เรียนรู้การไปโรงพยาบาล


จะต้องไปใช้บริการอย่างต่อเนื่อง อย่าเว้นระยะเวลาเกิน ๑ ปี นะครับ

    เมื่อต้นเดือนมกราคมได้ไปใช้บริการ ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลที่เคยไปทำเรื่องของการจ่ายค่ารักษาพยาบาลในฐานะข้าราชการโดยไม่ต้องจ่ายเงินแล้วนำใบเสร็จไปตั้งเบิกคืน ที่เรียกกันว่าระบบจ่ายตรง   ซึ่งเคยไปยื่นเรื่องและดำเนินการจนมีสิทธิในการใช้ครบถ้วน แต่หลังจากทราบผลการมีสิทธิแล้ว ก็ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลย เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีอาการไม่สบายเพียงเป็นหวัดหรือเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อยๆ ก็ไปใช้บริการ หน่วยพยาบาลของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ในการไปโรงพยาบาลครั้งนี้จึงได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ หลายอย่างด้วยกัน เช่น

     มีระบบการใช้บัตรคิวในเกือบทุกขั้นตอน ได้เห็นว่ามีคนมาโรงพยาบาลมากมายขนาดไหน  ตอนแรกก็คิดว่าที่ญาตินัดให้ไปถึงโรงพยาบาลตั้งแต่เช้า ก่อน ๗.๓๐ น. ก็คิดว่าคงจะได้คิวแรก ๆ ในการไปเจาะเลือด เพราะต้องอดอาหารอดน้ำไป แต่พอไปจริง ๆ ปรากฏว่ามีคนยืนรอรับบัตรคิวเป็นแถวยาวอยู่ก่อนแล้ว และมีคนนั้งรอเจาะเลือดอยู่หน้าห้องอีกหลายสิบคน เมื่อต่อคิวจนได้รับบัตรคิวก็ยิ่งตกใจมากคือได้คิวที่ ๒๕๖  ต้องรอหลายชั่วโมงกว่าจะได้เจาะเลือด.....สงสัยว่าอาจจะมีคนเป็นลมไปก่อนบ้างไหม ?

     ได้เรียนรู้ว่าบัตรประวัติผู้ป่วยนอกหรือที่เรียกว่า OPD card นั้นเดี๋ยวนี้เขาจะเก็บไว้ประมาณ ๑ ปี เท่านั้น ถ้าไม่มาติดต่อใช้บริการ ทางโรงพยาบาลก็จะทำลายทิ้ง ผู้ป่วยจะต้องมาเริ่มต้นทำบัตรใหม่ เหมือนกับคนไข้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้นอีกมาก  ก็เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมครับ ถ้าต้องการให้มีประวัติการรักษาเดิมอยู่อย่างต่อเนื่องจะต้องไปใช้บริการโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน อย่าเว้นระยะเวลาเกิน ๑ ปี นะครับ  มิฉนั้นท่านต้องทำทุกอย่างใหม่หมด

     ได้เรียนรู้ว่าถ้าต้องการลดระยะเวลาการรอพบหมอ ก็สามารถมาพบในคลีนิกนอกเวลาของโรงพยาบาล แต่ต้องดูว่าหมอในด้านนั้นมาเปิดบริการนอกเวลา (๑๗-๒๐ น.) วันไหน ถึงแม้จะเป็นคลีนิกนอกเวลาก็ต้องมีการจองคิวเช่นเดียวกันครับ แต่ปริมาณคนจะน้อยกว่าในเวลาปกติ การใช้บริการคลีนิกนอกเวลานี้ ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มครั้งละ ๒๐๐ บาท (สำหรับโรงพยาบาลแห่งนี้ เพราะผมไม่ทราบว่าเท่ากันทุกแห่งหรือเปล่า)

     ชีวิตคนเราเมื่อสมัยเป็นวัยเด็กก็เรียนรู้การไปโรงเรียน ไปวิทยาลั มหาวิทยาลัย แต่เมื่อถึงวัยดึกหรือวัยชราก็ต้องเรียนรู้การไปโรงพยาบาลแทน....อิอิ  

หมายเลขบันทึก: 236785เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

มีอยู่ครั้งหนี่งไปโรงพยาบาลตามนัด ในใบนัด ให้มาพบแพทย์เวลา 08.00น.

ครูต้อยไปก่อนเวลา 10 นาที

แล้วก็ยื่นใบนัด ปรากฎว่าเกือบ10 โมงจึงได้พบแพทย์ หิวข้าวมาก เพราะอดอาการ อดน้ำ ตั้งแต่ 6 โมงเย็น เกือบเป็นพระพายไปแล้ว

พูดคุยกับผู้ป่วยอื่นๆ เขามาจองกันตั้งแต่ ตี5

เพิ่งรู้ เรียนรู้กันไม่รู้จบ ไม่รู้ว่าตายแล้วเกิดใหม่ต้องเรียน ก.ไก่ใหม่หรือเปล่านะคะ เบื่อแย่เลย อิอิ

ขอบคุณค่ะ

อืมมม อ่านแล้วน่าเห็นใจอาจารย์ มากเลย รพ.ต่างๆของรัฐ ก็จะคล้ายๆกันแต่ opd card เท่าที่ทราบ เก็บ 5 ปีค่ะ ถึงจะทำลาย แม้ว่าทำลายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำประวัติใหม่เพราะเราจะเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเป็น file digital จะช่วยให้ผู้รับบริการสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องรอทำบัตรใหม่ ส่วนการงดนำและอาหารเพื่อมาตรวจ ที่น่านจะมีช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยเจาะเลือด ดังนั้นผู้ป่วยจะได้เจาะเลือดก่อน ซักประวัติค่ะ ระหว่างรอพบแพทย์ ก็ไปทานข้าวได้เลย ใครจะนำวิธีนี้ไปใช้บ้างก็ไม่ว่ากันนะคะ

เป็นปัญหาทุก ร.พ. ครับ

  • ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ
  • ก็เป็นการเรียนรู้ นำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • อาจจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นในบางมุมบ้าง

เห็นควรจะต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวล่วงหน้าในการใช้บริการระบบเบิกจ่ายตรงด้วยแล้วค่ะ แต่ถ้าเลือกได้ขอเลือกไม่ป่วยเลยนะคะ

Thanksktk 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท