12 มกราคม 2553 สัมภาษณ์ ผู้ใหญ่บ้าน พ่อหลวงไข่


ทันตกรรม ชุมชน

12 มกราคม 52

 

 


 


 


 


                จากการสัมภาณณ์พ่อหลวงไข่เกี่ยวกับการสร้างหมู่บ้าน โดยตอนแรกอยู่กับฝั่งตื้นประมาณ 30-40 หลังคาเรือน ซึ่งมักไม่ค่อยได้รับการดูแล ทำให้โยกย้ายกันเข้ามาในโครงการของกรมป่าไม้ (หมู่บ้านป่าไม้ 3) เมื่อมีรายได้จากการขายของก็ค่อยๆ ถางป่าเพื่อทำเป็นทางเข้าหมู่บ้าน จนกระทั่งปี 2544 จึงได้แยกออกมาจากหมู่บ้านร่องบอน ซึ่งการที่จะยอมรับให้เป็นหมู่บ้านนั้นจะต้อง มีวัด โดยได้มีการออกแบบขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นศาลา พระธาตุ กุฏิ เจ้าแม่กวนอิม ฯลฯ การแยกออกมานั้นไม่ได้ทำไปเพื่อให้เกิดความขัดแย้งกัน แต่ทำไปเพื่อให้ชาวบ้านบางส่วนที่ยังคงอยู่ในป่าให้ลงมาสร้างหมู่บ้านกันที่นี่ คือ อยู่กับพ่อไข่โดยมีที่พึ่งศาสนาซึ่งก็คือวัดดังกล่าว

 

 

 


 

 


 

 

 

 

 


                จากเหตุผลที่พื้นที่ไม่สามารถทำนาได้ ดังนั้นอาชีพหลักในช่วงแรก คือ การรับจ้าง ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ ความทุกข์ยากในเรื่องรายได้ แนวทางหนึ่งในการแก้ไขตามแนวคิดของพ่อหลวงไข่ คือ การเอาศาสนาและสิ่งแวดล้อมเป็นที่ตั้ง

 

 

 

 

 

 


 



                โครงการแรกในการทำงานของพ่อหลวงไข่ คือ การอบรมยาเสพติด เนื่องจากในช่วงเวลานั้นมีเยาวชนประมาณ 11 คนติดยาเสพติดอยู่ จึงทำการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ก่อน เพื่อจัดสรรสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในหมู่บ้าน

 


โครงการที่สอง เป็นการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยเน้นในเรื่องป่าไม้ เนื่องจากพ่อหลวงไข่ตระหนักว่าการสร้างเป็นหมู่บ้านขึ้นมานั้นจะต้องมีการถางป่าและทำลายป่าไปมาก ถ้าเราไม่หยุดธรรมชาติก็จะค่อย ๆ สูญหายไปเรื่อยๆ จึงทำการอนุรักษ์และปลูกป่าทดแทน


โครงการที่สาม ยังคงเป็นโครงการที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับชาวบ้าน  โดยมีการสร้างวัด วังมัจฉา เจ้าแม่กวนอิม (ในแง่จิตใจ), ศาลเจ้าจี่กง (เรื่องเงินเป็นที่พึ่งของทุกคน), พระธาตุ (ผู้เฒ่า) และเมื่อมีสิ่งแวดล้อมมายึดเหนี่ยวจิตใจชาวบ้านแล้วจึงมีการนำปลา นก และต้นไม้มาทำให้สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์มากขึ้น

 



วิถีชีวิตของชาวบ้านส่วนมากจะทำอาชีพรับจ้างทั่วไป ซึ่งไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ดังนั้นจึงมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอาชีพขึ่นภายในหมู่บ้าน

 



โครงการที่สี่ กลุ่มปุ๋ยหมัก แต่การขายปุ๋ยค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงต้องหากลุ่มอาชีพอื่นเพิ่มเติมเพราะมีเพียงบางบ้านที่เข้าในกลุ่มนี้


โครงการที่ห้า โครงการบ้านจุ้มเมืองเย็น เป็นโครงการที่เน้นภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่นการปลูกผักไว้กินเอง โดยมีพ่อลาเป็นแกนนำหลักในการช่วยดูแลเรื่องการปลูกผัก ซึ่งตอนแรกการปลูกพืชผักสวนครัวยังมีปัญหาในการปลูก ปลูกแล้วไม่ค่อยขึ้น พ่อหลวงไข่จึงมีการเสริมกำลังใจให้กับชาวบ้าน ได้แก่ การนำมาห่มมาแจกแก่ชาวบ้าน เมื่อมีการเรียนรู้มากขึ้นจึงทำให้ประสบความสำเร็จในการปลูกผักสวนครัวมากขึ้น


โครงการที่หก เนื่องจากสุราเป็นสินค้าที่ขายดี จึงทำให้มีการผลิตเหล้าขึ้นเพื่อนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน


นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรและการจัดระเบียบภายในบ้านในแต่ละหลัง โดยมีการจัดสร้างบ้านตัวอย่างให้ชาวบ้านดูเป็นตัวอย่างในการจัดบ้านให้เป็นระเบียบเพื่อการมีสุขลักษณะที่ดี และเป็นที่ยอมรับแก่บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาดู โดยในบริเวณบ้านเกษตรตัวอย่างนั้นได้มีโครงการต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม เช่น โครงการสายใยรัก เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ และมีการปลูกพืชสวนครัวเองภายในบ้านอีกด้วย

 


หอกระจายข่าวภายในหมู่บ้านเป็นทางหนึ่งในการสื่อสารกันภายในหมู่บ้าน


 


พ่อหลวงไข่มีการคิดเพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ตลอดทั้งปีและเป็นการมีรายได้แบบไม่ต้องลงทุน เช่น

·         การจับ แมงแกง เป็นแมลงที่หาได้ตามต้นไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย ซึ่งสามารถนำไปขายได้โลละเกือบ 120 บาท และถ้ามีการแปรรูป เช่นการนำไปคั่วจะได้โลละเกือบ 150 บาท ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มโดยไม่ต้องลงทุนและไม่ต้องออกนอกหมู่บ้านไปทำงานหรือว่างงาน

·         มีการนำพันธุ์ต้นไผ่หวานจากนครสวรรค์มาปลูกเพื่อนำมาขายในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากเพื่อเป็นการทดแทนไผ่ป่าซึ่งจะสามารถนำไปขายได้ในช่วงมิถุนายนถึงสิงหาคม ทำให้ไม่เกิดการว่างงานขึ้น รายได้จะได้ไม่ขาด

 


นอกจากนั้นยังมีการกระจายรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เช่น การจ้างเก็บกวาด ยกของ ทำงานที่ไม่หนักมาก หรือแม้แต่เยาวชนก็จะทำให้มีรายได้ เช่น การจ้างในวันหยุดเพื่อเก็บกวาด ตัดหญ้า ขนใบไม้มาไว้ที่โรงปุ๋ย โดยเงินที่นำมาเป็นค่าจ้างเป็นเงินเดือนของพ่อหลวงหรือเป็นเงินงบประมาณจาก อบต ที่เป็นรายเดือน


สิ่งที่เป็นความคาดหวังของพ่อหลวงไข่เกี่ยวกับหมู่บ้านวังชมภูในอนาคต คือ การทำให้ภายในหมู่บ้านที่มีบ้านอยู่สองฝั่งถนนมีความเจริญ กินดีอยู่ดี ไม่ต้องการให้มารวมกันอยู่ที่ใดที่หนึ่ง แต่ต้องการให้บ้านที่ติดๆกันประมาณ 4-5 หลังทำอาชีพเดียวกันหรือเป็นกลุ่มอาชีพเดียวกันจะได้ทำให้ชาวบ้านได้มีเวลาอยู่ในบ้านมีเวลาปรับปรุงดูแลบ้านตัวเองและได้มีการพูดคุยกันระหว่างบ้านด้วย ตื่นขึ้นมาก็มีงานทำและอยากให้ทำให้มีการส่งเสริมการขายโดยสามารถมีคนจากภายนอกหมู่บ้านมาซื้อของที่บ้านได้เลย นอกจากนั้นอยากให้ถนนเป็นถนนราดยางด้วยซึ่งจากเดิมเป็นถนนลูกรัง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทันตกรรม
หมายเลขบันทึก: 235950เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2009 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท