โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


โครงการพัฒนา

               ในปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำริให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการและพัฒนาพื้นที่ พรุในลักษณะผสมผสานเพื่อแก้ปัญหาดินเป็นกรดจัด เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ โดยจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริและนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างเพื่อพัฒนาพื้นที่พรุ  ศูนย์ฯพิกุลทองฯ เป็นโครงการที่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง ทั้งในด้าน การวิจัยและนำผลการวิจัยที่ได้ผลดีไปขยายผล ซึ่งกิจกรรมมีความหลากหลายมากขึ้นตามระยะเวลาที่ดำเนินโครงการมา ปัจจุบันครอบคลุมทั้งด้าน การเกษตร การพัฒนาอาชีพ เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการสังคม
 

      โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการเกษตร
            
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ การที่ทรงเน้นในเรื่องของ การค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่าง ๆ ใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อนไหม ยางพารา ฯลฯ ทั้งพืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยว กับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมเช่น โค กระบือ แพะ แกะ พันธุ์ปลา ฯลฯ และสัตว์ปีกทั้งหลายด้วย เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ ราคาถูก และใช้เทคโนโลยีที่ง่าย และไม่สลับซับซ้อนซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญ คือพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือเทคนิควิธีการดูแลต่าง ๆ นั้น จะต้อง เหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น นั้นๆ ด้วย

                     

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อม

                   ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่มีความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าซึ่งเป็นปัญหาร่วมกัน ของทุก ประเทศ กล่าวคือ การพัฒนายิ่งรุดหน้าปัญหาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และภาวะมลพิษก็ยิ่งก่อตัว และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วงที่ผ่านมา ให้ความ สำคัญกับอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการนำเอาทรัพยากรมาใช้ประโยชน์แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการที่เหมาะสม รองรับปัญหา ที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการที่จะทำนุบำรุง และปรับปรุงสภาพทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในด้านต่างๆ อาทิเช่น การอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ และป่าไม้

      

 

 
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสาธารณสุข

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับงาน สาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นว่าโครงการที่พระราชทาน ให้กับประชาชนในระยะแรก ๆ ล้วนแต่เป็นโครงการ ด้านสาธารณสุข พระ องค์ทรงให้ความสำคัญกับการสาธารณสุข เพราะการที่ประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้ การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมดีตามไปด้วย  

             ดังจะขออัญเชิญพระราชดำรัสมา ณ ที่นี้คือ"...การรักษาความสมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของ เศรษฐกิจที่ดี และสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้น โดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจิตใจสมบูรณ์ และเมื่อมีสุขภาพ สมบูรณ์ดี พร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำ    ประ โยชน์ สร้างสรรเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่ เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นผู้แต่งสร้างมิใช่ผู้ถ่วงความ เจริญ..."

              ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงพบว่าราษฎรเป็นจำนวนมาก ขาดการดูแลรักษาในด้านสุข ภาพ อนามัย โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ต่อมาเมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม เพื่อเยี่ยมราษฎรในพื้นที่โครงการ ต่าง ๆ โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์จึงได้ขยาย ขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง

 

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

                      การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่า เป็นงานที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศ    ในการช่วยให้เกษตรกร ทำการเพาะปลูกได้อย่าง สมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่ทุกภาคของประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝน และน้ำ จากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่ สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการเป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความ สนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ มากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ "น้ำคือชีวิต" ดังพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ความว่าตอนหนึ่ง

                   
"...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะ ปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มี น้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคน อยู่ไม่ได้..."

การพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น มีหลักและ วิธีการที่สำคัญ ๆ คือ

                   1. การพัฒนาแหล่งน้ำจะเป็นรูปแบบใด ต้องเหมาะสมกับราย ละเอียดสภาพ ภูมิประเทศเสมอ
                   2. การพิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ต้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่มีในแต่ละท้องถิ่นเสมอ
                  3. พิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่ม หนึ่ง โดยสร้างประโยชน์ ให้กับ คนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนนั้น จะมีความ เหมาะสมเพียงใดก็ตาม

                  ด้วยเหตุนี้การทำงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่งจึงพระ ราชทานพระราชดำริไว้ว่า ราษฎรในหมู่บ้าน ซึ่งได้รับประโยชน์จะ ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน โดยจัดการ ช่วยเหลือผู้ที่ เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเอง เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้ โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นพระบรมราโชบาย ที่มุ่งหวังให้ราษฎรมีส่วน ร่วมกับรัฐบาล และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมของตนเองและ มีความหวงแหน ที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไปด้วย โครงการพัฒนา แหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาจแบ่งออกได้ เป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้

                   1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูก และอุปโภค บริโภค ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ
                   2) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร
                   3) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
                   4) โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
                   5) โครงการบรรเทาอุทกภัย

จัดทำเว็บไซต์ โดย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ตั้ง : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 ถ.แจ้งสนิท ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทร 0-4531-2116-8 ต่อ 109 โทรสาร 0-4528-1881
E-Mail :
[email protected]

คำสำคัญ (Tags): #โครงการพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 237153เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2009 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท