นวัตกรรมกับการแก้ปัญหาทางการศึกษา


นวัตกรรมแก้ปัญหาการศึกษาได้จริงหรือ

นวัตกรรมทางการศึกษา  EDUCATIONAL INNOVATION
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
       คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรางศึกษาธิการมาจากภาษาอังกฤษว่าInnovation มาจากคำกริยา ว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทย เดิมใช้คำว่า นวกรรม ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยน มาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอาเข้ามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น นวัตกร (Innovator)
      ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
      มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
จากความหมายของ นวัตกรรมที่กล่าวมา สามารถจะนำมาสรุปความหมายของคำว่า "นวัตกรรมการศึกษา" ได้ว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การที่จะจัดว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม หรือไม่นั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันมาก เพราะแต่ละคนก็จะให้ความหมายหรือมีความรู้สึกกับคำว่า "ใหม่ " แตกต่างกันไป ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสิ่งเวดล้อมของแต่ละคน ในเรื่องนี้ ดร.เปรื่อง กุมุท ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะของการเกิดนวัตกรรมการศึกษา เอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ
        1. ความคิด หรือการกระทำใหม่นั้นโดยอาจจะเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอน
        2. ความคิด หรือการกระทำใหม่นั้น ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้วแต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย ต้องเลิกไป พอมาถึงเวลานี้มีสิ่งเกื้อหนุนพร้อม จึงนำเอาความคิดนั้นมาใช้ได้อีก เช่น การสอนทางไกล เมื่อก่อนทำไม่ได้ผล เพราะขาดระบบการสื่อสารมวลชนที่เอื้ออำนวย แต่ในปัจจุบัน มีสื่อสารมวลชน ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ช่วยให้สามารถทำได้
        3. ความคิด หรือการกระทำใหม่นั้น เกิดขึ้นพร้อมกับมีสถานการณ์ หรือสิ่งเกื้อหนุนพอดีในขณะนั้นจึงสามารถนำมาใช้ได้ผลดี ซึ่งเป็นความหมายที่แท้จริงของ นวัตกรรมทางการศึกษา
        4. ความคิด หรือการกระทำนั้นใหม่ ครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้บริหารต้านทานไว้ แต่ตอนนี้เปลี่ยนผู้บริหาร หรือผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติไปทางที่สนับสนุน จึงนำกลับมาใช้ได้
        5. ความคิด หรือการกระทำใหม่จริง ๆ ยังไม่เคยมีคนคิดและทำมาเลยในโลกนี้ เพิ่งจะมีคนคิดได้เป็นคนแรก และเห็นว่าน่าจะใช้ได้ จึงนำมาใช้

       นอกจากนี้ยังสามารถจะใช้หลักเกณฑ์อื่นประกอบการพิจารณาด้วยว่า สิ่งนั้นเป็นนวัตกรรมหรือไม่ คือ
         1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ (ทั้งหมดหรือบางส่วน)
         2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบ
         3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ในระหว่างการวิจัย ว่า จะเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์
         4 ยังไม่เป็นส่วนหนึ่ง ในระบบงานปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้แล้ว ไม่ถือว่าเป็น นวัตกรรม ตัวอย่างต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา
            - การสอนโดยครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียน
            - การเรียนตำราแบ่งออกเป็น บท ๆ เนื้อหาติดต่อกัน
            - โรงเรียนระบบมีชั้น ป.1 ป.2 จนถึง ป.6
                 ตัวอย่างต่อไปนี้ถือว่าเป็น นวัตกรรมทางการศึกษา
                     - การสอนแบบกลุ่มกิจกรรม ศูนย์การเรียน
                     - การเรียนตำราแบบโปรแกรม
                     - โรงเรียนไม่แบ่งชั้น
                                 ฯลฯ

             ตามที่กล่าวมาในตอนต้นนั้น แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมในสังคมต่าง ๆ ย่อมจะแตกต่างกันไป บางสิ่งอาจจะเป็นนวัตกรรมของสังคมหนึ่งแต่สิ่งเดียวกันนั้นกลับเป็นสิ่งธรรมดาของอีกสังคมหนึ่งก็ได้

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
             ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐาน ทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
                 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นวิธีใหม่ ๆ เช่นการใช้บทเรียนโปรแกรม เครื่องสอน การสอนเป็นคณะ
                 2. ความพร้อม (Readiness) เดิมที่เดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติแต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
                 3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองความคิดอันนี้ได้แก่ การจัดตารางสอนแบบยืดยุ่น มหาวิทยาลัยเปิด บทเรียนสำเร็จรูป การเรียนทางไปรษณีย์
              4. ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสอทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก

วิธีระบบ (System Approach)
          ระบบคือ ส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่ง ที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น วิธีระบบ เป็นการคิดหรือการทำงานที่ยึดหลักความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันอยู่ โดยถือว่า การทำงานเพื่อให้เกิดผล (Out put) ใดๆก็ตาม ต้องอาศัยทรัพยากร ตัวป้อน (Input) และมีวิธีการ (Process) ของการทำงานนั้นๆ ดังนั้น ระบบ จึงมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
              1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หรือทรัพยากรที่ใช้วัตถุดิบ ทุน ทัพสัมภาระ หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ขบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียนชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการ เป็นต้น ถ้าในเรื่องของระบบการหายใจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
              2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึงการนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือ การให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
              3. ผลผลิตหรือการประเมินผล (Out put) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น การวิเคราะห์ระบบ (System analysis)
             เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยวนการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกัน

ระบบการการเรียนการสอน
          ระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ
              1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
              2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
              3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
              4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
              5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้

นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ
            นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการ จะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรม จึงเป็นสิ่งที่มีขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมา นานแล้ว ก็ถือว่า หมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทนในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมทางการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไป ในวงการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมาก ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอน ศูนย์การเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนทางไกล ฯลฯ
             1 บทเรียนโปรแกรม
                 บางครั้งเรียกว่า บทเรียนสำเร็จรูป programed book, Scramble book บทเรียนด้วยตนเอง เป็นบทเรียนที่จัดลำดับประสบการณ์ให้กับผู้เรียนโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ มีลักษณะที่สำคัญคือ เนื้อหาของบทเรียน ถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ สั้นๆ เรียกว่า "กรอบ" (Frame) ซึ่งจะถูกจัดลำดับขึ้นจากสิ่งที่ง่าย ไปหาสิ่งที่ยาก แต่ละกรอบมีคำอธิบายและคำถามต่อเนื่องกันไป คำถามอาจให้ เติมคำ ถูกผิด หรือเลือกคำตอบ เมื่อผู้เรียนตอบคำถามแล้ว จะสามารถตรวจคำตอบได้ทันทีว่า คำตอบของคนนั้นถูกหรือผิด นักเรียนจะศึกษาไปตามลำดับขั้นและ ปฏิบัติตามคำแนะนำที่กำหนดไว้ในแบบเรียน แบบเรียนนี้จะทำหน้าที่แทนครูเป็นรายตัว (Tutor)
             2 เครื่องสอน (Teaching machine)
เครื่องสอนคือ เครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สอนนักเรียนเป็นรายบุคคล มีส่วนประกอบ ที่สำคัญคือรายการสอน(Programs) ซึ่งหมายถึง สิ่งพิมพ์ หรือสิ่งที่เขียนเป็นรายการป้อนเข้าไปในเครื่องสอนเพื่อใช้เป็นบทเรียนให้นักเรียน เรียนได้ด้วยตนเองผู้เรียนจะต้องสามารถเข้าใจได้ทันทีและกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็นอยู่ได้ตลอดเวลา เครื่องสอนอาจรวมเอาสื่อ หรือเทคนิคหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งจะเป็นการเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
            3 การใช้คอมพิวเตอร์การเรียนการสอน (CAI)
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ ได้ถูกนำมาใช้กับการเรียนการสอนมากขึ้น ทั้งในรูปของคอมพิว เตอร์จัดการสอน(CMI) และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) กลายเป็นรูปแบบของการเรียนการสอนแนวใหม่ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง บทเรียนของคอมพิวเตอร์จะถูกทำให้เป็นโปรแกรมที่แปลกใหม่ ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนและดูเหมือนว่า คอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบทเรียนแบบโปรแกรม
             4 ชุดการสอน และโมดูล (Instructional packages and module)
เป็นวิธีการจัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เลือกสรรแล้ว อันประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย เนื้อหาและวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลาย ที่รวบรวมไว้เป็นระเบียบ เพื่อให้ครูหรือผู้เรียนได้ศึกษาจากประสบการณ์ทั้งหมดนี้ชุดการสอนสร้างขึ้นโดยอาศัยหลักการและทฤษฏีที่สำคัญ คือการใช้สื่อประสม และการใช้วิธีวิเคราะห์ระบบ รู้จักแพร่หลายในชื่อต่างๆ กัน เช่น Learning package, Instructional Packages, Instructional Kits. ฯลฯ
                5 การสอนเป็นคณะ (Team teaching)
การสอนเป็นคณะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่ง ที่จัดให้ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
ทำการสอนร่วมกัน โดยอาจอาศัยครูผู้ช่วย มาช่วยงานด้านวางแผนการสอน เพื่อให้ได้ประโยชน์จาก ความสามารถพิเศษของครูผู้ร่วมคณะ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า
Team teaching จำนวนนักเรียน ในทีมการสอนหนึ่งๆ อาจมีจำนวนตั้งแต่ 40 - 300 คน การจัดกลุ่มคำนึงถึง อายุ ความสนใจ ความถนัด อาจใช้ชั้นเรียนเดิมหรือคละกัน ทั้งนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของคณะ มีการแบ่งกลุ่มย่อย 12-20 คน คณะครูควรอยู่ระหว่าง 5-7 คน ซึ่งมีทั้งผู้มีความรู้ทั่วไปและเฉพาะทาง ครูในทีมแต่ละคนจะต้องสอนร่วมกันมีการประชุมปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันอยู่เสมอ รับผิดชอบการสอนทั้งในกลุ่มใหญ่และเป็นผู้รับผิดชอบประจำกลุ่มย่อย
              6 ศูนย์การเรียน (Learning center)
                  เป็นการจัดเนื้อหาวิชาออกเป็นหน่วยๆ แต่ละหน่วยจะมีกิจกรรม อุปกรณ์และเนื้อหา วิชาแตกต่างกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยการประกอบกิจกรรมจากหน่วยต่าง ๆ ตามที่กำหนดในแต่ละหน่วยการเรียนภายใต้การควบคุมของผู้สอนโดยอาศัยหลักการและทฤษฏีที่สำคัญ คือ การใช้สื่อประสม กระบวนการกลุ่ม
            7 การสอนแบบจุลภาค (Micro teaching)
                เป็นการสอนที่ย่อส่วน หรือจำลองสถานการณ์มาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุมเป็นการสอน ในสถานการณ์ของห้องเรียนแบบง่ายๆ กับนักเรียน 5-10 คน ใช้เวลา 5 - 15นาที เปิดโอกาสให้ครูได้ฝึกฝนทักษะการสอนใหม่ ๆ หลังจากได้ดูแบบหรือตัวอย่างมาแล้ว ขณะสอน มีการบันทึกภาพเพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน จะได้ป

คำสำคัญ (Tags): #ป.โทบริหารมรม.
หมายเลขบันทึก: 234957เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท