วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ


สนับสนุนองค์คณะบุคคลให้มีส่วนร่วมในการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่

                                      วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)

จากการดำเนินงานตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีงบประมาณ 2551

(สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บันทึกข้อมูล)

จากการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2551สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในแต่ละกลยุทธ์/ประเด็นหลักบ้างหรือไม่  ถ้ามี ให้สรุปข้อมูลแต่ละหัวข้อที่กำหนดไว้ให้ชัดเจน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1

ชื่อ Best Practice  การทำงานแบบมีส่วนร่วมของ 3 องค์คณะบุคคล  ต่อการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1

สอดคล้องกับประเด็นหลัก/กลยุทธ์ 5.1  การส่งเสริม สนับสนุนองค์คณะบุคคลให้มีส่วนร่วมในการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่และสถานศึกษาตามบทบาทหน้าที่

       1.  แนวคิด/ความเป็นมาของ Best Practice                        

ความเป็นมาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช  2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา20 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ   การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป  ไปยังคณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการ กำกับ ดูแลรับผิดชอบ มาตรา 20 วรรคสี่          แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  กำหนดให้มีคณะกรรมการ ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ดูแลการบริหาร และจัดการศึกษาด้านวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลทุกหน่วยงานภายนอก    เพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนสู่จุดมุ่งหมายของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติ         การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1  มุ่งเน้นการทำงานแบบมทีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย          มาโดยตลอด  และเห็นว่าคณะกรรมการทั้ง 3  องค์คณะ  ได้แก่คณะกรรมการ ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของ   เขตพื้นที่การศึกษา (ก.ต.ป.น.) คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (กพท.) และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 (อ.ก.ค.ศ.)   เป็นองค์คณะบุคคลที่สำคัญในการพัฒนายกระดับคุณภาพ  การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลพบุรีเขต 1 และสถานศึกษาในสังกัด จึงมุ่งเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทั้ง 3  องค์คณะบุคคลมาอย่างต่อเนื่อง

 2.  วัตถุประสงค์และประโยชน์ของ Best Practice

                 2.1  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

                 2.2  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดให้ได้ตามมาตรฐานตามที่กำหนด

        3.  กลุ่มเป้าหมายในการนำ Best Practice ไปใช้

                 3.1  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1

                 3.2  lสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1

                 3.3  นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1

       4. ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice (ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มพัฒนา)

        เริ่มดำเนินการพัฒนา Best Practice ตั้งแต่ปี 2549-2551 โดยมีส่วนร่วมในการตราจสอบ  ทบทวน  วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา   มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ร่วมกำกับติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา   และปรับปรุงแก้ไข  พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

 5.  รายละเอียดของ Best Practice (กิจกรรมการดำเนินงาน ขั้นตอนการใช้ ฯลฯ)       

       5.1  กำหนดวันประชุมขององค์คณะบุคคลแต่ละองค์คณะ ( 1  ครั้ง/เดือน)   และวันประชุมร่วมกันของทั้ง 3  องค์คณะบุคคล   ( 2 ครั้ง/เดือน)  

       5.2  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1 นำเสนอผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ต่อคณะกรรมการทั้ง  3      องค์คณะบุคคล  ได้แก่  ก.ต.ป.น.    กพท.  และ อ.ก.ค.ศ.

       5.3 คณะกรรมการทั้ง 3  องค์คณะบุคคล ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางานทั้งด้านวิชาการ  ด้านบริหารจัดการ            และการพัฒนาบุคลากร

       5.4 วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน  ทั้งแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1

             5.5  กำหนดนโยบาย มาตรฐานตัวชี้วัดความสำเร็จของ สำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1 และประกาศใช้นโยบาย มาตรฐานตัวชี้วัดความสำเร็จของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1

             5.6  คณะกรรมการทั้ง  3  องค์คณะร่วมกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ  อย่างสม่ำเสมอ  ทั้งกิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี  และกิจกรรมเสริมต่างๆ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต  1

             5.7 คณะกรรมการทั้ง 3 องค์คณะบุคคลร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1  และสถานศึกษาในสังกัด

             5.8 ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง  แก้ไข และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

6. องค์ความรู้/ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำ Best Practice    ไปใช้

            6.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1  มีกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง           

            6.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1และสถานศึกษาในสังกัดมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม

            6.3 ผลการดำเนินงานมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด

7.  กระบวนการทบทวน กลั่นกรอง ตรวจสอบ Best Practice เพื่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศ(พร้อมระบุช่วงเวลาการทบทวน กลั่นกรอง ตรวจสอบซ้ำ) มีการทบทวน กลั่นกรอง ตรวจสอบ 3  ขั้นตอน  ได้แก่

           7.1 ทบทวน  กลั่นกรอง ตรวจสอบ   ก่อนดำเนินการ โดยให้ผู้รับผิดชอบงานนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมา        ต่อ 3 องค์คณะบุคคล  เพื่อให้ข้อสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนา       

          7.2 ทบทวน  กลั่นกรอง ตรวจสอบ  ระหว่างดำเนินการ โดยผู้รับผิดชอบนำเสนอความก้าวหน้า ของการดำเนินงานต่อที่ประชุมขององค์คณะบุคคล ตามระยะเวลาที่กำหนดทุก 1-2 เดือน                               

           7.3 ทบทวน  กลั่นกรอง ตรวจสอบ   หลังดำเนินการโดยทั้ง 3 องค์คณะบุคคล ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1  เป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน  นิเทศ  กำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานในแต่ละรอบปี

8. รูปแบบ/วิธีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ Best Practice

      8.1   จัดทำเอกสารเผยแพร่  ได้แก่เอกสารมาตรฐานและตัวชี้วัดความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1  เอกสารสรุปรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  เอกสารรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1   

      8.2  ประชุมชี้แจง แจ้งผลการดำเนินงานให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ เช่น แจ้งต่อที่ประชุมทีมบริหารสำนักงานเขตพื้นที่      การศึกษาลพบุรีเขต 1  ที่ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด ที่ประชุมของทั้ง   องค์คณะบุคคล

      8.3 เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง  เช่น วิทยุท้องถิ่น   วารสาร และเว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1    เว็บไซต์ของกลุ่มนิเทศ  ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา   

9.  การขยายผล Best Practice/องค์กร หน่วยงานที่มีส่วนร่วม

     - ได้ขยายผลการดำเนินงานให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นที่มาศึกษาดูงาน  เช่น  สพท.เพชรบูรณ์ เขต 1  สพท. ชัยภูมิ เขต 2   นนทบุรีเขต 1  สระบุรีเขต 1 ฯลฯ เป็นต้น

----------------------------------------------

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การมีส่วนร่วม
หมายเลขบันทึก: 236451เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท