cooperative


cooperative

  

 

2.  กิจกรรมโต๊ะกลม (Roundtable หรือ   Round  Robin)  เป็นรูปแบบการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนที่มีจำนวนมากกว่า  2  คนทั่วไป  และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนในกลุ่มเล่าหรือเขียนความคิดเห็นของตน  เล่าประสบการณ์  ความรู้  สิ่งที่ตนกำลังศึกษาหรือสิ่งที่กำหนดให้โดยเวียน  ไปทางด้านใดด้านหนึ่งจนครบทุกคน

3.  คู่ตรวจสอบ  (Pairs  Check)  มุมสนทนา  (Corners)  ร่วมกันคิด  (Numbered  Heads  Together)  เป็นรูปแบบการสอนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยๆ  กลุ่มละ  4-6  คน  โดยผู้เรียนในแต่ละกลุ่มต้องคละเพศ  และความสามารถให้ช่วยกันตอบคำถาม  แก้โจทย์ปัญหา  หรือทำแบบฝึกหัด  เมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มย่อยสามารถตอบปัญหาหรือแก้โจทย์ปัญหาได้แล้ว  ก็เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนหรือตรวจสอบคำตอบกับผู้เรียนในกลุ่มอื่น  หรือครูผู้สอนอาจสุ่มเรียนให้ตอบ

4.  การสัมภาษณ์แบบสามขั้นตอน  (Three – Step Interview)  เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มย่อยที่มีสมาชิก  จำนวน  3-4  คน  โดยขั้นตอนดังนี้

                4.1  ผู้เรียนจับกลุ่มกัน  ในกรณีที่มีกลุ่มมีสมาชิก  3  คน  ให้ผู้เรียนคนที่  1  เป็นผู้สัมภาษณ์  โดยถามคำถามที่ครูผู้สอนตั้งหรือผู้เรียนเป็นผู้ตั้งเอง  ผู้เรียนคนที่  2  เป็นผู้ตอบ  และผู้เรียนคนที่ 3  เป็นผู้จดประเด็นอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็น  ในกรณีที่กลุ่มมีสมาชิก 4  คน  ให้สมาชิกภายในกลุ่มจับคู่กันเป็น 2 คู่  โดยมีการสัมภาษณ์และคำตอบไปพร้อมๆ กันทั้ง 2 คู่  ผู้เรียนคนที่เป็นผู้ตั้งคำถาม  จะเป็นผู้จดประเด็นอภิปรายหรือความคิดเห็นในขณะที่ผู้เรียนอีกคนหนึ่งตอบ

                4.2  หลังจากการสัมภาษณ์หรืออภิปรายตามหัวข้อจบลงเรื่องหนึ่ง  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มย่อยจะสลับบทบาทกันในการสัมภาษณ์หรือสนทนาหัวข้ออื่นๆ

                4.3  เมื่อการสัมภาษณ์หรืออภิปรายครบทุกหัวข้อแล้ว  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มย่อยผลัดกันเล่าสิ่งที่ตนได้รู้ให้กลุ่มทราบ

                5.  เทคนิค STAD (Student Teams  Achievement Divisions) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สมาชิกในกลุ่ม 4 คน  มีระดับสติปัญญาต่างกัน เช่น เก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน อ่อน 1 คน  ครูผู้สอนกำหนดบทเรียนและการทำงานกลุ่ม  แล้วจึงสอนบทเรียนให้ผู้เรียนทั้งชั้นจากนั้นให้กลุ่มทำงานตามที่กำหนด  ผู้เรียนกลุ่มช่วยเหลือกัน  เด็กเก่งช่วยการตรวจงานของเพื่อนให้ถูกต้องก่อนนำส่งครูผู้สอน  การสอบต่างคนต่างทำข้อสอบ  แล้วเอาคะแนนของทุกคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม  ผู้สอนจัดลำดับคะแนนของกลุ่มแล้วปิดประกาศให้ทุกคนทราบ

                6.  เทคนิค  TGT (Team-Games Tournament) จัดกลุ่มเช่นเดียวกับ STAD แต่ไม่มีการสอบทุกสัปดาห์  แต่ละทีมที่มีความสามารถเท่าเทียมกันจะแข่งขันกันตอบปัญหามีการจัดกลุ่มใหม่ทุกสัปดาห์  โดยพิจารณาจากความสามารถของแต่ละบุคคล

                7.  เทคนิค TAI (Team-Assisted Individualization) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สมาชิกของกลุ่ม 4 คน  มีระดับความรู้ต่างกัน  ครูผู้สอนเรียนที่มีความรู้เดียวกันของแต่ละกลุ่มมารสอน ความยากง่ายของเนื้อหาที่สอนแตกต่าง  ทุกคนสอบโดยไม่มีการช่วยเหลือกันมีการให้รางวัลทีมที่ทำคะแนนได้ดีกว่าเดิม

                8.  เทคนิค CIRC (Cooperative-Integratrd Reading and Composition)  ใช้สำหรับการอ่าน  เขียน  และทักษะอื่นๆ ทางภาษา  สมาชิกในกลุ่ม 4 คน  มีความรู้เท่ากันจากกลุ่มมาสอน  ให้กลับเข้ากลุ่มเรียกคู่ถัดไปจากทุกกลุ่มมาสอน คะแนนของกลุ่มพิจารณาจากคะแนนสอบของสมาชิกกลุ่มเป็นรายบุคคล

                9.  เทคนิค Jigsaw  เป็นกิจกรรมที่ครูผู้สอนนมอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้  สมาชิกแต่ละคนจะถูกกำหนดโดยกลุ่มให้ศึกษาเนื้อหาคนละตอนที่แตกต่างกัน  ผู้เรียนจะไปทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับหมายให้ศึกษาเนื้อหาที่เหมือนกันหลังจากที่ทุกคนศึกษาเนื้อหานั้นจนเข้าใจแล้ว  จึงกลับเข้ากลุ่มเดิม  แล้วเล่าเรื่องที่ตนศึกษาให้สมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มฟัง  โดยเรียงตามลำดับเรื่องราว  เสร็จแล้วให้สมาชิกในกลุ่มคนใดคนหนึ่งสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน  ครูผู้สอนอาจเตรียมข้อสอบเกี่ยวกับบทเรียนนั้นไว้ทดสอบความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในช่วงสุดท้ายของการเรียน

                รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่กล่าวข้างต้น  สามารถจัดได้หลากหลาย  แต่ทุกรูปแบบมีลักษณะที่สำคัญร่วมมือ  คือ  การจัดแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยๆ  ประมาณ 2-6 คน  โดยสมาชิกทุกคนช่วยเหลือกัน  มีการฝึกฝนการทำงานกลุ่ม  กระบวนการกลุ่ม  และการประเมินผลเป็นรายบุคคล  ซึ่งแต่รูปแบบครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับระดับชั้นเรียนความสามารถของผู้เรียน  ตลอดจนเนื้อหาอันจะเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน  นอกจากนี้ จากการ

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #cooperative
หมายเลขบันทึก: 239148เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท