ระบบ หลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ 5ส, TMP, QC


ระบบ หลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ 5ส, TMP, QC

ระบบ หลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ  5,  TMP,  QC

5    คือการจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานสถานประกอบกิจการ และงานของตนด้วยตนเอง เพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยใช้วิธี สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย

รายละเอียดของกิจกรรม 5

l    เพื่อจัดระบบราชการและงานบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

l     เพื่อสร้างและพัฒนาจิตสำนึกการปรับปรุงของผู้ปฏิบัติงานให้เกิดขึ้น

l     เสริมสร้างการทำงานเป็นทีมที่ดี โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วม

5 ส มาจากคำย่อ “5 S” ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกในภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ

1.             Seiri (เซริ) = สะสาง (ทำให้เป็นระเบียบ)

2.             Seition (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่)

3.             Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด)

4.             Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด)

                5.             Shitsuke (ชิทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย)

วิธีการทำกิจกรรม 5 ส มีหลักสำคัญ ดังนี้

1.  การเริ่มต้นทำ 5

1. รวมพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน                                

2. วางกิจกรรม 5 ส ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับเป้าหมาย

                                3. กำหนดทำกิจกรรมเรียงตามลำดับแต่ละ                            

4. ให้ผู้บริหารทำการตรวจเช็ค เพื่อรับรู้สถานะที่แท้จริงของการดำเนินกิจกรรม 5 ส ด้วยตนเอง

5. ใช้วิธีถ่ายรูปไว้ ทั้งก่อนลงมือทำและหลังทำกิจกรรม 5     

ความสำคัญของ 5.

1.   เป็นพื้นฐานของระบบคุณภาพทุกระบบ

2.  สร้างวินัยและจิตสำนึกที่ดีในการทำงาน

3.  สร้างระบบ ระเบียบ การจัดเก็บ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามแก่หน่วยงาน

4.  เสริมประสิทธิภาพการทำงาน

5.  ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์แก่ผู้มารับบริการ

6.  ง่าย ประหยัด แต่คุ้มค่า

สามารถนำไปใช้ในการทำงานอาจจะเป็นบริษัท/หรือองค์กรทางการศึกษาได้  คือ  การนำ  5  นี้ไปใช้ในเรื่องของการรักษาความสะอาด  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบริษัทหรือองค์กรการทำงานของท่านเอง  และจะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ  มีความเป็นระเบียบมากขึ้น  ในการที่เราจะนำ  5  มาใช้นั้นเราจะต้องมีความคำนึงถึงองค์ประกอบของพนักงาน  และความร่วมมือ/ความสามัคคีเป็นหลักในการบริหาร  5  นี้ได้

TPM คือ อะไร

TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance แปลเป็นไทยว่า การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมหลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้

วิวัฒนาการของการเข้าสู่ TPM

TPM ได้พัฒนามาจากการดูแลรักษาเครื่องจักรเริ่มต้นจาก Breakdown Maintenance ซึ่งเกิดขึ้นในอเมริกาในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฝืดเคืองเท่าไรการเอาใจใส่ในการสูญเสียจึงไม่มากนักจึงปล่อยให้เครื่องจักรอุปกรณ์เสียแล้วจึงค่อยซ่อม

วัตถุประสงค์ของ TPM

TPM จุดประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการผลิตไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดแม้ว่าระบบการผลิตส่วนมากจะเป็นระบบ Man – Machine ซึ่งรวมถึงระบบอัตโนมัติที่กำลังพัฒนาควบคู่ไปกับระบบการผลิตด้วยแต่ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า วิธีการสร้างเครื่องจักร การใช้เครื่องจักร การบำรุงรักษาดูแลเครื่องจักรนั้นมีผลต่อของดีของเสียโดยตรงเลยทีเดียวแต่ว่า TPM นั้นมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตโดยรวมไปสู่ขีดจำกัดสุงสูด

ความหมายของ TPM แบ่งออกเป็น 5 ข้อด้วยกัน

1.  การสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตมีค่าสูงสุด

2.  การป้องกันการสูญเสียทุกประเภท โดยพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ

3.  ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน TPM รวมทั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนา, ฝ่ายขาย และสำนักงาน

4.  ทุก ๆ คนในองค์กรมีส่วนร่วม ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนักงาน ระดับปฏิบัติการ

5.  ดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อลดการสูญเสียให้หมดไป

เป้าหมายของ TPM
การตั้งเป้าหมายของ TPM ก็เพื่อใช้ในการวัดระดับความสำเร็จในการทำกิจกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมาย คือ

l    เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ (Zero Breakdown)

l     อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero Accident)

l     ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)

TPM  เป็นการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มคุณค่า (VAM) 

l    ปรับปรุงเครื่องจักร คน และระบบ

l    เน้นต้นทุน

l    อนุรักษ์นิยม

l    คุณภาพ กำหนดส่งมอบ ผลิตภาพ

l    การพัฒนาผลิตภัณฑ์

สามารถที่จะนำ TPM  เข้ามาบริหารจัดการในองค์กรได้  คือ  การลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นที่ทั้ง  ในการทำงาน  อุบัติเหตุ  หรือการลดของเสียที่จะเกิดขึ้นในการทำงานให้มากที่สุด  ดังนั้นสรุปได้ว่า  TPM  เป็นการวางแผนเพื่อที่จะลดความเสี่ยงต่างๆ 

QC

เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับวางแผน และป้องกันปัญหา เพื่อให้ได้นโยบาย และมาตรการเชิงรุกที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม

ความสำคัญของเครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง  (The 7 New QC Tools)

เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง หรือเครื่องมือสำหรับการบริหาร 7 อย่าง (The 7 Management Tools) เป็นเครื่องมือที่ทางประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมมาจากเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง (The 7 QC Tools) ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก/ฝ่ายขึ้นไป ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหาร เพื่อวางแผนกลยุทธ์

1.      แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด

2.      แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์

3.      แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ

4.      แผนภูมิเมตริกซ์

5.      แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์

6.      แผนภาพทางเลือกตัดสินใจเพื่อบริหารความเสียง

7.      แผนภูมิลูกสร

QUALITY ตามความหมาย QC

1. คุณภาพ (Quality = Q) หมายถึง คุณภาพของสินค้าและบริการ

2. ต้นทุน (Cost = C) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ และการทำงาน

3. การส่งมอบ (Delivery = D) หมายถึง การส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง

4. ความปลอดภัย (Safety=S) ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ/ลูกค้า รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน

5. ขวัญของพนักงาน (Morale = M) หมายถึง การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง

ความหมายของการควบคุมคุณภาพเชิงรวม 

มีความหมาย  3  ประการ   

l    เป็นการรวมกิจกรรมทุกๆ อย่างในองค์กรเข้าด้วยกัน 

l    เป็นการร่วมมือกันของทุกๆ ฝ่ายในองค์กร 

l    เป็นการร่วมมือกันของทุกคนในองค์กร

สามารถที่จะนำ  QC  ไปใช้ในการบริหารจัดการในเรื่องของงานอุตสาหกรรมมากที่สุด  คือ  การสร้างคุณภาพของสินค้า,การลดค่าใช้จ่ายในการผลิต การให้บริการ และการทำงาน,การส่งมอบสินค้า และบริการในจำนวนที่ถูกต้อง ,ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ/ลูกค้า รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน ,การสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง   ถือเป็นการบริหารที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 241379เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท