เก็บเกี่ยวจากเวทีอ่าวบ้านดอน


ถ้าชาวบ้านไม่เอาจริง-จบ

เก็บเี่กี่ยวความรู้จากเวทีอ่าวบ้านดอน เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2552 ณ โรงแรมร้อยเกาะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

น้าประสิทธิ์ เชื้อเอี่ยม(ตาม่อง)-ทะเลชุมชน

น้าม่วง-อวนรุนเคย;เป็นอาชีพหนึ่งที่ไม่ทำลายทรัพยากร เป็นที่มาของกะปิที่เรากิน

พีมานะ ช่วยชู-งานวิจัยชุมชน ถ้าชาวบ้านไม่เอาด้วย-จบ

พี่ชม-สำหรับชาวบ้าน ต้องกิจกรรมนำ "หาความรู้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง..."โดยตั้งคำถามว่า"เราจะแก้ปัญหาอะไรร่วมกัน"

พี่วิรัตน์-กิจกรรมชุดโครงการอ่าวบ้านดอนประกอบด้วย การชี้แจงโครงการในชุมชนร่วมกับผู้วิจัย(แกนนำชาวบ้านต้นเรื่องต้นคิด)> การประชุมประจำเดือน(ในพื้นที่)> การประชุมเครือข่าย 8 โครงการ >นักวิจัยศึกษาบริบทชุมชน> ถอดบทเรียนพื้นที่ได้ผ่านกิจกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว>รายงานความก้าวหน้าสู่ชุมชน>ปิดงานด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยสู่ชุมชน

กิจกรรมปฏิบัติการ 5 กลุ่ม ได้แก่ ทะเลชุมชน ระเบียบการใช้อ่าว การเฝ้าระวัง การสร้างอาชีพ(เพาะฟักปูเปี้ยว เลี้ยงปูในบ่อกุ้ง เลี้ยงหอย) และการศึกษากุ้งเคย

การสำรวจการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร-มีแบบฟอร์มที่ออกแบบร่วมกัน

บางพื้นที่(ลเม็ด ไชยา)ตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูอ่าวได้

ความรู้อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัย จากภายนอก เช่นการตรวจสอบคุณภาพน้ำ หรือจากภูมิปัญญาเดิม เช่นการเลี้ยงปูดำในบ่อกุ้ง

หลักการสำคัญของการจัดการอ่าว ได้แก่ การมีส่วนร่วม การตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน การแก้ไขปัญหาในโลกของความเป็นจริง การสร้างพลังถ่วงดุลด้วยการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง การสร้างความหมายกิจกรรมของชุมชนต่อสังคม เช่นรั้วกันอวนรุนสีธงชาติ และการบูรณาการหนึ่งกิจกรรมแต่ได้หลายเป้าประสงค์

จากฐานทรัพยากร มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสัตว์น้ำ/ระบบนิเวศ ต้องค้นหาข้อมูล น้ำ ลม เปี้ยว เปลี่ยนแปลงอย่างไรจากตนเองและเพื่อนพี่น้อง แล้วจัดระบบข้อมูล ลงมือทำแล้วแก้ปัญหา อุปสรรคได้ เป็นความภูมิใจและพลัง คุณค่า ความสุขของงาาน

คนอ่าวบ้านดอนสรุปความรู้ 3 เรื่องหลักที่ใช้ในการจัดการอ่าว ได้แก่การฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยการเฝ้าระวัง การฟื้นฟูป่าชายเลน ที่อยู่ของปูเปี้ยว วังปลา ทะเลชุมชน การฟื้นฟูสายน้ำ 20 สายรอบอ่าว และการฟื้นฟูอาชีพบนฐานทรัพยากรอ่าว เช่นนากุ้งร้าง

ข้อค้นพบจากการจัดการอ่าว

1.มีการจัดการข้อมูลให้สามารถสื่อสารได้ เช่นเครื่องมือชนิดใดทำลายล้าง โดยกลุ่มใด

2.มีการหาความจริงของคลองจากปลายน้ำสู่ต้นน้ำ มีข้อมูลยืนยันปัญหา/สถานการณ์ที่ชัดเจน ข้อมูลนี้จะอธิบายปรากฎการณ์ เชื่อมโยงกับครู นักเรียน อบต.

3.กระบวนการ/วิธีดำเนินกิจกรรม วัสดุ อุปกรณ์ กระจายจากคนไปสู่ทีม

4.การจัดกลไกการทำงาน-ใครมีหน้าที่อะไร

5.มีระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาร่วมกันของกลุ่ม/ชุมชน

การฟื้นฟูนากุ้งร้างเกิดจากการค้นพบว่านากุ้งที่ถูกปล่อยให้ร้างกลับมีปลา/กุ้งเข้ามาอยู่อาศัย ชุมชนจึงรวมตัว ทดลอง และขยายผล

คุณอารีย์ จากสตูล มีการทำปฏิทินวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน การแปรรรูปสัตว์น้ำจากเศษปลาที่ไม่มีค่า มีแผนการใช้เครื่องมือ แผนฟื้นฟูทรัพยากร และการรวบรวมสัตว์น้ำเพื่อรวมกันขาย"เป็นเถ้าแก่เสียเอง"

คุณจ๊บ จากพังงา แชร์ประสบการณ์การฟื้นฟูป่าชายเลนบางติบ(และทำน้ำปลาบางติบ) บางกล้วยนอกและการฟื้นฟูหญ้าทะเล(น่าจะมีการประสานงานต่อเพื่อปรับใช้กับปัตตานี-ผู้เขียน) ความร่วมมือของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลสำคัญให้มีการอนุรักษ์ในวงกว้าง เกิดเป็นเครือข่าย"ประชาคมกินปลา"

คุณสมศักดิ์ พิริยโยธา ผอ.ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน ร่วมกับชุมชนประเมินสภาวะทรัพยากรและทำฐานข้อมูล ตั้งศูนย์เรียนรู้ ทำแผนชุมชน และสร้างป่าชุมชน งานวิจัย 3 ปี ปลูกป่าได้ในนากุ้ง มีหอยจุ๊บแจง/หอยธรรมชาติกลับคืนมา

ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำร่วมกัน ปลูกป่าเลนร่วมกัน และจับคนทำผิดร่วมกัน(ความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ องค์กรเอกชน และสื่อมวลชน)

ประเด็นที่ทำร่วมกันได้

1.การกระจายสิทธิ์การถือครอง

2.ปรับปรุงกฎ กติกาการใช้ประโยชน์จากอ่าว

3.ชุมชนต้นแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4.การกำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ชายฝั่ง

5.ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการที่รักษาพืชพันธุ์

6.สื่อเผยแพร่ขยายผลสิ่งดีๆ

7.ทุกคนเป็นสื่อบอกต่อ

8.มีการจัดการความรู้ โดยถ่ายทอด/เดินไปด้วยกัน และขยายผลให้เกิดขึ้นจริง

 

หมายเลขบันทึก: 234757เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2009 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณคะพี่สายลมริน ค้นหาอ่าวบ้านดอน ทำให้ได้เจอ

จะต้องทำ country report คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท