นวัตกรรมการเรียนการสอน


นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน

                ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  นั้น  คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

 

ความหมาย

                   คำจำกัดความของคำว่า   นวัตกรรมทางการศึกษา   จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ  หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม    โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย

 

ความสำคัญ

                         ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา   ก็คือ   สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้   ดังนี้

1.    เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน  เช่น 

1.1  ปัญหาเรื่องวิธีการสอน   ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ  คือ  ครูส่วนใหญ่ยังคง

ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย    โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น    การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย   เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย   ขาดความสนใจแล้ว    ยังเป็นการปิดกั้นความคิด   และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย

1.2   ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา   บางวิชาเนื้อหามาก    และบางวิชามีเนื้อหาเป็น

นามธรรมยากแก่การเข้าใจ    จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย

1.3  ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน   บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย

ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้    เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน   และผลิตสื่อการสอนใหม่    เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้

                   2.   เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน   ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา    โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ  ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู อาจารย์ท่านอื่น ๆ  หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน   ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

 

ขั้นตอน

                   1.  ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน   จะต้องมีการ

1.1  กำหนดรูปแบบของผลงาน

1.2  กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

1.3  กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา

2.    ขั้นตอนการจัดทำผลงาน

2.1  นำหลักสูตร   เนื้อหา   และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักในการจัด

2.2   กำหนดโครงสร้างของผลงาน   (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะจัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง)

3.    ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้   เช่น

3.1  ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง

3.2  ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้    เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน    ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด

3.3  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น   ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน

4.    ขั้นนำผลงานไปใช้  

-        ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน

5.    ผลของการนำไปใช้

-        อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น   สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือนำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง

6.    ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ

-   เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น   มีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่   เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา

ขั้นตอนนี้    ควรอธิบายโดยละเอียดว่า    ได้มีการเผยแพร่ที่ใด    หรือใน

ลักษณะใดบ้าง  โดยอาจแบ่งประเภทให้เห็นชัดเจนว่า

-        การเผยแพร่ในโรงเรียน

-        การเผยแพร่แก่สาธารณะในวงการศึกษา

 

รูปแบบนวัตกรรม

                   นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ   เช่น

-        แผนการสอน

-        ชุดการสอน

-        คู่มือครู

-        บทเรียนสำเร็จรูป

-        สไลด์

-        ใบความรู้                           ทุกรูปแบบต้องมีคู่มือในการใช้สื่อด้วย

-        สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

-        เกม

-        ฯลฯ

 

เทคนิคในการจัดทำ

1.    ในการผลิตสื่อการสอน    ควรเน้นในเรื่องความประหยัดและให้เกิด

ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน  (ทำจริง ใช้จริง มีประโยชน์ต่อนักเรียนจริง)

2.    ต้องมีคู่มือในการใช้สื่อและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถให้รายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ

-        จุดประสงค์ในการสร้างสื่อ

-        วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย

-        รูปแบบที่ต้นแบบ

-        วิธีการทำ / ผลิต / ประดิษฐ์

-        การทดลองใช้ / การปรับปรุงแก้ไข

-        ประโยชน์ / การนำไปใช้

-        คุณภาพ / ประสิทธิภาพ /

-        หลักฐานการนำไปใช้

อ้างอิง : สมเดช  สีแสง และคณะ. 2543.ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. นครสวรรค์ : ริมปิง

 

นวัตกรรมการเรียนการสอน

หัวข้อที่ 1 ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน

หัวข้อที่ 2 องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนการสอน

หัวข้อที่ 3 ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน

หัวข้อที่ 4 การประเมินนวัตกรรมการเรียนการสอน

หัวข้อที่ 5 การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนให้ได้ผล

ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่คนเราต้องคิด

ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต

สิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของ อาจเป็นแนวคิดหรือ

วิธีการก็ได้ ในโรงเรียนทั่วไปได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพ

การเรียนการสอน งานวิจัยส่วนหนึ่งได้นำเอานวัตกรรมไปทดลองใช้ในชั้นเรียน และพบว่าได้ผลเป็นที่พอใจ จึง

ทำการเผยแพร่และใช้ในวงกว้างต่อมา เช่น ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ และรูปแบบการสอนต่างๆ

ภาพที่ 6.1 ผู้เรียนกำลังศึกษาด้วยตนเองจากคอมพิวเตอร์

หัวข้อที่ 1. ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation) คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียน

การสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นวัตกรรมที่นำมาใช้อาจมีผู้คิดขึ้นก่อนแล้ว หรือคิดขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์

นวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรืออาจมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียน

คอมพิวเตอร์ และชุดการสอน เป็นต้น

หัวข้อที่ 2. องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการได้แก่

2.1 วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้

คืออะไร

2.2 ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิด เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมนั้นมีความน่าเชื่อถือว่าเมื่อนำไปใช้จ

จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และถ้าทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดนั้น มีงานวิจัยรองรับ ก็ยิ่งทำให้

มั่นใจในความสำเร็จ

2.3 โครงสร้าง หรือขั้นตอนการใช้ เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรม ถ้านวัตกรรมเป็นสื่อ

การเรียนการสอน ก็จะแสดงโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่นชุดการสอน ประกอบด้วย ซองกิจกรรม

ประจำศูนย์ แต่ละซองบรรจุบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำถาม และบัตรเฉลย อาจมีรูปภาพ

แผนภูมิ และของจริง นอกจากนี้ยังมีคู่มือครู ข้อทดสอบก่อนหลังการเรียน แผ่นฝึกปฏิบัติ และหาก

นวัตกรรมเป็นรูปแบบการสอนจะเป็นคำอธิบายการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นเตรียม

การ ขั้นดำเนินการสอน และขั้นกิจกรรมภายหลังการสอน รวมทั้งคำแนะนำในการใช้นวัตกรรม

2.4 การประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม ประกอบด้วยวิธีวัดผล เครื่อง

มือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผล

หัวข้อที่ 3. ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน

เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ

(Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุง

หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน ดังนั้นจึงสามารถจัดประเภทของนวัตกรรมการเรียนการ

สอนให้สอดคล้องกับ ระบบการเรียนการสอนเป็น 4 ประเภทดังนี้

หมายเลขบันทึก: 239105เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท