สาระจากการเรียนKM


เรียน KM แล้วได้อะไร???

เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้  :  ดร.ปรัชญนันท์  นิลสุข

 

Weblog  & Web board    

                ความหมายของ Weblog  เป็นการนำคำสองคำมารวมกันคือ Web  กับคำว่า blog เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า Weblog หมายถึง เครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด แต่เน้นที่การใช้งานในการบันทึกข้อความ เรื่องราว ข้อมูลส่วนตัวเหมือนกับไดอารี่ และจะแสดงข้อมูลในลักษณะที่เป็นหัวข้อประกอบบทคัดย่อ ซึ่งถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่สามารถเป็นได้หลายอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เป็นเจ้าของเว็บนั้น ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.       การเรียนรู้แบบรายบุคคล  ที่มีผลเกิดจากการมีส่วนในเว็บบล็อก

2.       การเรียนรู้จากการโต้ตอบหลายคน  อันเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์การอภิปรายในกลุ่ม โดยเฉพาะเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน

                ความหมายของ Web board   หรือบางทีที่เรียกกันว่า กระดานข่าว  ถือว่าเป็นช่องทางที่สามารถเผยแพร่ข่าวสารได้ดี และเป็นแหล่งข่าวสารต่าง ๆ ที่ผู้คนมาแสดงความคิดเห็นไว้มากมาย  จนไม่สามารถระบุตัวตนของผู้เผยแพร่ข่าวสารเหล่านั้น  ทำให้มีความน่าเชื่อถือน้อย เพราะการจัดการข้อความและเนื้อหาขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบเพียงคนเดียวที่จะสามารถลบ หรือแก้ไขได้  ซึ่งต่างจาก Weblog มีความเป็นตัวของตัวเองคือสามารถจัดการบริหารเนื้อหา  สามารถลบ แก้ไข หรือเพิ่มข้อความได้ด้วยตัวเอง  และการแสดงความคิดเห็นก็จะทราบได้ว่าความเห็นที่แสดงมานั้นเป็นความคิดเห็นของใคร เพราะเว็บบล็อกสามารถระบุ หรืออนุญาตให้บุคคลใดมีสิทธิเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นได้

ประเภทของ Weblog  มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.       เว็บบล็อกอย่างเดียว เป็นเว็บไซต์ประเภทที่มีการทำงานเป็นเว็บบล็อกแท้ ๆ ไม่มีลักษณะการทำงานอย่างอื่นร่วมอยู่ด้วย  เช่น ไม่สามารถนำรูป หรือภาพ หรือฟังเพลง ได้ เป็นต้น  แต่สามารถให้สมัครเป็นสมาชิกฟรี และจัดพื้นที่ให้อยู่ในกรอบของเว็บเดียวกัน เว็บประเภทนี้คือ gotoknow blog ,  blogger (เป็นบล็อกที่สามารถเผยแพร่ได้ทั่วโลก)

2.       เว็บบล็อกพร้อมโปรแกรม  เป็นเว็บไซต์ที่ทำงานเป็นเว็บบล็อกอย่างงเดียวไม่มีลักษณะการทำงานอย่างอื่นเข้ามาร่วมด้วย  ไม่ต่างจากเว็บบล็อกนัก เพียงแต่เป็นเว็บที่แถมโปรแกรมมาให้ซึ่งผู้ใช้สามารถโหลดโปรแกรมไปติดตั้งทำงานได้ด้วย  นั่นคือให้เป็นสมาชิกฟรี ให้พื้นที่ฟรีทำเว็บบล็อก และแถมโปรแกรมให้ด้วย เช่น Wordpress หรือกลุ่มเว็บที่สนับสนุนการทำธีมหน้าจอต่าง ๆ เช่น      Wp- design

3.       เว็บบล็อกประเภทส่วนหนึ่งของเว็บ เป็นเว็บบล็อกที่ไม่ได้มีการทำงานเป็นเว็บบล็อกอย่างเดียว แต่มีส่วนเป็นบริการหนึ่งของเว็บประเภทเครือข่ายสังคม  คือเว็บหลักจะเลือกใช้บริการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยหรือไม่ก็ได้  ซึ่งจะเป็นจำพวกที่จัดทำวาไรตี้ที่มีหลากหลายบริการให้เลือกใช้งาน เช่น space live ของ Microsoft  ที่มีบริการต่างๆ รวมทั้งบล็อกให้เลือกว่าจะใช้งานหรือไม่ใช้งานก็ได้ เช่น multiply,  tragged, Oknation.net

4.       CMS = Content Management System เป็นเว็บที่เน้นในเรื่องของเนื้อหาที่ให้สาระมากขึ้น เช่นในเรื่องของการตบแต่งรูปแบบหน้าตา  ลูกเล่น และแก้ไขได้ เช่น Joomla, Mambo

5.       LMS = Learning Management System เป็นเว็บที่มีโปรแกรมให้บริการในเรื่องของการเรียนรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของการฝึกอบรม  ซึ่งเป็นการจัดการระบบการเรียนรู้ที่ครบรูปแบบ  เช่น การให้สมัครสมาชิก  การเข้าเรียน  การทดสอบ  การรายงานผล  เช่น Moodle , Atutor , Learnsqure

6.       VLE = Virtual Learning Environment หรือที่เรียกว่าเป็น เป็นเว็บที่ให้เราสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ในสถานการณ์นั้น ๆ เสมือนห้องเรียนหรือสถานการณ์จริง  ที่เราเลือกหน้าตา การแต่งกาย และอื่น ๆ ที่เป็นตัวของเราได้ตามต้องการ และจากนั้นสามารถเลือกสถานที่ได้อีกด้วย  โดยคนอื่นๆ ที่จะเข้ามาเรียนรู้กับเราก็เสมือนอยู่กับเราเหมือนจริงทุกอย่าง  ทำให้รู้สึกเหมือนเราได้อยู่ในสถานการณ์นั้นกับเพื่อนๆ ด้วย เช่น Secondlefe

7.       สิ่งสำคัญที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ตอนท้ายว่า  เว็บบล็อกเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและสำคัญสำคัญการจัดการความรู้  แต่หัวใจของการจัดการความรู้ คือการที่บุคคลเหล่านั้นได้สนใจที่จะใฝ่เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 

----------------------------------------------------

 

 ทิศทางของการจัดการความรู้  :  รศ.ดร.น้ำทิพย์  วิภาวิน

1.        อาจารย์จะเริ่มด้วยการให้เราเป็นคนช่างสังเกต  และมองในมุมที่ต่างจากคนอื่นให้ออก  เพราะการจะเป็นนักจัดการความรู้ที่ดี ต้องเป็นผู้ที่สามารถมองในมุมที่ต่างได้

2.        การรู้จักใช้เครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการความรู้ โดยเฉพาะเครื่องมือทางด้านสารสนเทศ  ที่เราต้องรู้และเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงาน และภารกิจของเรา

3.        ต้องรู้จักแหล่งที่จะค้นคว้าหาความรู้ และต้องสามารถบริหารจัดการกับแหล่งที่จะเก็บและรวบรวมความรู้ที่สำคัญขององค์กรได้อย่างเหมาะสม  และสมาชิกหรือบุคลากรทุกคนต้องสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ที่สำคัญความรู้นั้นต้องเป็นความรู้ที่สนับสนุนกลยุทธ์และเป้าหมายองค์กร ดังนั้นความรู้ในองค์กรจึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

3.1      ความรู้หลัก คือความรู้ที่เป็นกลยุทธ์ขององค์กร ที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน

3.2      ความรู้ที่จำเป็น คือความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละองค์กร ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องแตกต่างจากองค์กรอื่น

3.3      ความรู้ที่สนับสนุน คือความรู้ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อใช้ในการทำงานหรือสนับสนุนให้สามารถทำงานที่รับผิดชอบได้

4.        หลักของการจัดการความรู้ได้แก่

4.1      การจัดการความรู้เป็นเรื่องของทุกคน

4.2      ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติ  คือสิ่งสำคัญที่สุด

4.3      การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็น

4.4      สิ่งที่กระตุ้น หรือผลลัพธ์ที่ต้องการคือ  การมีผลการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น (High Performance)

5.        ทำไมต้องมี KM  เพราะการสร้างความรู้ขององค์กร หรือการสร้างระบบความจำขององค์กร (Organizational Memory) เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ  ประกอบด้วยการสร้างฐานข้อมูลด้านต่างๆ ขององค์กร โดยมีโปรแกรมการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ  ศูนย์รวมเหล่านี้จะมีประโยชน์เมื่อมีการนำมาใช้ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์กร

6.        ความจำขององค์กร (Organizational Memory = OM) เป็นเสมือนความจำของบุคคล ที่ประกอบด้วยความคิดส่วนที่สัมพันธ์กับความคิดหรือองค์ประกอบขององค์ความรู้  การบันทึกความจำในอดีตขององค์กรเพื่อใช้ในการตัดสินใจในปัจจุบันโดยพัฒนาระบบความจำขององค์กร  OM ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ในการพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

7.        องค์ประกอบของการจัดการความรู้

7.1      แหล่งรวบรวมความรู้

7.2      กิจกรรมการจัดการความรู้

7.3      พัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้

8.        แนวคิดการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร ของ Carla O’Dell มี 3 องค์ประกอบ คือ

8.1      การกำหนดสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องทำให้สำเร็จ

8.2      ปัจจัยที่ทำให้สามารถจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ

8.2.1           โครงสร้างองค์กร

8.2.2           วัฒนธรรมองค์กร

8.2.3           การวัดผล

8.2.4           เทคโนโลยี

8.3      กระบวนการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ

8.3.1           การวางแผน พิจารณาว่าองค์กรอยู่ในสถานใด เมื่อเปรียบกับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ

8.3.2           การออกแบบ  เป็นการกำหนดบทบาท หน้าที่ ระบบ IT รวมทั้งการกำหนดตัววัด และแผนงาน ขององค์กร

8.3.3           การปฏิบัติ  เป็นการจัดโครงการนำร่อง และดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้

8.3.4           การขยายผล เป็นการนำความสำเร็จไปขยายผลในกิจกรรมอื่น ๆ ทั่วทั้งองค์กร

9.        เส้นทาง KM สู่ผลสำเร็จ มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ

9.1      ขั้นของการเริ่มต้น  (การสำรวจความพร้อมขององค์กรในทุก ๆ ด้าน)

9.2      ขั้นการพัฒนากลยุทธ์ (ศึกษาในเรื่องของการวัดผล และตัวชี้วัด)

9.3      ขั้นการออกแบบและนำกิจกรรม KM มาใช้ในองค์กร (ใช้กลยุทธ์เพื่อการวางแผนกิจกรรม)

9.4      ขั้นขยายผล และให้การสนับสนุน  (พิจารณาระบบ IT มาใช้ให้เหมาะสม)

9.5      ขั้นของการสร้างองค์กรสู่การเป็น KM (พิจารณาในเรื่องระบบการสื่อสาร  การให้รางวัล และการยอมรับ)

10.   การจัดการความรู้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการบริหารองค์กรยุคปัจจุบัน  เพราะ  การก้าวเดินไปสู่เป้าหมายความสำเร็จที่มุ่งหวัง โดยใช้ความรู้เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่กลยุทธ์ที่วางไว้ การพัฒนาองค์กร   ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นพื้นฐานสำคัญ  ซึ่งเริ่มต้นจากการพัฒนาคน พัฒนาระบบความรู้และกระบวนการเรียนรู้ให้บุคคลสามารถใช้ความคิดและความจำในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร    พลังความรู้และความคิดของคนเท่านั้นที่สร้างความแตกต่างได้

 

 

--------------------------------------------------------

คำสำคัญ (Tags): #kmsdu
หมายเลขบันทึก: 238628เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2009 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท