แนวปฏิบัติการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธี


บริหารการศึกษา

 

บทความ การบริหารการศึกษา

 

 เรื่อง  แนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษาตามพุทธวิธี

                                พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาว่าอย่างไรบ้าง ถ้าแปลตามรากศัพท์ คำว่า ศึกษาเป็นภาษาสันสกฤต แต่พอเป็นภาษาบาลี กลายเป็น สิกขาเมื่อแยกศัพท์ออกมา มาจากคำว่า สะ+อิกขะ+อา สะ ในภาษาบาลี แปลว่า ไอ อิกขะ แปลว่า มอง,พิจารณา ,เห็น อา เ ติมให้ไพเราะเ สิกขะ สิกขา เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในทัศนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การศึกษา คือ การมองตน การพิจารณาตน การควบคุมตน และการพัฒนาตน เพราะคนเราประกอบด้วย 2 ส่วน กายกับใจ ทั้ง 2 ส่วนแบ่งงานกันทำ ใจทำหน้าที่เป็นนาย กายทำหน้าที่เป็นบ่าว แต่ทั้ง 2 ส่วนต้องไปด้วยกัน ถ้ามีใจไม่มีกาย มันก็เป็นแค่ภูตผีปีศาจ ถ้ามีกายแต่ไม่มีใจมันก็เป็นแค่ศพ การศึกษาจึงเป็นเรื่องของการควบคุม พิจารณา ทั้งกายและทั้งใจควบคู่กันไป นี้มองแบบพระ เพราะศัพท์ที่นำมาใช้ก็มาจากศัพท์ของพระ โดยคำแปล การศึกษาแปลว่า การมองตน การพิจารณาตน การควบคุมตน จนกระทั่งการพัฒนาตน โดยความหมาย การศึกษา คือ การพัฒนาและปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดีให้กับผู้เรียน

ความรู้สำคัญแน่นอนแต่เป็นรองนิสัย

ความรู้ทางด้านวิชาการหากเกิดแก่คนพาลมีแต่จะนำความฉิบหายมาให้ เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด แต่ตรงกันข้ามความรู้ทางด้านวิชาการหากเกิดแก่บัณฑิตมีแต่จะนำสุขความเจริญ ความรุ่งเรืองมาให้ด้วยเหตุนี้โบราณจึงมีคำกล่าวถึงพฤติกรรม 3 แบบ คือ
1. ศีลธรรมนำหน้า วิชาการตามหลัง
2. ศีลธรรมกับวิชาการไปพร้อมๆกัน
3. วิชาการนำหน้า ศีลธรรมไปหาเอาเอง
เพราะฉะนั้น การศึกษาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ ไม่ใช่ปลูกฝังแค่ความรู้ คนละความหมายกัน บางท่านมีความรู้แล้วไม่ใฝ่รู้เพิ่มเติม มีความรู้อยู่ไม่เยอะแล้วไม่ค้นต่อ เมื่อรู้ ก ก็ต้องรู้ ข รู้ ค ใฝ่รู้กันตลอดชีวิต เพราะโลกมันไม่ได้หยุดหมุน มันก็ต้องตามโลกให้ทัน ไม่ใช่แค่รู้ แต่ต้องใฝ่รู้ ในเวลาเดียวกันไม่ใช่แค่รู้ว่าอะไรดี ไม่ดี มันต้องใฝ่ดี การที่เราตั้งใจใฝ่เมื่อไหร่ เราจะก้าวเข้าไปสู่นิสัย ถ้าไม่เป็นนิสัยมันก็ไม่ใฝ่ รู้แล้วก็ต้องใฝ่ดี เช่น บางคนใฝ่รู้เรียนได้ที่ 1 ตลอดตั้งแต่ ประถม มัธยม อุดมศึกษา ป.ตรี โท เอก ชิงทุนมาได้หมด แต่นั่นก็คือความรู้เฉพาะของเขา ถ้าเขาไม่เผื่อแผ่ความรู้ให้ใคร หรือ ไม่นำความรู้ไปสร้างความดีให้ใคร ความรู้นั้นก็เป็นประโยชน์ต่อเขาคนเดียว ชาวโลกก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากเขา ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือบรรพบุรุษของเรามีความรู้เพื่อประโยชน์ของตัวเองฝ่ายเดียว ไม่นำความดีมาเผื่อแผ่ใคร บ้านเมืองของเราคงไม่เจริญมาถึงทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นการศึกษาเป็นเรื่องของการปลูกฝัง นิสัยใฝ่รู้และใฝ่ดี ให้กับผู้เรียน การศึกษาไม่ใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดความรู้เท่านั้น
ทำอย่างไรจึงจะได้นิสัย
                นิสัยเกิดจากการคิด พูด ทำซ้ำๆ จนกระทั่งติด พอติดก็จะเกิดเป็นนิสัย ซึ่งมีทั้งนิสัยดีและไม่ดี
นิสัยคืออะไร คือ พฤติกรรมที่ทำจนติด ถ้าไม่ได้ทำอีก มันจะหงุดหงิด ทั้งนิสัยดีและไม่ดี
นิสัยดี ถ้าใครนอนหัวค่ำ ตื่นเช้ามืด ทำจนติดแล้ว ถ้าไปบอกให้เขานอนดึก แล้วตื่นสาย มันหงุดหงิด ทำไม่ได้ หรือคนหนึ่งมีนิสัยมุทิตา เห็นใครได้ดิบได้ดี ก็ดีใจกับเขาด้วย และพร้อมช่วยเหลือเจือจุน ยินดีให้ความร่วมมือ พวกนี้ตาไม่ร้อน เพราะเขาถูกฝึกจนติดเป็นนิสัยแล้ว ถ้ามีใครทำความดีขึ้นมาโปรแกรมในตัวจะบอกให้เขามุทิตา ดีใจด้วย นั่นคือนิสัยของเขา
นิสัยไม่ดี ขี้อิจฉา ริษยาเห็นใครดีกว่า ตาร้อน มักทนไม่ได้ โปรแกรมในตัวจะสั่งออกมาทันทีเลยว่าต้องอิจฉา
นิสัยคือโปรแกรมเฉพาะตัว จะเป็นตัวบ่ง ว่าใครจะดี ใครจะเสื่อม ใครจะเจริญรุ่งเรือง ใครจะตกต่ำ
โปรแกรมเมอร์ คือใคร ถ้าเป็นตอนเด็กๆอาจเป็น พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ของเรา แต่เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ ตัวเราเองคือโปรแกรมเมอร์ ไม่ต้องไปโทษใคร เพราะฉะนั้นขอย้ำว่าเรื่องการศึกษาเป็นเรื่องของการปลูกฝังนิสัยทั้งใฝ่รู้และใฝ่ดี

อุดมการณ์ของการศึกษาคือ ยิ่งศึกษายิ่งต้องรู้จักตัวเอง รู้จักตน ควบคุมตน แล้วพัฒนาตนให้ได้ แต่ปัจจุบันตรงกันข้ามยิ่งเรียนมากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งรู้เรื่องนอกตัวไปสารพัดยกเว้นเร
ื่องของตัวเอง อยากจะแก้ไขโลกทั้งโลกแต่จะแก้ไขตัวเองเป็นคนสุดท้าย นี้คือความผิดพลาดอย่างมหันต์ของโลกการศึกษาในปัจจุบันนี้ ไม่เฉพาะประเทศไทยแต่เป็นกันทั้งโลก ยิ่งศึกษายิ่งต้องรู้จักตนเพื่อจะได้ควบคุมตนให้อยู่ เพราะมนุษย์ตัวเล็กๆ เนื้อนิ่มๆ ไม่มีเขี้ยวเล็บคมเหมือนเสือ ไม่มีเขาเหมือนควาย ไม่มีงาเหมือนช้าง เท้าก็ไม่มีกีบ แต่สามารถทำร้าย ทำลายคนอื่นได้ฉกาจฉกรรจ์ทีเดียวด้วยมือนิ่มๆ ปากหวานๆ ตาเยิ้มๆ สามารถฆ่าคนทีเป็นพันเป็นหมื่น แต่พวกสัตว์เหล่านั้นมีอาวุธอยู่ในตัวครบแต่ฆ่าฝ่ายตรงข้ามได้ทีละตัว
ฉะนั้นอุดมการณ์ของการศึกษา คือ ยิ่งศึกษายิ่งต้องรู้จักตนเอง ว่าคุณมีทั้งกายและใจ แล้วคุณต้องควบคุมกายและใจของคุณไม่ให้ไปทำความเดือดร้อนแก่ตัวเองและคนอื่น เมื่อควบคุมตนได้ ก็พัฒนาศักยภาพตนให้ช่วยตัวเองและช่วยเหลือคนอื่นให้ยิ่งๆขึ้นไป ให้เกิดประโยชน์สุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า ทั้งของตนเองและของส่วนรวม จะเอาแต่ตัวเองไม่พอ เพราะกว่าเราจะโตขึ้นมาได้ เราต้องผ่านมือคนที่มีความปรารถนาดีมาไม่รู้กี่คน เช่น ผ่านมือพ่อ แม่ ผ่านแม้กระทั่งมือคนใช้ ผ่านมือครูบาอาจารย์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนจบมหาวิทยาลัย ได้รับความอุปการะจากเพื่อนบ้านช่วยกันดูแล ได้ภาษีอากรจากรัฐบาลซึ่งรัฐบาลก็ได้มาจากประชาชน เพราะฉะนั้นคุณคือผลผลิตของบ้านเมือง แล้วเราจะเอาตัวเองรอดเพียงลำพังไม่ได้

ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกำหนดหน้าที่ของพระภิกษุ คือ
1. ศึกษาและปฏิบัติตามธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. รู้แล้วช่วยสั่งสอนอบรมประชาชน ญาติโยมที่เขาให้ข้าวให้น้ำท่านมาจนท่านมีความรู้จนทุกวันนี้ ไปทำหน้าที่นี้ให้ดีให้สมกับเป็นลูกของพระพุทธเจ้า
สรุปหน้าที่ของพระมี 2 อย่าง คือ ศึกษา ฝึกตัวเองให้ใฝ่รู้และใฝ่ดียิ่งขึ้นไป แล้วย้อนกลับไปเป็นครูสอนศีลธรรมให้ประชาชน ทำนองเดียวกัน ครู บาอาจารย์ทางโลก ผอ.ดูแลการศึกษาทางโลก ก็มีหน้าที่อย่างนี้
ทำอย่างไรจึงจะเพาะนิสัยใฝ่รู้และนิสัยใฝ่ดีให้เกิดกับลูกหลานเราได้
ถ้าเกิดแต่ใฝ่รู้อย่างเดียว ก็เหมือนคนที่ชิงทุนได้ตั้งแต่อนุบาลจนจบด๊อกเตอร์แต่เขาเอาแต่ตัวรอด แม้แต่ลูกเมียยังเอาเปรียบเลย ใฝ่รู้แล้วยังต้องใฝ่ดีด้วย เอาความรู้ของคุณมาทำความดีให้ได้ และไม่ใช่ทำความดีแค่ครั้งคราว แต่ต้องทำจนกระทั่งเป็นนิสัย
นี่ก็เป็นอุดมการณ์ของการศึกษาในพุทธศาสนา ซึ่งก็ไล่ลำดับไปแล้ว
จากตรงนี้เราคงเคยได้ยินกัน การศึกษาของพระคือ ศึกษาเรื่องศีล เรื่องจิต
การศึกษาในพระพุทธศาสนาจึงมีอยู่ 3 เรื่องศีลสิกขา หรือ ศีลศึกษา จิตศึกษาและปัญญาศึกษา
ศีลศึกษา ศึกษาเพื่อควบคุม พฤติกรรมทางกายกับวาจาให้ได้ คุมให้อยู่ให้ได้ ถ้าคุมไม่อยู่มันจะไปทำความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้ ฉะนั้นระเบียบวินัยจึงต้องมา
จิตศึกษา คือควบคุมจิต ให้อยู่ในกรอบจะได้ไม่ไปทำชั่ว ทำไม่ดี และก็พัฒนาให้มีศักยภาพในการทำความดี ซึ่งตรงนี้จะเน้นหนักไปในเรื่องสมาธิ
ปัญญาศึกษา จะเป็นเรื่องของการนำทั้งกาย วาจา ใจ ไปใช้ทำความดี.

******************************



คำสำคัญ (Tags): #บริหารการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 237483เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท