อาหารนอกบ้าน(2)


ช่วยกันทำให้อาหารปลอดภัย

สิ่งที่ได้เรียนรู้อาหารถุงที่ผ่านมา มีการปรับปรุง โดยนำผู้ขายมาอบรม เรื่องสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย การแต่งงกาย บุคลิกภาพ การพูด การต้อนรับ ทุกเรื่องที่เป็นปัญหา เจ้าหน้าที่และชมรมอาหารไปเยี่ยมถึงบ้างแนะนำ แนวทางการจัด เมื่อมีปัญหา อาหารบูด ไปคิดวิธีการเตรียมการปรุงใหม่ ทำให้ปัญหาที่เคยเกิดไม่มีมาหลายปี  แต่นี่คืออำเภอหนึ่งเท่านั้น

เมื่อออกไปต่างอำเภอ ถ้าเจ้าหน้าที่ใส่ใจ มีชมรมที่เข้มแข็ง ผู้ขายร่วมมือ ผู้บริโภคคอยสอดส่องก็จะเกิดผลดี ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน อปท ในพื้นที่ต้องร่วมใจกัน สนับสนุนผู้ขายในพื้นที่ ใครทำดีเข้าเกณฑ์มาตรฐานมอบป้ายรับรองสนับสนุนเวลามีกิจกรรมไม่ใช่ไปซื้อนอกพื้นที่  โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่นแม่บ้านทำอาหารวัด หรืองานเลี้ยงในหมู่บ้าน ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐาน มีใบประกาศรับรอง โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก ถ้าจะรับคนมาทำอาหารให้เด็กหรือขาย ต้องมีใบประกาศรับรอง  ทำแบบนี้ อปท ตื่นตัวเพราะทำให้เด็กในพื้นที่ปลอดภัย  เวียงสา ทำแล้วได้ผล100% ขยายผลไปต่างอำเภอ ไม่ใช่ใครอยากมาขายก็ขายได้ ญาติใกล้ชิด เมียภารโรง ญาติผอ. ญาติ อบต  ต้องทำกติกา

ต่างจังหวัดบางแห่งหรือกรุงเทพ ผู้ขายเตรียมอาหารที่บ้านนำไปขายตลาด เจ้าหน้าที่ไม่รู้จักหรือไม่ได้เข้าไปตรวจที่ผลิต นี่คือปัญหา เพราะโทษเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ ผู้ขายเยอะมาก จะควบคุมอย่างไร ให้มีความปลอดภัย ตลาดบางขุนศรี บางขุนนนท์ กรุงเทพ อาหารที่ขาย มีสถานที่เตรียมปรุง ที่สะอาด เจ้าของตลาดจัดให้ทำเป็นสัดส่วน ทำเสร็จใส่รถเข็นที่ปิดมิดชิดโต๊ะขายเป็นแสตนเลส

การขับเคลื่อนให้เกิด อาหารปลอดภัย ถ้าร่วมใจ 3 ประสาน ระหว่าง  รัฐ+ประชาชน(ผู้บริโภค)+ อปท  ความสำเร็จย่อมเกิด

คำสำคัญ (Tags): #อาหาร
หมายเลขบันทึก: 239533เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2009 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท