ความทรงจำ และการรอคอย


จำได้ว่า จากการที่ได้ร่วมในการดำเนินการการจัดการความรู้หลายต่อหลายครั้ง หลายหัวปลา หลายหน่วยงาน ทุกครั้งที่ผู้เขียนได้พูด จะบอกว่านี่เป็นเวทีแรกของการเริ่มกระบวนการจัดการความรู้ เป็นการปูพื้นของการจัดการความรู้เท่านั้น การประชุมปฏิบัติการเรื่องนี้ไม่ได้จบลงหลังเลิกการประชุม 2-3 วันที่จัดเป็นการเริ่มต้นไม่ใช้วันสุดท้ายปิดประชุมแล้วทุกคนแยกย้ายเรื่องทุกเรื่องจบลง แต่ต้องเป็นวันปิดการประชุมทางวิชาการแต่การปฏิบัติต้องเริ่มต้น  หลายหน่วยงานสานต่อมีการขยายผลไปเรื่อย บ้างติดต่อกันพูดคุยกันแลกเปลี่ยนกัน แต่ปัญหาตอนนี้คือ หลังจากที่ทุกคนเข้าใจการจัดการความรู้ คิดว่าตัวเองได้ปฎิบัติแล้วดำเนินการต่อแล้ว  สิ่งที่ขาดหายไปคือขาดคลังความรู้ ที่ ๆ จะเก็บเรื่องราวความรู้ให้เป็นระบบ ค้นหาง่าย  ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “หางปลา” เป็นส่วนที่คิดว่าถ้าทำให้ดีจะมีพลังอย่างยิ่ง เปรียบได้กับปลาที่โบกสะบัดหาง แล้วทำให้มันแหวกว่ายไปได้ไกลตามที่ใจปรารถนา ซึ่งส่วนหางปลานี้จะไปเกี่ยวข้องกับสามเรื่องหลักๆ คือ 1. เรื่องการสร้างคลังความรู้ 2. เรื่องการพัฒนา CoPs (อ.ประพนธ์  เสนอ idea ว่าน่าจะลองเรียกว่า “ก๊วนคุณกิจ” ดู ) และ 3. เรื่องการประยุกต์ใช้ ICT ที่เป็นการ “ขยายวง สร้างองค์ความรู้” 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23679เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2006 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยคะ ว่าต้องมีการสานต่อไม่อย่างนั้นแล้วจะเป็นการจัดการความรู้ได้อย่างไร ถ้าให้ดีกองนโยบายและแผนเป็นแกนนำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจะดีมั้ยคะ เพื่อให้หน่วยงานอื่นได้ตามรอยการจัดการเรียนรู้

พยายามเก็บหางปลานี้ไว้ต่อไปกับตัวปลาและหางปลานะครับ จะได้เป็นโมเดลปลาทูที่สมบูรณ์ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท