นวัตกรรมหลักสูตร


ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น
เนื่องจากอำเภอพิมายมีโบราณสถาน วัตถุโบราณ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่น่ารื่นรมย์ เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะเยาวชนจึงน่าจะมีความรู้ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นของดีในห้องถิ่นของตนอย่างถูกต้องและลึกซึ้ง เพื่อประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ผู้ท่องเที่ยวสนใจมาเที่ยวมากขึ้น เหมาะสมกับเป็นปีแห่งการรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร
โดยศึกษาเอกสารหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)โดยเฉพาะส่วนของกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ถึงเนื่อหาเวลาเรียนที่หลักสูตรกำหนดจำนวน 750 คาบ/ปี หน่วยที่ 4 จำนวน 180 คาบ และแยกย่อยให้หน่วยย่อยที่ 4 มีเวลาเรียน21 คาบ โดยกำหนดเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะของนักเรียนที่เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนศึกษาคู่มือใช้หลักสูตรประถมศึกษาและคู่มือการประเมินผลการเรียน เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการสอนแก่ผู้ใช้หลักสูตรนี้

ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาแนวคิด และรูปแบบในการพัฒนาการใช้หลักสูตร
ศึกษาแนวคิด และรูปแบบในการพัฒนาการใช้หลักสูตร จากเอกสารการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยปรับและเพิ่มเติมรายละเอียดของเนื้อหาจากหัวข้อที่กำหนด มีคำอธิบายหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น โดยไม่ทำให้จุดประสงค์คาบเวลา เปลี่ยนแปลงไปจากที่หลักสูตรกำหนด

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดจุดประสงค์ชองเนื้อหาหลักสูตร
ดำเนินการยกร่างหลักสูตร โครงสร้าง เนื้อหา เวลาเรียน การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อดำเนินการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ขั้นตอนที่ 5 กำหนดจุดประสงค์ของเนื้อหาหลักสูตร
เมื่อครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวดำเนินการและแผนการสอนที่จัดทำให้แล้ว นักเรียนจะมีความรู้ ความสามารถตลอดจนทักษะที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขั้นตอนที่ 6 เขียนแผนการสอน
เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีสอนเน้นการปฏิบัติจริง โดยการอภิปราย จัดป้ายนิเทศ ทัศนศึกษา สาธิต เป็นมัคคุเทศก์นำชมสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอพิมายในภาคปฏิบัติ สื่อการสอนใช้ของจริงให้มากที่สุด

ขั้นตอนที่ 7 จัดทำเอกสารประกอบการใช้หลักสูตร
ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่ 1 หลักสูตร ส่วนที่2 แผนการสอน ส่วนที่ 3 ความรู้สำหรับครูผู้สอน

ขั้นตอนที่ 8 ทดลองใช้หลังสูตร
หลักสูตรที่จัดทำนำไปใช้ในโรงเรียนนำร่อง 3 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพิมาย คือโรงเรียนสุริยาอุทัย โรงเรียนกุลโน และโรงเรียนท้าวสุนารี (ระดมอนุสรณ์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5-6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541

ขั้นตอนที่ 9 ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพิมาย จะติดตามและประเมิณผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของพิมายจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง เกี่ยวกับความพึงพอใจ ความเหมาะสมของเนื้อหา วิธีสอนและการประเมินผล เมื่อใช้หลักสูตรท้องถิ่น 1 ปีการศึกษาแล้วนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขในหลักสูตรที่จัดทำให้สมบูรณ์ขึ้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 10 สรุปผลการดำเนินการ
เมื่อดำเนินการทำหลักสูตรเสร็จเป็นรูปเล่ม และนำไปใช้ได้ผลอย่างไร ต้องเก็บข้อมูลสรุปการดำเนินการรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 239348เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2009 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท