นวัตกรรมการบริหาร


หลักธรรมาภิบาล ประชาชนมีส่วนร่วมการบริหารจัดการ

นวัตกรรมการบริหาร : การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา

 

                    ผู้บริหารสถานศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษาให้บรรลุผลมาตรฐานการศึกษาชาติ ผลลัพท์ผู้เรียนมีคุณภาพเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะชน ผู้ร่วมงานมีความสุขที่ได้ร่วมงานกับผู้บริหาร การบริหารงานของรัฐทั้งภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา  มีความเปลี่ยนแปลงไปมากและเป็นไปอย่างรวดเร็ว กว้างขวางสืบเนื่องมาจาก ความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารเทคโนโลยี การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วสู่ประชาชน  ดังนั้นผู้บริหารควรมีหลักยึดเป็นแนวทางในการบริหาร   จึงขอเสนอนวัตกรรมการบริหารให้กับผู้บริหาร โดยการนำหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี หรือ หลักธรรมาภิบาล(Good Governance) มาประยุกต์ใช้ เพราะ หลักธรรมาภิบาล เป็นการบริหารที่สามารถตรวจสอบได้ มีประสิทธิผล และเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม การบริหารจัดการ ทั้งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ต้องยึดถือหลักการ 6 หลักการ ได้แก่

                   1. หลักนิติกรรม คือ มีระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับต่างๆทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม แต่ละคน ผู้บริหารต้องยึดหลักทั้งนิติธรรมและหลักรัฐศาสาตร์ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ทุกคนมีความสุข

                   2.หลักคุณธรรม  คือ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม  ผู้บริหารต้องปฏิบัติตนปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ร่วมงานภายในสถานศึกษาและสาธารณะสังคม เมื่อผู้บริหารปฏิบัติตนเป็นที่ยอมรับและผู้ร่วมงานมีความศัทธา การบริหารงานในสถานศึกษาจะประสบความสำเร็จผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษา

                  3. หลักความโปร่งใส คือ การสร้างความเข้าใจความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในสถานศึกษา  ปรับปรุงการทำงานของสถานศึกษาให้มีความโปร่งใส ไม่เป็นที่เคลือบแคลงแก่ผู้ร่วมงาน มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา จะทำให้ผู้คนภายในองค์กรหรือสถานศึกษาหมดข้อสงสัย และมีเจตคติที่ดีพร้อมจะร่วมมืออย่างเต็มความสามารถ

                  4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การเปิดโอกาส ให้ผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา       มีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความคิดเห็นร่วมในการตัดสินใจ

                 5. หลักความรับผิดชอบ คือ ความตระหนักในสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานต้นสังกัด มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่ มีจิตสาธารณะ เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลการกระทำของตน

                   6. หลักความคุ้มค่า คือ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน โดยการรณรงค์ให้ทุกคนในสถานศึกษามีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่าและสร้างสรรค์

                    นอกจากหลักธรรมาภิบาลที่ผู้บริหารต้องยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติแล้ว  ผู้บริหารควรมีหลักธรรมด้วยที่จะแนะนำและสามารถปฏิบัติได้ คือ ศีล 5 อันเป็นหลักธรรมปฏิบัติในชีวิตประจำวันของคนไทยอยู่แล้ว หากผู้บริหารสามารถปฏิบัติได้เป็นกิจวัตรจะสร้างความศรัทธาให้กับผู้ร่วมงานได้ การนำนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลจึงเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำไปใช้

 

ธรรมาภิบาล"
ปาฐกถาธรรมของ หลวงป๋า หรือ พระราชญาณวิสิฐ วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
http://www.kpt1.obec.go.th/n_per/news/nitikorn/law_4.doc

 

 

หมายเลขบันทึก: 239087เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2009 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเนื้อหากระทู้ของคุณสมถะหรือปราชญ์ขยะ
ที่ได้ถามตอบเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในพระพุทธศาสนา และสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายในเวปบอร์ดต่างๆ
นำมาจัดเก็บไว้ ณ ที่นี้ เพื่อให้ผู้สนใจสะดวกในการติดตามอ่านและความทำความเข้าใจได้สมบูรณ์ที่สุด

 

ห้องสนทนา ถามตอบปัญหาพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกาย http://forums.212cafe.com/samatha/board-8/list.html

สถานที่ใดต้องการให้คณะวิทยากรไปช่วยสอนหรือฝึกสมาธิเรายินดีไปฝึกให้ฟรี  ติดต่อในห้องสนทนาของเวปได้เลยครับ... http://forums.212cafe.com/samatha/board-4/list.html

จึงขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจติดตามอ่านและพูดคุยสนทนาธรรมกันได้ที่  http://khunsamatha.com/

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท