คนรุ่นใหม่ รู้เท่าทันสื่อในยุคโลกาภิวัฒน์


ส่วนหนึ่งจากการศึกษาสาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน

คนรุ่นใหม่ รู้เท่าทันสื่อในยุคโลกาภิวัฒน์

ส่วนหนึ่งที่ได้รับจากวิชาของอาจารย์ชวนะ ภวกานันท์ ที่สอนให้คิดต่าง

โครงการปริญญาโทภาคพิเศษ สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน

คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำถาม การบริหารเหมือนป่าการสื่อสารมวลชนเหมือนต้นไม้ (รวมกันเป็นป่า) ถามว่าระหว่างการบริหารกับการสื่อสารมวลชนอันไหนสำคัญกว่ากัน

คำตอบคร่าวๆตามแนวอาจารย์คือ มีความสำคัญพอๆกัน เพราะถ้าเรารู้แต่การบริหารอย่างเดียวเราก็จะทำงานโดยไม่มีกรอบความคิดของนักสื่อสารมวลชนอยู่เลย ทำงานโดยไม่มีกรอบจรรยาบรรณ ไม่รู้ว่าสื่อนั้นมีอิทธิพลหรือมีพลังแค่ไหน ทำงานโดยไม่คำนึงถึงผู้ชมและผลกระทบที่จะตามมา ส่วนถ้าเรารู้แต่การสื่อสารมวลชนอย่างเดียวโดยไม่รู้จักการบริหารเราก็จะไม่สามารถแข่งขันกับสื่ออื่นได้ เนื่องจากเราอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งมีการแข่งขันเสรี และมีสื่อใหม่เกิดขึ้นมาตลอดเวลาและสื่อใหม่ย่อมส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของสื่อเก่า เมื่อคุณรู้จักบริหารสื่อสารมวลชนแล้ว (รู้ทั้งบริหารรู้ทั้งการสื่อสารมวลชน) เราก็จะได้ทำงานได้อย่างมีวิสัยทัศน์ โดยเฉพาะในเรื่องของการรู้เท่าทันจากการล่าอาณานิคมทางปัญญาจากประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น การส่งเสริมลัทธิบริโภคนิยมผ่านสื่อ การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การผลิตซ้ำทางสังคม การเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านสื่อจนทำให้เป็นวัฒนธรรมเดียว (โลกาภิวัฒน์คือทำให้เป็นตะวันตก) และทำงานเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ปกป้องสังคมจากการขยายอาณานิคมทางปัญญา ปกป้องลูกหลานจากอิทธิพลไม่พึงประสงค์ของสื่อ เช่น ติดเกม เลียนแบบพฤติกรรมรุนแรง เป็นต้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ในฐานะที่เราเป็นนักบริหารสื่อสารมวลชนเราควรมีความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวข้างต้น และเข้าใจในเรื่องของ Myth theory

Myth theory หมายถึงมายาคติหรือความเชื่อซึ่งฟังรากซึ่งบางทีอาจจะไม่ใช่ความเชื่อที่ถูกต้องก็ได้ คือเราจะได้ไม่เชื่อทฤษฎีตะวันตกอย่างฝังหัว เช่น จะเลือกคนเข้าทำงานก็ต้องคนเก่งจบการศึกษาสูงๆเท่านั้น จริงๆมันไม่ใช่ทั้งหมด

ข้อมูลจากกลุ่มที่พรีเซนต์เรื่อง Reimagine

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ – ทฤษฎีจิตวิทยา มนุษย์ทุกคนล้วนมีความต้องการที่แฝงเร้นอยู่ภายในนอกเหนือจากความต้องการขั้นพื้นฐาน ในยุคจักรวรรดิแบบดั้งเดิม (ศต16-19) เดิมมีการล่าอาณานิคมโดยใช้กำลังทหาร การล่าอาณานิคมโดยใช้ศาสนา แต่ยุคจักรวรรดิใหม่ (ศต.20-ปัจจุบัน) เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ประเทศมหาอำนาจล่าอาณานิคมทางปัญญาด้วยการใช้สื่อครอบงำแนวคิดในยุคโลกาภิวัฒน์และสร้างสังคมอุดมคติเทียม เช่น เสียงข้างมากในการหาเงินทุนและทัศนะความคิดเห็น เปลี่ยนจาก gate keeper ไปเป็นเครื่องมือของนายทุน

สื่อกับบทบาทการล่าอาณานิคม สมัยฮิตเลอร์ใช้ภาพยนตร์ ตะวันตกใช้สื่อครอบงำความคิดวัฒนธรรม ธุรกิจสื่อสร้างกำไรและชื่อเสียงให้กับเจ้าของสื่อ สร้างความชอบธรรมให้กับประเทศมหาอำนาจในการต่อต้านการก่อการร้าย ครอบงำระบบสื่อสารของประเทศกำลังพัฒนาด้วยการรวมหุ้นถือหุ้นสื่อข้ามชาติ คนบริโภคมีวิถีชีวิตแบบตะวันตกใช้สินค้าฟุ่มเฟือย เพราะฉะนั้นเราควรจะมา Reimagine กันใหม่ ถ้าเรามองด้านดีทุนนิยมเสรีเอกชนถือครองทรัพย์สินได้มากเท่าที่สามารถจัดหามาได้ คัดกรองผู้ผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพออกจากตลาดและมีอิสระในการบริหารอย่างเต็มที่ ไม่มีการแทรกแซงจากรัฐบาล เป็นหลักการของยุคโลกาภิวัตน์ ด้านวัฒนธรรมวัฒนธรรมเกาหลีผ่านภาพยนตร์ เกิดการกระจายตัวทางการค้าช่วยดึงกระแสภาพยนตร์ในไทย ระบบเทคโนโลยีใหม่ๆช่วยให้การสื่อสารพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว แต่มองมุมกลับก็สร้างปัญหาลัทธิบริโภคนิยม การผลิตซ้ำทางสังคม ไม่ได้สร้างองค์กรเพื่อสังคมอย่างแท้จริง การจัดระเบียบโลกใหม่โดยไม่มองความต่างและความเหมาะสมในการนำประชาธิปไตยไปใช้ เมื่อประเทศมหาอำนาจที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ มีทุนการผลิตและผลิตเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปสู่ประเทศโลกที่สามซึ่งประเทศโลกที่สามรับเอาความทันสมัยเหล่านั้นไป โดยประเทศผู้ผลิตก็ได้กำไรและอำนาจทางเศรษฐกิจ

กลับมาที่ Myth theory ที่อาจารย์แนะมาคือ (ตามชาร์ตอาจารย์) เดิมคิดแต่จิตวิเคราะห์ของฟรอยด์และมีการผลิตซ้ำแพคแกตสำคัญกว่าของข้างในกลายเป็นทฤษฎีเชิงหลักการ เชิงลายลักษณ์อักษรและมุ่งผลกำไร ใช้ระบบดาราคัดคนเข้าทำงานสื่อ ใช้กฎเศรษฐศาสตร์ กฎการลดน้อยถอยลงของความสนใจ เช่น ศิลปิน Rain ต้องวางแผนสร้างกระแส คลั่งวัฒนธรรมเพลงป๊อป ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าที่เกี่ยวกับเรน สุดท้ายสิ่งที่เราในฐานะนักบริหารสื่อสารมวลชนควรคำนึงคือ Nature แล้วต้นทุนทางสังคม เราคงต้องคำนึงมากกว่านี้ เช่น จะเสนอข่าวชาติ กษัตริย์ ไม่ใช่เป็นอย่างทุกวันนี้  Nurture การเลี้ยงดู อิทธิพลของสื่อที่มีต่อเด็กของเรา Nutrition หรือตลาดที่คิดถึงแต่ C เครดิต คาร์ คอนโด คอนดอม คอนวีเนี่ยน โค้ก คลับ คอมมูนิเคชั่น เครซี่ เพราะฉะนั้นเราจะสร้าง นูทริชั่นสืบสานเอกลักษณ์ไทยอันดีงามในสังคมได้อย่างไรในสังคมยุคบริโภคนิยมยุคซีต่างๆเหล่านี้

หมายเลขบันทึก: 240124เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ ครับที่ได้ความรู้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท