จากฉันถึงเธอ2 (ต่อ)


การแข่งขันเป็นสิ่งสำคัญ

คุยกันพาเพลิน

 

ตามสัญญาที่กล่าวไว้ คือ ต้องเขียนเรื่องราวที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเข้าร่วมโครงการD’Cath ครั้งที่แล้วซึ่งผู้เขียนได้เขียนค้างถึงผู้จัดงาน คือ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 


 

 

คณะนิเทศศาสตร์จุฬากรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะอันดับ 1 ของประเทศในสายสื่อสารมวลชน จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาพบว่าคะแนนที่สอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะนิเทศาสจร์จุฬามีคะแนนสูงสุดเมื่อเทียบกับสายนิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ สิ่งที่สำคัญมากกว่าคะแนนอันดับ 1 คือ อะไรเป็นเบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้คณะนิเทศาสตร์จุฬาฯจึงเป็นคณะอันดับ 1 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

 

ผู้เขียนต้องชื่นชมความสามารถของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน D’cath ครั้งนี้ ซึ่งจัดได้สมบูรณ์แบบมาก ๆ แม้ว่าจะมีจุดเล็กจุดน้อยที่บกพร่องไปบ้างแต่ก็หาใช่ว่าจะทำให้จุดใหญ่ ๆของงานเสียไป   การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้มีคุณค่ามาก แม้ระยะเวลาจะน้อยนิดแต่ก็ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้และเข้าใจเบื้องหลังความสำเร็จคณะอันดับ 1 ของ

 

เบื้องหลังความสำเร็จอันดับแรกที่เห็นได้ชัดเจน คือ คุณภาพของนักศึกษา นักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาคณะนี้ได้ต้องแข่งขันสูงมาก  เมื่อเข้ามาศึกษาคงต้องแข่งขันการสูงเพื่อให้ได้เกรดที่ดีนั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาควรพึงกระทำอยู่แล้ว  ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ต้องมีการแข่งขันมนุษย์ต้องพยายามกระทำทุกสิ่งเพื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ดี การแข่งขันทำให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ แต่หากมุ่งแต่การแข่งขันมากเกินไปก็จะเกิดเป็นความอิจฉาซึ่งกันและกันขึ้นมา  แต่ถึงกระนั้นผู้เขียนก็ขอสนับสนุนการแข่ขันอยู่ดี

 

การแข่งขันหากยืนอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเป็นสิ่งทีดีมากเพราะจะทำให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพออกมา ถึงกระนั้นหากมีการแข่งขันและไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ก็เป็นเรื่องที่น่ากลัว วันนี้ประเทศไทยเรามีการแข่งขันแต่ไม่ยอมให้แข่งขันอย่างเสรี ชอบมีกฎเกณฑ์พิเศษขึ้นมา ซึ่งทำให้คุณภาพของงานออกมาไม่ดี แต่ก็ต้องวกกลับมาเรื่องเดิม คือ นักศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์จุฬา ฯ นั้นมีการแข่งขันการสูงมาก ๆ แข่งขันเพื่อให้งานออกมาดี แต่บางครั้งก็อาจเกิดปัญหาได้ เช่นการทำงานเป็นทีมหากต่างคนต่างคิดว่าตนเองเก่งก็จะทำให้งานไม่เดินเพราะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง แต่ผู้เขียนคิดว่าการจัดงานในครั้งนี้ของพี่ชั้นปี 4 อาจมีการขัดแย้งกันบ้างเพราะความคิดบนการแข่งขันแต่ก็เป็นความสวยงามของการทำงายเป็นทีม ซึ่งสุดท้ายงานก็ออกมายอดเยี่ยมตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน

 

ประการที่สำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้เกิดสภาพของการแข่งขัน อาจกล่าวได้ว่าหากไม่มีการแข่งขันเพื่อผลิตผลงานออกมาก็คงไม่สามารถทำให้คณะนิเทศศาสตร์จุฬาดำรงความเป็น 1 อยู่ได้ ตรงนี้ต้องขอย้ำว่าเป็นมุมมองของผู้เขียนเอง การสร้างภาวะการแข่งขันเป็นเรื่องยากมาก ในคณะการสื่อสารมวลชนที่ผมศึกษาอยู่ ภาวะการขนขวายเพื่อการแข่งขันของนักศึกษามีน้อย ดังนั้นเป็นจุดอ่อนที่ต้องมีการปรับตัว

 

เบื้องหลังความสำเร็จประการที่ 2 คือ การดูแลและเอาใจใส่ของอาจารย์ อาจารย์เป็นคุณภาพและสิ่งสำคัญของสถาบันการศึกษา การที่สถาบันไหนได้อาจารย์ที่มีคุณภาพย่อมทำให้บัณฑิตมีคุณภาพตามไปด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมอาจารย์และนักวิชาการที่มีคุณภาพของประเทศอย่างแท้จริง

 

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ D’Cath คือ อาจารย์ม้า หรือ ผศ.ณาณัฏฐ์ธัญ วงศ์บ้านดู่ หัวหน้าภาควิชาสื่อสารมวลชน งานนี้อาจารย์ม้าลงมาลุยเอง ซึ่งน้อยครั้งนักที่อาจารย์จะลงมาลุยงานกับนักศึกษา ซึ่งการลงมาลุยงานกับนักศึกษาทำให้การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันเป็นไปโดยง่าย หากนักศึกษามีปัญหาก็สามารถปรึกษาได้เลย ตรงนี้ทำให้กลายเป็นจุดเด่นอันหนึ่ง ถึงแม้ว่าเหตุผลที่ผู้เขียนยกขึ้นมาอาจเป็นเพียงจุดเล็กน้อยซึ่งอาจไม่สามรถอธิบายได้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย แต่ผู้เขียนก็เชื่อมั่นว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นจุดเด่นประการหนึ่งบนพื้นฐานและข้อมูลที่ผู้เขียนมี

 

อาจารย์ที่ลงมาลุยงานกับนักศึกษาเป็นข้อดีประการหนึ่ง เพราะการทำงานของนักศึกษาบางครั้งอาจมีผิดพลาดบ้างการได้รับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจะทำให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านการปฎิบัติจริงนั้นสำคัญมากเพราะการเรียรู้ดังกล่าวจะทำให้นักศึกษาเข้าใจอย่างแท้จริงและเข้าใจมากกว่าการท่องจำ แต่ถึงกระนั้นบางครั้งเราต้องยอมรับว่าการเป็นอาจารย์ในประเทศไทยเราเป็นอาชีพที่มีเกียรติแต่ไม่ค่อยมีทรัพย์ ดังนั้นคงเป็นเรื่องนโยบายระดับประเทศที่จะทำให้การพัฒนาระบบการศึกษาดีขึ้น จุดเริ่มต้นแรกที่ควรทำคือ ทำให้อาชีพอาจารย์ เป็นอาชีพที่มีคุณค่าและมีเงินเพียงพอต่อการครองชีพมากกว่านี้

 

เหตุผล  2 ประการที่ยกมาคงพอที่จะกล่าวอ้างได้ว่าคณะนิเทศศาสตร์จุฬาเป็นคณะสายสื่อสารมวลชนอันดับ 1 ของประเทศไทยแล้วกระมั้ง เมื่อมองนิเทศศาสตร์จุฬา ก็อดไม่ได้ที่จะมองย้อนกลับมาที่คณะการสื่อสารมวลชนที่ผมศึกษาอยู่ คณะสื่อสารมวลชนเพิ่งเป็นคณะไม่กี่ปีที่ผ่าน แต่ถึงกระนั้นก็เป็นภาควิชาในสังกัดคณะมนุษย์ศาสตร์ มาเป็นระยะเวลา 4 0 ปี การแยกออกมาเป็นคณะย่อมทำให้ศักยภาพในการแข่งขันมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่อโอกาสในการพัฒนาทักษะเพื่อการแข่งขันมาถึงคณะก็ควรที่จะส่งเสริมอย่างเต็มที่ ประการแรกที่ควรดำเนินการคือ รณรงค์และส่งเสริมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นในตัวนักศีกษาก่อน สร้างนักศึกษาให้ค้นพบตัวเองว่าหากมาเรียนที่คณะแล้วอยากเป็นอะไร เมื่อทราบความต้องการของนักศึกษาคณะควรที่เร่งให้การสนับสนุน ผู้เขียนเชื่อว่าในอนาคตการแข่งขันสายนิเทศาสตร์หรือสื่อสารมวลชนต้องมีมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป

 

วันนี้คงพอเท่านี้ก่อนพบกันใหม่อาทิตย์หน้า


 

 

ข้อมูลเพิ่มเติมคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

www.masscomm.cmu.ac.th/

ข้อมูลเพิ่มเติมคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

http://www.commarts.chula.ac.th/

อ่านบทความครั้งที่แล้ว

http://gotoknow.org/blog/sundayhis/239485


 

 

หมายเลขบันทึก: 240841เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท