หนังสือทำมือ "คุณคิดเหมือนผมมั๊ย KM อยู่ในหัวใจ" ตอนที่ 7


การ ประชุมตกลงที่จะให้มีการทำข้อตกลงเพื่อใช้ในการทำงานของภาคีเครือข่ายและให้ หัวหน้าส่วนลงนามในข้อตกลงในการปฏิบัติงานในชุมชนร่วมกัน และให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย เดือนละ 1 ครั้ง

เครือข่ายคนทำงานชุมชนอยู่ดีมีสุข

                จากโครงการชุมชนเข็มแข็งเมืองไทยแข็งแรง ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชได้ดำเนินการคู่ขนานกับโครงการชุมชนอินทรีย์ ในทุกตำบลโดยเน้นเรื่องการจัดทำแผนชุมชนเข้าสู่การบูรณาการกับแผนพัฒนาของ อบต.และแผนพัฒนาของ อบต. เชื่อมโยงบูรณาการกับแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช โดยมีทีมทำงานของแต่ละหน่วยงานซึ่งทำงานอยู่ในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง ซึ่งก็นับว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง จากการสรุปงานโครงการในปี 2549

                ในปีงบประมาณ 2550 ได้ประชุมทีมพี่เลี้ยงจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนโครงการชุมชนอยู่ดีมีสุข เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2549 เพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกันกับที่ทีทำอยู่  การพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของทีมพี่เลี้ยงใช้โรงพยาบาลมหาราชเป็นฐานทัพ และทำอย่างต่อเนื่อง  และทุกคนต่างก็ลงความเห็นที่จะทำงานเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันและบูรณาการการทำงานร่วมกันด้วย และได้เชิญผู้ที่ปฏิบัติงานในชุมชนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของ 4 กระทรวงหลักคือ พัฒนาชุมชน  เกษตร  กศน. และ สาธารณสุขเข้าประชุมปรึกษาหารือ

                ที่โรงแรมเกียรตินคร เป็นการประชุมครั้งสำคัญในการขับเคลื่อนทีมภาคีเครือข่ายทำงานในพื้นที่โดยให้ทุกหน่วยงานนำเสนอสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานร่วมกันในลักษณะภาคีเครือข่าย ก็มีข้อเสนอมากมายหนึ่งในข้อเสนอก็คือความเป็นราชการซึ่งมีกรอบในการปฏิบัติราชการของแต่ละหน่วยงาน  ซึ่งการประชุมตกลงที่จะให้มีการทำข้อตกลงเพื่อใช้ในการทำงานของภาคีเครือข่ายและให้หัวหน้าส่วนลงนามในข้อตกลงในการปฏิบัติงานในชุมชนร่วมกัน และให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคีเครือข่าย เดือนละ 1 ครั้ง  และให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความคืบหน้าของงานไตรมาสละ 1 ครั้ง (3 เดือน/ครั้ง) และตั้งชื่อภาคีเครือข่ายคนทำงานว่า ภาคีเครือข่ายคนทำงานชุมชนอยู่ดีมีสุขอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  ใช่เป็นการทำงานแบบลอยๆ ภาคีเครือข่ายตกลงที่จะขับเคลื่อนงานในทุกพื้นที่ของอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชและจะใช้พื้นที่ท่าซักเป็นพื้นที่ทำงานแบบเข้มข้น เพื่อนำร่องให้กับพื้นที่ตำบลอื่นๆ ได้เรียนรู้

                การปฏิบัติงานแบบเข้มข้นที่ตำบลท่าซักโดยใช้กรณีฟื้นฟูคลองท่าซักมาขับเคลื่อนชุมชนเพราะจากการทำประชาคมทำให้ทราบปัญหาของประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าซัก เพราะคลองท่าซักคือหัวใจของคนท่าซัก  ซึ่งกรณีนี้ภาคีเครือข่ายได้ลงปฏิบัติงานแบบเข้มข้นในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชน โดยเฉพาะเรื่องของการบำบัดน้ำเสียในคลองท่าซัก  

งานนี้ ได้ใช้งบประมาณการทำเวที KM ปี 51 ซึ่งตำบลท่าซักมีอยู่  3 หมู่บ้านแต่การทำควมเข้าใจกับประชาชนต้องทำทั้ง 9 หมู่บ้าน  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าซักก็ได้สมทบงบประมาณมาจำนวนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการประชุม ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายแกนนำหมู่บ้านละ 30 คน เวทีได้ตกลงใช้วิธีบำบัดน้ำจุลินทรีย์ ซึ่งต้องให้ความรู้กับประชาชนอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมคลองท่าซัก  ให้รู้ธีการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ซึ่งทางหน่วยงาน กศน. และโรงพยาบาลมหาราชรำทำหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชนโดยองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซักสนับสนุนงบประมาณในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการ

การวางแผนการทำงานทีมงาน กศน. และทีมงานโรงพยาบาลมหาราชได้กำหนดยุทธศาสตร์การขยายเชื้อจุลินทรีย์  โดยเริ่มที่เด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อที่เด็กจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติจริงที่บ้าน ซึ่งเป็นการขยายต่อความรู้ไปยังผู้ปกครอง โดยวางแผนการดำเนินงานนี้กับนักเรียนในระบบโรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียนในตำบลท่าซัก การใช้จุลินทรีย์บำบัดนั้นทีมงานได้มองถึงกายภาพของคลองท่าซักซึ่งมีลักษณะน้ำขึ้นน้ำลง และไหลเชี่ยว การใช้         จุลินทรีย์ขยายแบบน้ำอย่างเดียวอาจอยู่ได้ไม่นานเพราะเมือ่น้ำลงอาจพาลงทะเลไปหมด ก็เลยคิดทำจุลินทรีย์แบบเป็นก้อนซึ่งน่าจะอยู่ได้นานกว่า

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ที่วัดคงคาเลียบ  ตำบลท่าซัก ซึ่งได้กำหนดเป็นสถานที่จัดกิจกรรมถวายพระพรแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ การปล่อยจุลินทรีย์น้ำ และจุลินทรีย์แบบก้อนลงคลองท่าซัก  นักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งไทยพุทธ และมุสลิมก็ทะยอยกันมาร่วมงานในครั้งนี้น้ำหมักจุลินทรีย์ที่ทำมาจากที่บ้านคนละ 1 ขวด และก้อนจุลินทรีย์ที่นักเรียนจากโรงเรียนช่วยกันทำก็ทยอยลงสู่ลำคลองหลังจากเสร็จพิธีขอคมาจากแม่น้ำ โดยมีนายไกรราศ  แก้วดี นายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชเป็นประธาน

การเห็นความสำคัญในความร่วมมือในภาคีเครือข่ายที่จะฟื้นฟูคลองท่าซัก และการร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนสังคม หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่จะฟื้นฟูคลองท่าซักและการทำงานร่วมกันในภารกิจอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนสังคม  หน่วยงานภาคีเครือข่ายจึงใช้วันนี้เป็นวันลงนามข้อตกลงการทำงานร่วมกัน (MOU) ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายคนทำงานชุมชนอยู่ดีมีสุขอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีนายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชเป็นประธานและร่วมลงนามในวันนั้น  และที่ผ่านมาได้มีการประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อที่จะขับเคลื่อนการทำงานภายใต้ข้อตกลง ที่ศูนย์ OTOP นครศรีธรรมราช ซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 235054เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณครูราญ

พอดีเห็นบันทึกมี code ติดมา คาดว่าจะติดมาจาก microsoft word ก็เลยอยากแนะนำให้ลองอ่านบันทึกตามลิงก์ http://gotoknow.org/blog/howto4new/230375 ซึ่งทางทีมงานได้เขียนแนะนำการ copy ข้อความมาจาก word โดยใช้แถบเครื่องมือในหน้าเขียนบันทึกค่ะ เพื่อที่จะได้ลบเอา code ที่ติดมาออกไปด้วยค่ะ

รบกวนลองอ่านดูนะคะ

สวัสดีครับ...คุณมะปรางเปรี้ยว

  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับที่กระณาแนะนำ
  • งงเหมือนกันครับ...เพราะนานแล้วที่ไม่ได้เขียนบันทึกเลยนึกว่ายังเหมือนเดิม
  • ขอบพระคุณ เก๋น้อย ด้วยครับที่ช่วยไขความกระจ่างให้กับคนด้อยเทคโนโลยีอย่างครูราญ...
  • ออ...เกือบลืม สวัสดีปีใหม่ครับ... ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลกดลบรรดาลให้ คุณมะปรางเปรี้ยวและทีมงานจงประสบแต่ความสุขความเจริญเทอญ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท