cognitive theories ต่อ


cognitive theories ต่อ

ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism) 

 ผู้ที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้  คือ  ธอร์นไดค์  (Thorndike)  ซึ่งได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือ  การที่   

ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง  (Bond)  ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  และได้รับ

ความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น  ธอร์นไดค์ได้ทำการทดลองพบว่า  การเรียนรู้ของอินทรีย์ที่ด้อยความสามารถเกิดจากการลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) ซึ่งต่อมาเขานิยมเรียกว่า  การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง  การทดลองของธอร์นไดค์ที่รู้จักกันดีที่สุด  คือ  การเอาแมวหิวใส่ในกรง  ข้างนอกกรงมีอาหารทิ้งไว้ให้แมวเห็น  ในกรงมีเชือกซึ่งปลายข้างหนึ่งผูกกับบานประตูไว้  ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งเมื่อถูกดึงจะทำให้ประตูเปิด  ธอร์นไดค์ได้สังเกตเห็นว่า  ในระยะแรก ๆ แมวจะวิ่งไปวิ่งมา  ข่วนโน่นกัดนี่  เผอิญไปถูกเชือกทำให้ประตูเปิด  แมวออกไปกินอาหารได้  เมื่อจับแมวใส่กรง  ครั้งต่อไปแมวจะดึงเชือกได้เร็วขึ้น  จนกระทั่งในที่สุดแมวสามารถดึงเชือกได้ในทันที  ธอร์นไดค์ได้สรุปว่าการลองผิดลองถูก จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  และการเรียนรู้ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง  (Connection) ระหว่างสิ่งเร้า (Stimuli) และการตอบสนอง ( Responses )

            การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก มีใจความที่สำคัญว่า  เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้า  อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี  จนพบกับวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์  เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับวิ่งเร้านั้น ๆ มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น  โดยมีหลักเกณฑ์และลำดับขั้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบนี้  คือ

1. มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นสิ่งเร้าให้อินทรีย์แสดงการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมออกมา

2. อินทรีย์จะแสดงอาการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

3. ปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งไป

4. เมื่อปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจถูกตัดทิ้งไป  จนเหลือปฏิกิริยาที่ทำให้เกิด

ความพอใจ  อินทรีย์จะถือเอากิริยาตอบสนองที่ถูกต้องและจะแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ( Interaction )  นั้นมากระทบอีก                                               

นอกจากนี้ธอร์นไดค์  ได้ตั้งกฎแห่งการเรียนรู้ขึ้นอีก  3  กฎ  คือ

1.      กฎแห่งผล ( Law of Effect )  กล่าวว่าเมื่อการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองนำ

ความพอใจมาให้  การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นขึ้น  ถ้าความสัมพันธ์นี้นำความรำคาญใจมาให้  ความสัมพันธ์นี้ก็จะคลายความแน่นแฟ้นลง  หรืออาจจะกล่าวได้ว่า  ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจะต้องมีรางวัลให้  (รางวัลมิได้หมายถึงสิ่งของแต่อย่างเดียว  แต่รวมเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ผู้เรียน   รู้สึกพอใจ  เช่น  การให้คำชมเชย เป็นต้น )  เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ต้องการออกมา  ถ้าจะให้พฤติกรรมบางอย่างหายไปเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาจะต้องมีการทำโทษ

 

เมื่อธอร์นไดค์ประกาศกฎแห่งผลออกมาเช่นนี้  มีผู้พยายามทดลองเพิ่มเติมและมีผู้ได้แย้งกัน

เป็นอันมาก  ต่อมาธอร์นไดค์พบว่าการทำโทษมิได้ทำให้การเชื่อมโยงคลายลง  ในที่สุดก็สรุปว่าถ้าการทำโทษมีผลอยู่บ้าง  ก็ไม่ได้ทำให้การเชื่อมโยงอันเก่าคลายลง  แต่จะเป็นการบังคับให้ผู้เรียนพยายามลองแสดงอาการตอบสนองอย่างอื่น  ในที่สุดธอร์นไดค์จึงล้มเลิกกฎแห่งผลที่เกี่ยวกับการลงโทษ  แต่ยังคงเหลือกฎแห่งผลในด้านการให้รางวัลไว้ว่า  รางวัลเท่านั้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น

2.      กฎแห่งการฝึก ( Law of Exercise ) จากการสังเกตเมื่อเอาแมวใส่กรงครั้งหลัง  แมวจะหา

ทางออกจากกรงได้เร็วขึ้น  เมื่อทดลองนาน ๆ เข้าแมวก็สามารถออกจากกรงได้ทันที  ตามลักษณะนี้ธอร์นไดค์อธิบายว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองได้สัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น  และความสัมพันธ์นี้จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  เมื่อมีการฝึกหัดหรือซ้ำบ่อย ๆ และความสัมพันธ์นี้จะคลายอ่อนลงเมื่อไม่ได้ใช้  และธอร์นไดค์เชื่อว่าการกระที่ไม่มีรางวัลเป็นผลตอบแทนหลังการตอบสนองนั้น ๆ สิ้นสุดลง  จะต้องลงเอยด้วยความสำเร็จ  มิฉะนั้นการกระทำนั้นก็ไม่มีความหมาย

แต่หลังจากปี ค..1930 ธอร์นไดค์ได้แก้กฎแห่งการฝึกนี้ใหม่  เพราะในบางกรณีกฎแห่งการฝึก

และกฎแห่งผลไม่สามารถใช้ในสถานการณ์เดียวกันได้  เช่น  เมื่อปิดตาแล้ว  ทดลองหัดลากเส้นให้ยาว 3 นิ้ว  แม้ให้ฝึกหัดลากเส้นเท่าไรก็ตาม  ก็ไม่สามารถลากเส้นให้ยาว 3 นิ้วได้  ดังนั้นการฝึกหัดทำจะมีผลดีต่อการเรียนรู้ด้วยตัวของมันเองไม่ได้  จะต้องมีเหตุผลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ดังนั้นธอร์นไดค์จึงประกาศยกเลิกกฎแห่งการฝึกนี้  แต่ยังเชื่อว่าการฝึกฝนที่มีการควบคุมที่ดีก็ยังมีผลดีต่อการเรียนรู้อยู่นั่นเอง  กล่าวคือ  ถ้าเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทราบผลของการเรียนแต่ละครั้งว่ายาวหรือสั้นไปเท่าใด  การฝึกหัดก็สามารถทำให้ผู้ฝึกหัดมีโอกาสลากเส้นให้ยาว 3 นิ้วได้

3.      กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness ) ธอร์นไดค์ตั้งกฎแห่งความพร้อมนี้เพื่อเสริมกฎแห่ง

ผล  และได้อธิบายไว้ในรูปของการเตรียมตัว  และการเตรียมพร้อม  ในการที่จะตอบสนองกิจกรรมที่ตามมาหลังจากการที่มีการเตรียมตัวพร้อมแล้ว  เช่น  ในสถานการณ์ของแมวในกรง  แมวจะทำอะไรออกมานั้น  แมวจะต้องหิว  แมวสามารถเอาเท้าตะปบเชือกที่ห้อยแขวนอยู่นั้นได้  และมีประสาทสัมผัสที่จะรับรู้ว่าได้รับผลพอใจหรือไม่พฤติกรรมที่แสดงออกไปแล้ว  เป็นต้น  หรือถ้ามนุษย์พร้อมที่จะเรียนรู้อะไรบางอย่างได้  พร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่จำเป็นสำหรับขบวนการการเรียนรู้นั้น  เช่น  จะต้องมีร่างกายที่สูงพอ  แข็งแรงและอยู่ในสภาวะจูงใจที่เหมาะสม  ผู้เรียนจะแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมอะไรออกมานั้น             ธอร์นไดค์ให้หลักไว้ 3 ข้อ คือ

1.      เมื่อหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกมา  ถ้าผู้กระทำทำด้วยความสบายหรือ

พอใจไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงการกระทำนี้ได้

2.      ถ้าหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกแต่ไม่ได้แสดง  จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ

                  3.      ถ้าหน่วยของการกระทำยังไม่พร้อมที่จะแสดงออก  แต่จำเป็นต้องแสดงออก 

การแสดงออกนั้น ๆ กระทำไปด้วยความไม่สบายใจไม่พอใจเช่นกัน  ถึงแม้ว่าธอร์นไดค์ได้ปรับปรุงแก้ไขและขยายแนวความคิดของเขาอยู่ตลอดเวลา  ทำให้กฎแห่งความพร้อมและกฎแห่งการฝึกหัดหย่อน

ความสำคัญไป  ยังคงเหลือเพียงกฎแห่งผลที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่  แต่ในกฎนี้ก็เหลือเพียงด้านของรางวัลที่มีผลต่อการเรียนรู้ ส่วนด้านการลงโทษกับการเรียนรู้นั้นถูกตัดทิ้งไป

 

การนำแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมมาใช้กับการศึกษา

 

ความเชื่อพื้นฐาน

ตัวอย่าง

การนำมาใช้กับการศึกษา

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

สบโชคไม่ตั้งใจเรียนเพราะบรรยากาศการเรียนไม่น่าสนใจ

พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสนใจเรียน

เน้นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ (สิ่งเร้าและการตอบสนอง)

สมหวังแสดงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น คุย ทำงานอื่น  แหย่เพื่อน  การตอบสนองของครูและเพื่อนในชั้นจะเป็นสิ่งเร้าต่อพฤติกรรมของสมหวัง

คิดถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัวก่อให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะสมของผู้เรียน

การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของสมนึกเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ

อย่าเข้าใจว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจนกว่าจะเห็นพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป

ความต่อเนื่องของเหตุการณ์

ชัยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อต้องการได้รับความสนใจ

ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องจัดเหตุการ์เพื่อส่งเสริมหรือขัดขวางทันทีทันใด

ความเชื่อพื้นฐาน

ตัวอย่าง

การนำมาใช้กับการศึกษา

หลังการเรียนรู้ที่เหมือนกัน สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้

สมหวังแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อเรียกร้องความสนใจเปรียบได้กับการที่หนูกดปุ่มเพื่อรับอาหาร

นำหลักการทดลองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้  ซึ่งศึกษาทดลองกับสัตว์ประเภทต่างๆ  มาใช้กับสภาพการเรียนในชั้นเรียน

 

                        ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง    (Constructivism)

เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา  ปรัชญา  และมนุษยวิทยา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา  เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการได้มาซึ่งความรู้และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร  ซึ่งเพอร์กิน  ได้อธิบายว่า Constructivism  คือ  การที่ผู้เรียนไม่ได้รับเอาข้อมูลและเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที  แต่จะแปลความหมายของข้อมูลความรู้เหล่านั้น  โดยประสบการณ์ของตนและเสริมขยายและทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญาของพีอาเจย์  การเรียนรู้เกิดจากการค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจากความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละบุคคลได้สร้างความรู้ขึ้นและทำให้สำเร้จโดยผ่านกระบวนการของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล  เป็นการปรับตัวของตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อยู่ในสภาพสมดุล  ประกอบด้วยกระบวนการ  2 อย่าง คือ

      1.การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation)  เป็นกระบวนการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและซึมซาบหรือดูดซึมเอาประสบการ์ใหม่เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันโดยสมองจะปรับเอาประสบการณ์ใหม่เข้ากับความคิด  ความรู้ในโครงสร้างที่เกิดจากการเรียนรู้เดิมที่มีอยู่

   2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา  (Accomodation)  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม  คือเมื่อได้ซึมซาบหรือดูดซึมเอาประสบการณ์ใหม่เข้าไปในโครงสร้างเดิมแล้ว  ก็จะทำการปรับประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองก่อนแล้ว แต่ถ้าไม่เข้ากันได้ก็จะทำการสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรับประสบการณ์ใหม่นั้น

      ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง ผู้เรียนจะปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม  การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลจะมีระดับแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมาากขึ้นเป็นลำดับและผู้เรียนจะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

      ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองมีหลักการว่าการเรียนรู้  คือ  การแก้ปัญหา  ซึ่งขึ้นอยู่กับการค้นพบของแต่ละบุคคล  และผู้เรียนจะมีแรงจูงใจจากภายใน  ผู้เรียนจะเป็นผู้กระตือรือร้น  มีการควบคุมตนเองและเป็นผู้ที่มีการตอบสนองด้วย  จุดมุ่งหมายของการสอนจะมีการยืดหยุ่นโดยยึดหลักว่าไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด  ดังนั้นเป้าหมายของการออกแบบการสอนก็ควรจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับ  การสร้างความคิดหรือปัญญาให้เป็นเครื่องมือ สำหรับนำเอาสิ่งแวดล้อมของการเรียนที่มีประโยชน์มาช่วยให้เกิดการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน การนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองมาใช้  จะต้องคำนึงถึงเครื่องมืออุปกรณ์การสอนด้วย  เพราะทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ผู้เรียนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหาความรู้ด้วยตนเอง  เช่น  คอมพิวเตอร์  ดังนั้นเครื่องมือทั้งHardware  และ  Software  จะต้องเหมาะสมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้   แนวคิดของทฤษฎีนี้ได้แก่

      1. ผู้เรียนจะมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  บุคคล  เหตุการณ์  และสิ่งอื่นๆ  และผู้เรียนจะปรับตนเองโดยการดูดซึม  สร้างโครงสร้างทางปัญญาใหม่  และการบวนการของความสมดุล  เพื่อให้รับสิ่งแวดล้อมหรือความจริงใหม่เข้าสู่ความคิดของตนเองได้

2. ในการนำเสนอหรืออธิบายความจริงที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนั้น  ผู้เรียนจะสร้างรูปแบบหรือตัวแทนของสิ่งของ  ปรากฏการณ์  และเหตุการณ์ขึ้นในสมองของผู้เรียนเอง  ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

1.      ผู้เรียนอาจมีผู้ให้คำปรึกษา (Mentor)  เช่น  ครูผู้สอนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง  เพื่อช่วยให้ได้

สร้างความหมายต่อความจริงหรือความรู้ที่ผู้เรียนได้รับเอาไว้  แต่อย่างไรก็ตาม  ความหมายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้

2.      ผู้เรียนจะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-regulated  Learning)

การออกแบบการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง

1.  ผู้สอนต้องให้บริบทการเรียนรู้ที่มีความหมาย  เพื่อสนับสนุนแรงจูงใจภายในของผู้เรียนและการควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

2.      สร้างรูปแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  จากสิ่งที่รู้แล้วไปสู่สิ่งที่ไม่รู้  รูปแบบนี้จะคล้ายกับ

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออสซูเบล  คือให้เรียนรู้จากสิ่งที่มีประสบการณ์มาก่อนไปสู่สิ่งที่เป็นเรื่องใหม่

3.      ให้เกิดความสมดุลระหว่างการเรียนรู้แบบอนุมาน  (Deductive)  และอุปมาน  (Inductive) 

คือเรียนจากเรื่องทั่วไปไปสู่เรื่องเฉพาะเจาะจง  และเรียนจากเรื่องเฉพาะหรือตัวอย่างต่างๆ  ไปสู่หลักการ  ให้มีอย่างสมดุลไม่มากน้อยกว่ากัน  เพื่อให้รู้วิธีการเรียนในการแก้ปัญหาทั้ง  2  แนวทาง

4.      เน้นประโยชน์ของความผิดพลาด  แต่ทั้งนี้การผิดพลาดนั้นจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อเป้า

ประสงค์ของกิจกรรมนั้นชัดเจน  เพื่อผู้เรียนจะได้หาวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดไสู่เป้าประสงค์นั้นได้ถูกต้อง

คำสำคัญ (Tags): #cognitive theoriesต่อ
หมายเลขบันทึก: 236136เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2009 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท