประโยชน์มากขึ้นต่อสังคมและตัวผมเอง ผมดีใจที่ได้ทำเรื่องราวต่างๆเหล่านี้กับทีมงานกลุ่มนี้ แล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

เมื่อประมาณเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๑ ผมได้ทราบว่ามีน้องๆกลุ่มหนึ่งจะไปเผยแพร่กฎหมายสู่โรงเรียนขุนยวมวิทยา ณ.อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ช่วงกลางเดือนธันวาคม(ขออภัยที่ไม่ได้เขียนวันที่ชัดเจน) ซึ่งผมไม่ได้สนใจอะไรไปมากกว่า”การเตรียมความพร้อมที่จะเปิดโอกาสตัวเองกับสิ่งใหม่” ในฐานะนักกฎหมาย ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพายัพ เรื่องราวต่างๆมากมายในช่วงกิจกรรมเผยแพร่กฎหมายที่นั้น ช่างเป็นบรรยากาศที่มีความสุขยิ่งนัก การได้เห็นเด็กนักเรียน ๙ ชนเผ่า และชาวพื้นเมือง มีความสนใจ โดยเด็กๆที่โรงเรียนที่เข้ารับการอบรมย์ มีความสนใจในเนื้อหาที่เราเตรียมไปและเข้าใจได้ดีจากการที่เราได้ให้น้องๆสรุปบทเรียนกันท้ายกิจกรรม ในกลุ่มๆน้องๆหลายคนทำให้ผมเริ่มประทับใจและคุ้มค่ากับการเผยแพร่กฎหมายในครั้งนั้น อีกประการหนึ่งที่เราพบคือยังมีเด็กอีกหลายคนที่โรงเรียนแห่งนี้ยังไม่มีสัญชาติไทย และด้วยการสนับสนุนของ ครูโรงเรียนขุนยวม โดยอ.ทวิช ได้ทำให้โอกาสของเด็กๆ เหล่านี้ได้มีโอกาสเข้าใจเรื่องกฎหมายและสัญชาติมากขึ้น จะมีครูซักกี่คนที่ได้ทำนอกเหนือจากอาชีพและหน้าที่ครูได้อย่างสมบูรณ์ ครูที่รู้สึกรับผิดชอบและสนใจแก้ปัญหาให้กับนักเรียนด้วยจิตวิญญาณของครูที่ดี

เดือนมกราคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ผมก็ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมวันเด็กไร้สัญชาติ ณ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอนอีกครั้ง จากการถูกชักชวนโดยน้องๆกลุ่มเดิม คือน้องโดราเอม่อนและน้องมึดา โอกาสในชีวิตครั้งนี้แตกต่างจากเดิมครั้งที่แล้วมาก(หาอ่านได้จากบทความเดิม เรื่อง “เด็กต้องการอะไร” ที่เขียนบันทึกไว้แล้ว) ผมได้รับการไว้วางใจจากคณาจารย์ให้ช่วยดูแลนักศึกษาน้องๆ นักศึกษาที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน กิจกรรมส่วยใหญ่ที่พวกเราทำกันก็อยู่ใน โครงการของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดก็เน้นที่ การขอสัญชาติไทย ตรวจเอกสารการยื่นขอ และกิจกรรมวันเด็ก

หลังจากกลับจาก สบเมย เราหลายคนได้ร่วมประชุมสรุปงาน ผมเห็นน้องๆที่มีความสนใจต่อปัญหาสังคมร่วมกันจัดตั้งชมรมขึ้นมาเพื่อ เด็กไร้สัญชาติและปัญหาสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่อยากจะลงไปช่วยเหลือสังคม ถ้าเด็กที่เรียนกฎหมายหลายคนสามารถคิดได้มากกว่า การเป็นคนที่เรียนเก่งและมุ่งจะชนะข้อสอบเพื่อจะยืนหยัดอยู่บนตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดย ปิดหูปิดตาต่อความจริง มันคงจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้ปัญญาที่คณาจารย์ได้อบรมจริยามา สุดท้ายเราก็เกิดชมรมขึ้นมาภายใต้สังกัดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ชมรมหัวรถไฟ

ชมรมหัวรถไฟ หมายถึง การเดินทางที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเด็ก โดยรถไฟทุกขบวนจะเดินทางไปแต่สถานที่เป็นปัญหาของสังคมตามวัตถุประสงค์ของชมรมเรา โดยทุกครั้งจะออกเดินทางไปโดยใช้หัวใจที่มุ่งมั่นที่จะสร้าง ประโยชน์แก่เด็กและเยาชน เพื่อตอบแทนและให้โอกาส เด็กและเยาชนมีโอกาสในทุกด้านอย่างเต็มความสามารถของพวกเรา ในวันนี้เรายังบอกไม่ได้ว่าจะมากขนาดไหนและยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แต่ที่ผมเห็นจากสายตาของน้องกลุ่มทำงานนี้ คงไม่ธรรมดา เพราะว่า ใจของพวกเขาถูกหลอมอยู่ในเตาหลอมเดียวกันและพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์ของชมรมหัวรถไฟ

1. เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมาย

2. เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมายสู่ชุมชน

3. เพื่อช่วยเหลือและรับใช้สังคม

4. เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

5. เพื่อสร้างความสมานฉันท์พี่น้องในคณะ

 

หลังจากกำเนิดชมรมแล้ว กลุ่มเราจำนวนหนึ่งได้มีโอกาสเริ่มกิจกรรมครั้งแรก คือ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา ผมและน้องที่ชมรมได้มีโอกาสไปทำความเข้าใจกับเด็กๆไรสัญชาติถึงสิทธิของการเป็นพลเมือง ที่โรงเรียนขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยอาจารย์ทวิช ครูประจำโรงเรียนดังกล่าว มีความประสงค์ที่อยากให้พวกเราช่วยเตรียมความพร้อมและตรวจทานเอกสารให้แก่น้องที่ไร้สัญชาติและกำลังเตรียมดำเนินการขอสัญชาติกัน โดยกลุ่มเราก็มีผมเอง นายอุ้ม น้องบิงโก น้องโอ๊ป และน้องโดด ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกำลังใจและความเข้าใจถึงการได้สัญชาติ ผมไม่รู้หรอกนะครับว่าเด็กๆ จะพยายามได้แค่ไหน เพราะพวกเราก็เหมือนรถไฟสายเล็กขบวนหนึ่งที่พาเขาเหล่านั้นไปส่งถึงที่ตามกำลังของเราแล้ว สุดท้ายเขาเหล่านั้นจะกลับหรือเดินทางต่อ ก็ต้องขึ้นอยู่กับขาสองข้างของน้องแล้ว ผมก็ได้แต่หวังและติดตามผลในวันข้างหน้าต่อไป เพราะเมื่อผมกลับไปอยากพบเด็กที่มีโอกาสเหมือนเด็กคนอื่นๆ

ฝากข้อความไว้ที่ เด็กต้องการอะไรก็ได้ครับ ผมไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว ลองแก้แล้วครับ ก็ยังเป็นเหมือนเดิม หากประสงค์จะฝากข้อความทิ้งไว้นะครับ ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 241887เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2009 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เข้ามาอ่านแล้วทิ้งความเห็นไว้ให้ด้วยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

    เดินในที่ๆ ที่ไม่มีแสงส่วางมันลำบากจริงๆ ครับ "ผมจึงนิ่งชั่วครู่....หลับตาสักพัก... แล้วลืมตา ทางที่มืดมัว กลับมองเห็นทางรำไร"

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท