เชื้อรา : เส้นใยชนิด aerial hypha & vegetative hypha


ภาพนี้น่าจะทำให้เข้าใจ ความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างเส้นใยของเชื้อราชนิด vegetative hypha และ aerial hypha ยิ่งขึ้น

 

 

โดยดูตัวอย่างจากวงจรชีวิตของเชื้อราชนิดหนึ่ง ชื่อว่า Neurospora crassa เมื่อภาวะสิ่งแวดล้อมที่เชื้อรานี้อาศัยอยู่เปลี่ยนแปลง การเจริญแตกต่างกัน ส่วนของเส้นใยที่เป็น vegetative hypha จะสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศเรียกว่า conidia (ซึ่งอาจเป็น macroconidia หรือ microconidia) และ protoperithecia

1. ในภาวะอาหารอุดมสมบูรณ์ เชื้อ N. crassa จะเจริญเพิ่มจำนวน ขยายตัวแตกแขนงของ vegetative hypha (ซึ่งมีหลายนิวเคลียส) ไปเป็น mycelium หลายเซลล์  ในภาวะวงจรชีวิตนี้ (vegetative cycle)

  • ส่วนของ macroconidia จะเจริญมาจากก้านชู conidiophores ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาจาก aerial hypha
  • แต่ส่วนของ microconidia (ภาพบนมุมซ้าย) จะเจริญโดยตรงมาจาก vegetative hypha


2. ในภาวะอาหารขาดไนโตรเจน เชื้อ N. crassa จะเริ่มวงจรสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ส่วนโครงสร้าง protoperithecium (fruiting-body precursor) ถ้าปฏิสนธิกับ เซลล์ตัวผู้ (male organ) จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจาก protoperithecium ไปเป็น perithecium และสร้างสปอร์ชนิด ascospores

 

 

 

Reference

Klaus B. Lengeler, Robert C. Davidson, Cletus D'souza, Toshiaki Harashima, Wei-Chiang Shen, Ping Wang, Xuewen Pan, Michael Waugh, and Joseph Heitman. Signal Transduction Cascades Regulating Fungal Development and Virulence
Microbiology and Molecular Biology Reviews, December 2000, p. 746-785, Vol. 64, No. 4

 

Note:

Mycelium ใช้เรียก เส้นใยเป็นเส้นๆมีการแตกแขนงรวมกันเป็นกระจุกๆเช่นทั้งโคโลนีของเชื้อรา ส่วนเส้นใยเดี่ยวๆเรียกว่า ไฮฟา (hypha) เส้นใยมากกว่าเส้นเดียว (พหูพจน์) คือ ไฮฟี (hyphae)

 

หมายเลขบันทึก: 241021เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท