นวตกรรมสื่อการเรียนรู้


สื่อการเรียนรู้

นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(Interactive Self-learning from Local Initiative Cases)

ารผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจราวทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจรับผิดชอบเพิ่มขึ้น บุคลากรและทรัพยากรจำนวนมากได้รับการถ่ายโอนให้แก่องค์กรเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบ อย่างไรก็ดี ผู้คนจำนวนมากต่างมีข้อสงสัยว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ชุมชนได้แท้จริงหรือไม่เพียงใด ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ข่าวสารด้านลบที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์กลับเป็นการตอกย้ำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อการปกครองท้องถิ่นเพิ่มขึ้นรายวัน ข้อมูลดังที่ปรากฏตามข่าวเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้หรือไม่? ความจริงเป็นเช่นใด

            คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยการสนับสนุนเงินอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้จัดทำโครงการ วิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ขึ้นภายใต้ความรับผิดชอบของ ศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา

          คำว่าวิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมายความถึง การคิดค้น ริเริ่มหรือการพัฒนางานด้านต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนหรือประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นเรื่องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ผลการศึกษาโครงการวิถีใหม่ฯ ค้นพบความจริงหลายประการ อาทิ การกระจายอำนาจการตัดสินใจลงสู่หน่วยงานระดับล่างถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการคิดค้นริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสนองตอบการแก้ไขปัญหาและความต้องการอันหลากหลายของพื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าการรวบอำนาจการตัดสินใจไว้ที่หน่วยงานศูนย์กลาง และกรณีนวัตกรรมท้องถิ่นที่เกิดขึ้นนั้นก็ให้ผลที่คุ้มค่า ทั้งในด้านผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน และที่ไม่เป็นสามารถวัดเป็นตัวเงินได้ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการกระจายอำนาจที่กล่าวไว้ว่าการกระจายอำนาจย่อมนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างไม่สิ้นสุดซึ่งนวัตกรรมหนึ่งสามารถถ่ายทอดไปสู่ท้องถิ่นอื่นๆ ได้

           อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของนวัตกรรมท้องถิ่นในช่วงที่ผ่านมายังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร  เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาเรียนรู้ จัดระบบตัวเองให้พร้อมที่จะทำงาน จนสามารถริเริ่มนวัตกรรมได้จริงๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีภายหลังจากการจัดตั้ง และ/หรือได้รับการถ่ายโอนภารกิจใหม่ไปแล้ว แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ก็มีศักยภาพที่จะริเริ่มคิดค้นนวัตกรรมท้องถิ่นของตนเองได้

           ดังนั้น สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองชุดนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอกรณีตัวอย่างนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่น่าสนใจจำนวน 200 กว่ากรณี จากฐานข้อมูลของ โครงการ วิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย”  ที่มีอยู่จำนวน 529 เรื่อง เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของการปกครองท้องถิ่นไทยภายหลังจากการผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา กรณีตัวอย่างเหล่านี้ นอกจากจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงผลลัพธ์จากการกระจายอำนาจในมิติหนึ่งแล้ว ยังเป็นการนำเสนอถึงแนวคิดใหม่ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินภารกิจแต่ละด้าน ซึ่งได้ผ่านการคิดวิเคราะห์ ลองผิดลองถูก และลงมือปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จจริงมาแล้วด้วยกันทั้งสิ้น แนวคิดที่ได้รับจากการเรียนรู้ในลักษณะเช่นนี้สามารถพัฒนาต่อยอดและขยายผลไปสู่การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งอื่นๆได้อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 240311เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2009 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท