สื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ


สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ   

หลักการโดยทั่วไปในการสร้างสื่อ/นวัตกรรม ที่มีคุณภาพ

1.    ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับสื่อ/ นวัตกรรมประเภทนั้น ๆ

2.    วิเคราะห์เนื้อหา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่จะนำมาสร้างสื่อ/นวัตกรรม อย่าเป็นระบบ/เป็นหมวดหมู่

3.    ลงมือสร้างหรือผลิตสื่อ/นวัตกรรม ตามหลักการในข้อ 1

4.    หาคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสื่อ/นวัตกรรม จากผู้เชี่ยวชาญ และสื่อ/นวัตกรรมบางประเภทต้องการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจริง

5.    ปรับปรุงคุณภาพหรือพัฒนาคุณภาพของสื่อ/นวัตกรรม

สื่อ/นวัตกรรมบางประเภทอาจมีขั้นตอนรายละเอียดที่แตกต่างกันไปบ้าง

 

ตัวอย่าง แนวทางการสร้าง สื่อ/ นวัตกรรมแต่ละประเภท ดังนี้

ตัวอย่าง การสร้างสื่อ/นวัตกรรม แบบฝึกทักษะการอ่านคำควบกล้ำ

1.    ศึกษาเทคนิควิธีการการสร้างแบบฝึกจากเอกสารต่าง ๆ

2.    กำหนดกรอบแนวคิด เช่น สร้างแบบฝึกการอ่านคำควบกล้ำ เรื่องอักษร ล,ร,ว

3.    สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ร,ล,ว คำละ 3 แบบฝึก

4.    หาคุณภาพของแบบฝึก

5.    ปรับปรุงแก้ไข

 

ตัวอย่าง การสร้างสื่อ/นวัตกรรม วิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1.    ศึกษาเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบแบบร่วมมือ

2.    ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

3.    กำหนดกรอบแนวคิด เช่น

การเรียนแบบร่วมมือ ใช้วิธีอะไรบ้าง เช่น เทคนิค Jigsaw เทคนิค STAD เทคนิค TGT เป็นต้น

4.    เลือกเทคนิคที่จะใช้ ลงมือสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของเทคนิคที่กำหนด

5.    หาคุณภาพของรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ จากผู้เชี่ยวชาญและทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

6.    ปรับปรุงแก้ไข

 

ตัวอย่างการสร้างสื่อ/นวัตกรรม วิธีการใช้คำถาม 7 แบบกับการเรียนเรื่องจังหวัดของเรา

1.    ศึกษาเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมโดยใช้คำถาม 7 แบบ (ซึ่งใช้ได้ดีในวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา)

คำถามที่  1 คำถามปริมาณ

คำถามที่  2 คำถามการเปลี่ยนแปลง

คำถามที่  3 คำถามการทำนาย

คำถามที่  4 คำถามคามคิดเห็น

คำถามที่  5 คำถามเกี่ยวกับส่วนตัว

คำถามที่  6 คำถามความสัมพันธ์เปรียบเทียบ

คำถามที่ 7  คำถามเกี่ยวกับค่านิยม

2.    กำหนดกรอบแนวคิด เช่น เรื่องจังหวัดของเรา

3.    เลือกเทคนิคที่จะใช้ได้แล้ว ลงมือสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถาม 7 แบบ

4.    หาคุณภาพของวิธีการใช้คำถาม 7 แบบ

5.    ปรับปรุงแก้ไข

 

เอกสารอ้างอิง

 

คู่มือดำเนินการพัฒนา หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการ

กระจายอำนาจ สำหรับครูและศึกษานิเทศก์. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์

และบุคลากรทางการศึกษา. 2550

 

หมายเลขบันทึก: 239803เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2009 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท