มัสยิดสีชมพู แห่งเดียวในประเทศไทย


เบื้องต้นของตำบลวังชมภู มาคุยกันเรื่องมัสยิดกันดีกว่า เหตุที่มาถึงมัสยิดนี้ ก็หนีไม่พ้นเรื่องงาน กิจกรรม ของศูนย์ประสานงานภาคเหนือ

มัสยิดสีชมพู แห่งเดียว ในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา :

ตำบลวังชมภู เดิมเป็นบ้านวังชมภู ตั้งอยู่บนพื้นที่ทางแยกของถนน สายสระบุรี – หล่มสัก เดิมเป็นจุดพักผ่อนของคนเดินทางสมัยก่อน ตั้งเป็นหมู่บ้านประมาณ ปี พ.ศ. 2479 – 2480 เดิมขึ้นกับตำบลนายมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพไทยได้มาตั้งหน่วยทหาร ฝ่ายสนับสนุนกำลังพลขึ้นคือ บ้านสามแยกป่าติ้ว (ตลาดเทศบาลตำบลวังชมภูปัจจุบัน) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง บ้านวังชมภูและบ้านป่าติ้ว จึงได้รวมเป็นหมู่บ้านเดียวกัน และตั้งชื่อบ้านว่า บ้านสามแยกวังชมภู ต่อมามีประชาชนอาศัยจำนวนมาก ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นตำบลวังชมภู เมื่อปี พ.ศ. 2515

 

สภาพทั่วไปของตำบล :

ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ห่างจากตัวอำเภอระยะทาง 21 กิโลเมตร พื้นที่ทั้งหมดของตำบลมีเนื้อที่ประมาณ 68,709.2 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ 109.93 ตารางกิโลเมตร แยกเป็นในเขตเทศบาลตำบลวังชมภู 400 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ 0.64 ตารางกิโลเมตร ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 68,309.2 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ 10009.29 ตารางกิโลเมตร มีสภาพพื้นที่เป็นหุบเขา มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 13 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลทั้งหมด 1 หมู่บ้าน และหมู่บ้านที่อยู่นอกเขตเทศบาล 12 หมู่บ้าน

ที่มา http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=670113

ดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูล เบื้องต้นของตำบลวังชมภู  มาคุยกันเรื่องมัสยิดกันดีกว่า  เหตุที่มาถึงมัสยิดนี้ ก็หนีไม่พ้นเรื่องงาน กิจกรรม ของศูนย์ประสานงานภาคเหนือ  ในโครงการมัสยิดครบวงจร (มัสยิดปลอดบุหรี่) มัสยิดแห่งนี้ เป็นแหล่งหนึ่งที่ทางเทศบาลตำบลวังชมภู จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของตำบล 

(นายห้างการีม  พิทักษณ์ประธานพี่ชายกำนัน)

อีหม่ามคนปัจจุบัน  ชื่อกำนันศักดา  พิทักษณ์ประทาน หรือในกลุ่มมุสลิมประทาน เขาเรียกกันว่า  ผู้ใหญ่ยิด   กำนันท่านมีพี่ชายฝาแฝด อีกท่านหนึ่งซึ่งชาวบ้านแถวนั้นเขาเรียกนายห้างการีม เกิดห่างกันไม่กี่นาที  นายห้างการีมเล่าให้ฟังถึงเรื่องการสร้างมัสยิด เริ่มจากเมื่อ  ยี่สิบกว่าปีที่แล้ว จำวันเดือนปี ไม่ได้ ที่ดินที่สร้างมัสยิด เป็นที่ดินที่ได้รับการวากัฟ หรือยกให้สร้างมัสยิด โดยคุณพ่อ หรือ ดาดา ของท่าน  ก่อนนั้น ก็จะใช้บ้านของท่านเป็นที่รวมกันละหมาด  การออกแบบมัสยิดนั้น  เป็นการออกแบบและเอาใจใส่จาก บังลีลม  จำนามสกุลไม่ได้   ซึ่งท่านเป็นมุสลิมเชื้อสายมาลายู คน กทม. ซึ่งท่านมาทำงานในจังหวัดนี้  ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว  (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน)  เรื่องราวของมัสยิด คงจะต้องรอคนพื้นที่ ทำประวัติความเป็นมาเอง  เพราะผมมีเวลาน้อย จึงไม่ค่อยได้รายละเอียดมาฝาก ที่เท่าที่ทราบ

(กำนันศักดา  พิทักษณ์ประทาน อีหม่ามประจำมัสยิดวังชมภู)

เท่าที่ทราบจากกำนัน  มุสลิม ในจังหวัด เพชรบรณ์ ส่วนมากจะมีเชื้อสายปาทาน ทั้งจังหวัด มีมุสลิมประมาณ   ๗๐  ครอบครัว ประชากรมุสลิม มีไม่เกิน ๓๐๐ คน  แต่มีมัสยิด  ทั้งหมดในจังหวัด จำนวน  ๓ มัสยิด  คือ  มัสยิดวังชมภู  มัสยิดวังพิกุล  อ.บึงสามพราน   มัสยิดวังกระดาษ  อ.วังโปร่ง  กำนันมุสลิมท่านนี้ เป็นผู้ที่มีศักยภาพสูงในการทำงาน เป็นที่ไว้วางใจทั้งประชาชนในพื้นที่ และองค์กรของหน่วยงานรัฐ ได้รับคัดเลือกเป็นกำนันแหนบทองคำสมกับที่เป็นคนดีและเป็นที่รักใคร่ของ คนตำบลวังชมภู

คำสำคัญ (Tags): #มัสยิดภาคเหนือ
หมายเลขบันทึก: 236458เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาชมสีชมพูของมัสยิด

และอ่านเรื่องราวดีดีนะคะ

อีหม่ามนี่คืออะไรคะ..ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย..

ขอบคุณข้อมูลดีดีค่ะ

แวะมาเที่ยวมัสยิดสีชมพูด้วยคนค่ะ ที่บ้านเก๋ก็มีมัสยิดเหมือนกันค่ะ เป็นมัสยิดกลางเมื่อก่อนสีเขียว แต่ตอนนี้สีฟ้าแล้วค่ะ รูปที่เอามาให้ดูนี่ยังเป็นสีเดิมอยู่ค่ะ :)

              

มัสยิดสวยจัง ......จากนรา

ตอบคุณ add ต้องขอโทษที่ตอบช้าไปหน่อย เอาเป็นว่า

อีหม่าม ในอิสลาม มีดังนี้

อิหม่าม

เป็นภาษาอาหรับแปลว่า“ผู้นํา” ถ้าในการละหมาดเรียกว่า“ผู้นําการละหมาด” ในประเทศไทย

อิหม่าม หมายถึง ผู้นําท้องถิ่นมุสลิม โดยมีมัสยิดเป็นจุดศูนย์รวม แต่เดิมปฏิบัติภายในหน้าที่แต่เฉพาะศาสนาเท่านั้น มีงานทําเป็นอาชีพเช่นเดียวกับชายทั่วไป ในปัจจุบันอิหม่ามต้องทําหน้าที่ทั้งด้านศาสนาและสังคมอีกด้วย

หน้าที่ของอิหม่าม ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามพ.ศ. 2540 มีดังนี้

1. ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบัญญัติศาสนาอิสลาม

2. ปกครองดูแลและแนะนําเจ้าหน้าที่ของมัสยิดให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เรียบร้อย

3. แนะนําให้สัปบุรุษประจํามัสยิดปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและ

กฎหมาย

4. อํานวยความสะดวกแก่มุสลิมในการปฏิบัติศาสนกิจ

5. สั่งสอนและอบรมหลักธรรมทางศาสนาอิสลามแก่บรรดาสัปบุรุษประจํามัสยิด

คำว่า สัปปุรุษ ใช้เรียก แทนสมาชิก เช่น สัปปุรุษมัสยิด เชียงใหม่ เป็นต้น

ขอบคุณครับสำหรับคำถาม

อยากสอบถามพี่ชุมพลว่าพอรู้จักชุมชนอิสลามที่เชียงใหม่ไม๊ครับ เพราะว่าอยากจะย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่

ลองโทรมาสอบถามข้อมูล ซิครับ

089-636-3296

อยากบอกว่ารักศาสนาอิสลามมากๆค่ะ

อัสลามวาลัยกุม ผมภูมิใจมากที่เกิดมาเป็นลูกของอัลเลาะห์ เด็กนาเคียน นครศรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท