การประกันคุณภาพการศึกษา


การตรวจสอบคุณภาพ

การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษา โดย เขตพื้นที่การศึกษา

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..๒๕๔๒ หมวด ๖ มาตรา ๔๗ นำไปสู่การออกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖  ที่กำหนดให้สถานศึกษาต้องมีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ด้วยกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วย ๘ ภารกิจหลัก ได้แก่

.  การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ

.  การพัฒนามาตรฐานการศึกษา

.  การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

.  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

.  การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา

.  การประเมินคุณภาพการศึกษา

.  การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี

.  การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

และเพื่อให้ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีความยั่งยืน ทำให้สถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา กฎกระทรวงยังกำหนดให้สำนักงาน  เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในทุก ๓ ปี   และรายงานผลให้สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดทราบ แนวคิดพื้นฐานของการตรวจสอบและ       ทบทวนคุณภาพการศึกษาโดยเขตพื้นที่การศึกษา มีประเด็นสำคัญ ๕ - ๖ ประการ คือ  ) เพื่อช่วยส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนางานสู่มาตรฐานคุณภาพการศึกษา   ) เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างยั่งยืน  ) เพื่อผลักดันให้สถานศึกษาแสดงความรับผิดชอบการจัดการศึกษาต่อสาธารณะ ด้วยการรายงานผลความสำเร็จและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานทุกปี  ) เพื่อให้เกิดการร่วมคิด       ร่วมทำงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา คณะกรรมการ         สถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง   ) เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งพร้อมรับการประเมินภายนอก  และ๖) เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษามีข้อมูล         สารสนเทศในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคตจากการวิเคราะห์จุดเด่นจุดควรพัฒนา และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

 สำหรับขอบข่ายและสาระสำคัญสำหรับการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของ      สถานศึกษา ตามเอกสารชุดการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาลำดับที่ ๗ (แนวทางการ   ตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยเขตพื้นที่การศึกษา) นำเสนอให้มีการ     ตรวจสอบและทบทวนเกี่ยวกับ   ) วิสัยทัศน์ และภารกิจของสถานศึกษา   ) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา            

) การเรียนการสอน (ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์และวิธีการสอน กระบวนการเรียนรู้  การตอบสนองของผู้เรียน)  ) การเรียนรู้  ความก้าวหน้า และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ผลงานของผู้เรียน ระบบการวัดและประเมินผล การสนับสนุนการเรียนรู้)  และ๕)  การบริหารและการจัดการ(ได้แก่ วิสัยทัศน์ และภารกิจ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โครงสร้างองค์กร และการพัฒนาวิชาชีพของบุคลากร) ขอบข่ายดังกล่าวนี้แท้จริงแล้วคือภารกิจของสถานศึกษาทั้งสิ้น     คณะตรวจสอบและทบทวนจะเข้าไปช่วยเติมเต็มให้กับสถานศึกษาในส่วนที่ยังเป็นปัญหา หรือมีข้อ       บกพร่องอยู่ นอกเหนือจากนี้แล้ว คณะตรวจสอบและทบทวน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ควรมีการประเมินคุณภาพสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (ซึ่งในอนาคตมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานเพื่อการประเมินภายนอกจะสอดรับเป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับมาตรฐานระดับเขตพื้นที่การศึกษา นั้น ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นแกนและเพิ่มส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นหรือความต้องการพิเศษ) เพื่อเป็นข้อมูลรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ และเพื่อให้          สถานศึกษาพร้อมรับการประเมินภายนอกได้อย่างมั่นใจ

ส่วนวิธีการที่คณะตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาจะดำเนินการนั้น ตามเอกสารชุดการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาลำดับที่ ๗ ได้เสนอแนวทางไว้ว่า ควรดำเนินการในรูปคณะกรรมการ ชุดละประมาณ ๖ - ๗ คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ  นักวิชาการศึกษาหรือ        ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือครูอาจารย์ และผู้แทนจากชุมชน (ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง     ได้ร่วมรับรู้ และเกิดมุมมองที่หลากหลายในการพัฒนา) โดยใช้เวลาดำเนินการ ๓ -  ๕ วัน นั้น ในสภาวะการณ์ปัจจุบันอาจไม่เหมาะด้วยข้อจำกัดหลายประการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา เช่น กำลังคนไม่พอ              หาผู้ทรงคุณวุฒิยาก งบประมาณจำกัด จำนวนสถานศึกษามีมากดำเนินการไม่ทันภายใน ๓ ปี และยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกนานาประการ ดังนั้น เขตพื้นที่การศึกษาอาจวางแผนการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาไปพร้อม ๆ กับการนิเทศติดตามหรือใช้เครือข่ายการนิเทศ ทั้งนี้ อาจใช้เวลาการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษา ภายในเวลา ๑ วัน ก็จะช่วยให้สถานศึกษาได้รับการช่วยเหลือชี้แนะจาก      เขตพื้นที่การศึกษาอย่างทั่วถึง สำหรับคณะกรรมการที่ดำเนินการตรวจสอบและทบทวน นั้น หากสามารถ   เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ผู้นำชุมชน มาร่วมดำเนินการได้ก็จะเกิดประโยชน์กับสถานศึกษาอย่างสูง อย่างไรก็ตามการจะดำเนินการอย่างไรนั้น  ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาตามความพร้อม และบริบทของเขตพื้นที่นั้น ๆ หลักการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ         สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาสังเคราะห์ สรุปผล และรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา     ขั้นพื้นฐานทราบเพื่อนำผลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระดับประเทศต่อไป

 

                                                                                               สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สพฐ.

หมายเลขบันทึก: 239922เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2009 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท