คุณธรรมจริยธรรมสำหรับการบริหาร


ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
หลักธรรมสำหรับการบริหาร 1 ธรรมคุ้มครองโลก หิริ - ความละอายต่อบาป และความชั่วทั้งปวง โอตตัปปะ - ความเกรงกลัวต่อบาป และความชั่วทั้งปวง 2 ธรรมที่ทำให้คนงาม ขันติ - ความอดทน โสรัจจะ - ความสงบเสงี่ยม / อัธยาศัยงดงาม 3 ธรรมมีอุปการะมาก สติ - ความระลึกได้ก่อนทำ / พูด / คิด สัมปชัญญะ - ความรู้ตัวว่ากำลังทำ / พูด / คิด 4 สุจริต 3 1) กายสุจริต : ประพฤติชอบทางกาย 3 ประการ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลัก ขโมย ไม่ผิดทางกาม 2) วจีสุจริต : ประพฤติชอบทางวาจา 4 ประการ คือ ไม่พูดปด ส่อเสียด คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 3) มโนสุจริต : ประพฤติชอบทางใจ 3 ประการ คือ ไม่โลภ โกรธ หลง 5 สังคหวัตถุ 4 คุณธรรมที่สร้างความสามัคคี/ยึดเหนี่ยวจิตใจคน 1) ทาน : การให้ปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 2) ปิยวาจา : เจรจาด้วยคำสุภาพ อ่อนหวาน 3) อัตถจริยา : ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน 4) สมานัตตตา : การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย 6 อคติ 4 / ความลำเอียง 1) ฉันทาคติ : ลำเอียงเพราะความชอบพอกัน 2) โทสาคติ : ลำเอียงเพราะความโกรธเกลียดชัง 3) โมหาคติ : ลำเอียงเพราะความหลงผิด / ความเขลา 4) ภยาคติ : ลำเอียงเพราะความกลัว 7 อิทธิบาท 4 คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต 1) ฉันทะ : ความพอใจในงานที่ทำ 2) วิริยะ : ความเพียรพยายามในงานที่ทำ 3) จิตตะ : ความเอาใจใส่ในงานที่ทำ 4) วิมังสา : ความไตร่ตรองพิจารณาปัญหา / หมั่นตรึกตรองพิจารณา 8 หัวใจของพระพุทธศาสนา (1) การไม่ทำความชั่วทั้งปวง (2) การกระทำแต่ความดี (3) การทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ 9 ฆราวาสธรรม 4 คุณธรรมสำหรับการครองเรือน (1) สัจจะ : ความซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน / การพูดความจริง (2) ทมะ : การฝึกตน การข่มใจโดยใช้ปัญญา / การรู้จักควบคุมจิตใจ (3) ขันติ : ความอดทน อดกลั้น ขยัน ไม่ย่อท้อ (4) จาคะ : ความเสียสละ มีจิตใจกว้างขวาง 10 ศีล 5 คุณธรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (1) การไม่ฆ่าสัตว์ / ทารุณสัตว์ (2) การไม่ลักทรัพย์ (3) การไม่ประพฤติผิดในกาม (4) การไม่พูดเท็จ (5) การไม่ดื่มเครื่องดองของเมา 11 พรหมวิหาร 4 ( คุณธรรมที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ) (1) เมตตา : ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข (2) กรุณา : ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (3) มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี (4) อุเบกขา : การวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย 12 ทศพิธราชธรรม 10 ประการ (1) ทาน : การให้ การช่วยเหลือ (2) ศีล : การละเว้นความชั่ว (3) ปริจาคะ : การสละสิ่งมีประโยชน์น้อย เพื่อประโยชน์มาก (4) อาชวะ : ความตรง / ประพฤติซื่อตรง (5) มัทวะ : ความอ่อนโยน สุภาพ (6) ตปะ : ความเพียร เข้มแข็ง (7) อโกธะ : ความไม่โกรธ จิตใจหนักแน่น ให้อภัย (8) อวิหิงสา : ความไม่เบียดเบียน (9) ขันติ : ความอดทนต่อความยากลำบาก (10) อวิโรธนะ : ความไม่ผิด เมื่อรู้ว่าอะไรผิดก็ไม่ทำ 12 มรรค 8 ( มัชฌิมาปฏิปทา ) การดำเนินชีวิตสายกลาง (1) สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นชอบ (2) สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ (3) สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ (4) สัมมากัมปันตะ คือ กระทำชอบ (5) สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ (6) สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ (7) สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ (8) สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ 13 สัปปุริสธรรม 7 คุณธรรมของคนดี (1) ธัมมัญญุตา – รู้จักเหตุผล (2) อัตถัญญุตา – รู้จักผล (3) อัตตัญญุตา – รู้จักตน (4) มัตตัญญุตา – รู้จักประมาณ (5) กาลัญญุตา – รู้จักกาล (6) ปริสัญญุตา – รู้จักชุมชน (7) ปุคคลปโรปรัญญุตา – รู้จักบุคคล 14 กัลยาณมิตรธรรม 7 มิตรที่ดี (1) ปิโย – น่ารัก (2) ครุ – น่าเคารพ (3) ภาวนีโย – น่ายกย่อง (4) วตตาจ – รู้จักพูด (5) วจนกขโม – อดทนต่อถ้อยคำ (6) คมภีรญจ กตํ กตตา – ชี้แจง (7) โนจฎฐาเน นิโยชํเย – ไม่แนะนำทางเสีย 15 อธิษฐานธรรม ความรัก ความศรัทธาในอาชีพ (1) ปัญญา – หมายถึงมีวิชาความรู้ หรือสติปัญญาที่ช่วยให้รู้ว่า อะไรผิด ถูก ชั่วดีสำหรับพิจารณาตัดสินใจ เป็นวิจารณญาณ (2) สัจจะ – ความจริงใจ คือตั้งใจแน่วแน่เป็นสัตยาธิษฐาน (3) จาคะ – คอยสลัดอารมณ์ที่เย้ายวนที่จะทำให้นอกลู่นอกทาง (4) อุปสมะ – ความสงบใจ หมายถึง การสลายพิษร้อนที่จิตใจให้หมด สิ้นไป ทำให้ใจเกิดความเยือกเย็น และทนทานยิ่งๆ ขึ้น ทำให้มีคุณภาพจิตใจที่ดีขึ้น
หมายเลขบันทึก: 237450เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ

ถ้าตัวโตกว่านี้นิด และจัดเรียงซะหน่อยจะอ่านง่ายกว่านี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท