สาระที่ได้จากการเรียน


เรียน KM ได้KM ที่มากขึ้น

อาจารย์วิบูลย์  แซ่จุง  :  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง KM

วิชา  :  การวิเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการความรู้ในองค์กร (System Analysis and Design for

           Knowledge Management in Organization)          โดย นางสาวกฤษณา  โสดาศรี  รหัส 51935880003

 

1.        ความหมายของ KM  คือการจัดการความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวเอง และที่อยู่ภายนอก

2.        เรียน KM แล้วได้อะไร  : ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง   องค์กร  ทำให้สามารถนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

3.        เครื่องมือ KM :  การระดมสมอง  มีวิธีดังนี้

3.1      กำหนดประเด็นที่ต้องการหารือ

3.2      ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเขียนประเด็นต่างๆ ตามที่ตนเองเห็นว่ามีความสำคัญสำหรับหัวข้อนั้น ๆ

3.3      ให้ทุกคนนำประเด็นที่เขียนมา แบ่งแยกตามกลุ่มต่างๆ ตามความเหมาะสม

3.4      จากนั้นผู้รู้หรือผู้ที่มีความชำนาญ  มาจัดแยกกลุ่มเหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง

3.5      เขียนประเด็นต่าง ๆที่แบ่งกลุ่มแล้ว ขึ้นบนบอร์ด โดยจัดเรียงหัวข้อไปตามลำดับ โดยไม่ต้องให้ความสำคัญกับแต่ละหัวข้อว่าข้อไหนสำคัญกว่า  ให้ใส่ลำดับไปได้เลย  เพราะหากเราจัดลำดับจะทำให้เกิดอคติ  ดังนั้นหัวข้อไหนแสดงออกมาก่อนให้เขียนไปเลย มีข้อคิดเห็นว่าหัวข้อที่นำมาหารือ ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป จะทำให้เสียเวลา

3.6      เขียนตัวเลขที่จัดลำดับแล้ว  เป็นวงกลมให้ครบตามหัวข้อ

3.7      แล้วเริ่มต้นด้วยการพิจารณาว่าข้อ 1 มีผลต่อข้อ 2 อย่างไร  ถ้าข้อ1 เป็นเหตุให้เกิดข้อ 2 ลูกศรจะพุ่งไปที่ข้อ 2  แต่ถ้าข้อ 1 เป็นผลให้เกิดข้อ 2 ลูกศรจะพุ่งจากข้อ 2 มาหาข้อ 1 จากนั้นพิจารณาต่อว่า ข้อ 1 สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 3 ทำเหมือนตอนแรก ว่าลูกศรจะพุ่งไปทางใด และพิจารณาว่า ข้อ 1 สัมพันธ์กับข้อ 4 อย่างไร  ข้อ 1 สัมพันธ์กับข้อ 5 อย่างไร  สัมพันธ์กับข้อ 6 อย่างไร ไปเรื่อย ๆ จนถึงข้อ 10

3.8      พิจารณาขั้นต่อไปโดยพิจารณาว่า ข้อ 2 สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 3  สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 4 ข้อ 5  ข้อ 6  จนถึงข้อ 10

3.9      พิจารณาข้อ 3  สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6  ข้อ 7  จนถึงข้อ 10

3.10  พิจารณาข้อ 4 สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 5  ข้อ 6  ข้อ 7  จนถึงข้อ 10

3.11  พิจารณาข้อ 5  สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 6  ข้อ 7  ข้อ 8  จนถึงข้อ 10

3.12  พิจารณาข้อ 6 สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 7 ข้อ 8  จนถึงข้อ 10

3.13  พิจารณาข้อ 7 สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 8  ข้อ 9  จนถึงข้อ 10

3.14  พิจารณาข้อ  8 สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 9  จนถึงข้อ 10     

3.15  พิจารณาข้อ 9  สัมพันธ์อย่างไรกับข้อ 10   ตามรูปแบบด้านล่าง

                (หากข้อใดไม่สัมพันธ์กันก็ไม่ต้องลากลูกศร) 

                                        

4.        จากนั้นสร้างตารางโดยลำดับหัวข้อ 1 – 10  จากที่ได้พิจารณามาแล้วในเบื้องต้น และนับว่าลูกศรพุ่งเข้าจำนวนเท่าใด  และพุ่งออกมีจำนวนเท่าใด แบ่งใส่ตามตารางให้ถูกต้อง และนับรวมจำนวนสรุปไว้ด้านล่าง โดยให้ส่วนที่ลูกศรชี้ออกคือช่องเหตุ  และช่องที่ลูกศรชี้เข้าคือช่องที่เป็นผล (ตามรูปด้านล่าง)

5.        พิจารณาว่าในแต่ละหัวข้อ ข้อใดที่ช่องที่เป็นเหตุมากที่สุดใส่เป็นลำดับ 1 และรองลงไปตามลำดับจนครบ 

6.        พิจารณาว่าในแต่ละข้อ ข้อใดที่ช่องที่เป็นผลมีจำนวนน้อยที่สุด ใส่เป็นลำดับ 1 และไล่ลำดับขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ  (ตามภาพลูกศรที่แสดงให้เห็นด้านล่าง)

7.        หากข้อใดมีจำนวนตัวเลขเท่ากัน เช่นในข้อที่  6 และ 7  ในช่องเหตุมีจำนวน 3 เท่ากัน ให้พิจารณาดังนี้  คือ

7.1      ช่องที่เป็นเหตุมีจำนวน 3 เหมือนกัน แต่ช่องที่เป็นผลมีจำนวนต่างกัน  ให้เลือกข้อที่ ผลมีตัวเลขน้อยกว่า คือลำดับที่ 7  นั้นหมายความว่า  สาเหตุนั้นก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่าข้อ 6 ที่สาเหตุนั้นก่อให้เกิดผลกระทบมากกว่า

 

          

                จากนั้นสรุปตัวเลขออกมาว่า  เหตุและผลอย่างไหนมากกว่ากัน  เราก็สามารถสรุปได้ว่า  ช่องที่เป็นผลมักจะมีตัวเลขรวมมากกว่า  เพราะนั้นหมายความว่า  เรามักชอบแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ให้เราพิจารณาให้ได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริง  และให้พิจารณาว่าลำดับของข้อใดทางช่องเหตุ  มีตัวเลขสูงมากให้เรียงลำดับเป็นอันดับ 1 จากภาพคือข้อ 4  ที่มีจำนวนเท่ากับ 7  เราก็จะแก้ปัญหาในข้อนั้นก่อน แต่ถ้าเราพิจารณาทางช่องผล  ต้องพิจารณาตัวเลขที่น้อยที่สุดที่เราจะต้องแก้ จากภาพคือข้อ 7 เพราะนั่นคือถ้าอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดผลน้อยที่สุดเราก็ต้องเริ่มพิจารณาในส่วนนั้นก่อน  เพราะจะทำให้ไม่เกิดการสูญเสียเกิดขึ้น 

          การนับตัวเลขดังกล่าวเป็นการสมมติขึ้นเท่านั้น  ไม่ได้นับตามความเป็นจริง เนื่องจากต้องการยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

                4.   ขั้นตอนของกระบวนการคิด  มีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอน  ซึ่งจะมีจุดเริ่มที่ข้อ 1 ไปหาข้อ 2 และ 3 ตามลำดับ  เมื่อถึงข้อ 5  จะเริ่มไปหาที่ข้อ 1  โดยแต่ละขั้นตอนประกอบด้วย (ตามรูปภาพข้างล่าง)

                                4.1   การเรียนรู้

                                4.2   การคิดและวิเคราะห์

                                4.3   การดำเนินการ

                                4.4   การสื่อสาร

                                4.5   การประเมินผล

                ดังนั้นการคิดจะมีขั้นตอน 5 ขั้นตามที่กล่าวแล้ว  จะทำให้ทุกคนมีกรอบและแนวทางในการทำงานได้อย่างมีทิศทางและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

     5.       การคิดแบบกลยุทธ์  (Strategic Thinking) เป็นแนวคิดที่น่าสนใจและสามารถนำไปต่อยอดแนวความคิดได้หลากหลาย และเป็นรูปธรรม ซึ่งอาจารย์แนะนำในชั้นเรียนมีอยู่ 6 แนวคิดคือ

5.1      ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)

ความคิดในมุมองขององค์รวม หรือ Holistic Thinking และ ความคิดในเชิงบริบท

(Context Thinking) นี้ เป็นแนวความคิดเพื่อตอบโจทย์ในเหตุการณ์ต่างๆ อย่าง   

รอบคอบ หรือ หาแนวความคิดให้ครบ เช่น การเดินหมากรุกแต่ละครั้ง ก็ต้องคิดไป

ถึงการเดินต่อไปของฝั่งตรงข้ามอีกหลายช๊อตว่าเขาจะเดินได้อย่างไรบ้าง และ เขา

กำลังต้องการทำอะไร หรือ แม้นแต่การศึกสงครามที่ใช้กลยุทธ์ในการวางแผนการรบ

อย่างปรัชญาแบบตะวันออก ตำราพิชัยสงคราม (The Art of War) ของซุนวู เมื่อกว่า

2000 ปีมา ซึ่งได้นำมาใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะ การทำ

ธุรกิจก็เปรียบเสมือนการทำสงคราม เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อเอาชนะคู่แข่งให้ได้

5.2      การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward

Thinking)

การเปลี่ยนแปลงต่างๆจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีแนวคิด การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใน

เชิงกลยุทธ์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking) ว่าจะมีอะไร

เปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจุบันให้เหมาะกับอนาคต ทั้งนี้ การมีวิสัยทัศน์

(Vision Shift) ว่าเราต้องการที่จะอยู่ในตำแหน่งใดให้ถูกต้องเหมาะสม การดำเนินการ

จัดการ (management Shift) วางแผน กำหนดทิศทางขององค์กร (Direction Shift)

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีศักยภาพทางด้านความคิด

เชิงกลยุทธ์ เพื่อจัดทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทิศทาง

ที่ถูกต้อง และ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะกับอนาคต (Corporate Culture Shift)

ไปพร้อมๆกัน 

 

 

              5.3   การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)

        องค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization) เน้นหนักทางด้านการกำหนด วิสัยทัศน์

        (Vision) และ พันธกิจ (Mission) ทั้งนี้ มีผู้บริหารน้อยคนนัก ที่จะเข้าใจคำสองคำนี้ได้

        อย่างถ่องแท้ และ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรที่มาจากผู้บริหารที่ไม่มีองค์ความคิด

        (Visionary Thinking) ก็จะกำหนดวิสัยทัศน์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้น ผู้บริหารที่

        จะมีวิสัยทัศน์ และ สามารถกำหนดพันธกิจ ได้เหมาะสม จึงต้องมีความสามารถทาง

        ด้านวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ทั้ง สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อองค์กร เพื่อกำหนด

        วิสัยทัศน์ และ สภาพแวดล้อมภายใน เพื่อกำหนดพันธกิจ ให้เหมาะสมเป็นไปตามแผน

         กลยุทธ์ที่กำหนดไว้

5.3    การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)

นักบริหารที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือ นวัตกรรม ย่อมใส่ใจและให้ความสำคัญต่อ                     Strategic Innovation หรือ นวัตกรรมทางกลยุทธ์มากขึ้น ทั้งนี้ เพราะ หลีกเลี่ยงไม่ได้กับการพัฒนาเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ในมุมมองเดียวกัน หากองค์กรทั่วไป มองว่า การสร้างให้ผู้บริหารของตนนั้น มีมุมมองในเช้งบูรณาการ และ การคิดนอกกรอบ  จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังเช่น องค์กรเก่าๆที่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ คอมพิวเตอร์ในสมัย 10-15 ปีที่ผ่านมา แต่องค์กรที่ล้มหายตายจากไป ก็จะมีมุมว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟืย เสียเงินเปล่า เป็นต้น ทั้งนี้ การสร้างความคิดที่เรียกว่า Strategic Innovation Thinking จะเป็นการสร้างมุมมองในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ เทคนิคการพัฒนาเพื่อให้แตกต่าง (Creative Thinking & Innovation Thinking) รวมไปถึง การคิดแบบ Blue Ocean เพื่อหาหนทางในการตลาดแบบใหม่ๆ ที่ไม่แข่งขันกันมากเกินไป

 

                        5.5   การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน ธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวนที่เกิดขึ้น ทั้งจาก สังคม เศรษฐกิจ คู่แข่ง รวมทั้งความต้องการของลูกค้า การวางแผนขององค์กรต่างๆ จึงต้องพึ่งนักบริหารที่มีมุมมองแนวคิดในเชิงความเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Future Thinking) เพื่อมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆกัน ทั้งนี้

ภายใต้ภาวะความผันผวนของสภาพแวดล้อมปัจจุบัน การบริหารแผนงานต่างๆ จึงต้องเน้นการมองถึงอนาคตอยู่ตลอดเวลา (Future Thinking) และในเชิงการคิดเชิงกลยุทธ์นั้น ในการสร้างแผนทางเลือกต่างๆสำหรับอนาคต( Scenario Planning ) จึงเป็นรูปแบบแนวคิดเชิงกลยุทธ์อีกแบบหนึ่ง ที่หลายๆ องค์กรชั้นนำได้หยิบเครื่องมือนี้มาใช้ประยุกต์ต่อ การสร้างแผนเพื่อตอบสนองกับ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ถึง
- การคิดเชิงกลยุทธ์ในการมองอนาคต
- การสร้างทางเลือกเชิงกลยุทธ์จากวิธี Scenario
- เทคนิคการสร้างแผนกลยุทธ์ด้วยการสร้างภาพในอนาคต

5.6    Game TheoryGame Theory ของ John Nash เป็นวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับรางวัลโนเบ

ถึง 2 ครั้ง หลักการแนวคิดเชิงกลยุทธ์ ที่คำนึงถีง บุคคล ส่วนได้ ส่วนเสีย ผลกระทบอื่นๆ

เพื่อมองให้เห็นถึงความเป็นจริง ในความต้องการ และ ความเป็นไป เช่น ความต้องการ

ของลูกค้า การทำตัวเป็นลูกค้า ประเมินความต้องการของทั้งสองฝ่าย เพื่อที่จะหาจุดที่

สามารถตกลงกันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นักบริหาร จำเป็นที่จะต้องสร้างให้มีขึ้นในแนวความ

คิดของตนเองทั้งสิ้น เพื่อใช้ทั้งในการ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ ทั้งตัวเอง

และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทราบว่า เราควรที่จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูง

สุดกลับเข้ามา

                                (ตามแนวคิดทั้งหมดที่เขียนมานี้  ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปค้นหาใน

บล็อกของอาจารย์วิบูลย์  แซ่จุงได้ที่ http:// www.wbj.bloggang.ocm ในส่วนของบทความทั้งหมด แต่ที่นำมาในที่นี้เพราะอาจารย์ได้นำมาแลกเปลี่ยนในชั้นเรียนของ KM รุ่น 4 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2552)

คำสำคัญ (Tags): #kmsdu
หมายเลขบันทึก: 238779เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะพี่แบ๋มของน้อง ๆ KM 4 ได้อ่านสรุปของพี่แล้วได้ความรู้มากๆๆเลยค่ะ

ถ้ามีอะไรดีๆ มาแลกเปลี่ยนกันนะค่ะ

ยอดเยี่ยมมากๆๆค่ะพี่สาวคนสวย

แหมเก็บทุกรายละเอียดเลยนะคะคุณพี่ ดีจังน้องๆ จะได้มีความรู้ อิอิ =^^=

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท