การประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC : กรณีศึกษา 1,2


การประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC
กรณีศึกษา 1


การใช้กระบวนการทำแผนแบบ A.I.C. (มหภาค) ภาพรวมของโครงการทุกระดับ

โครงการรัฐร่วมเอกชน พัฒนาประชากร และคุณภาพชีวิต ... ระดับชาติ

พ.ศ.2532-2539 สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการวางแผนครอบครัว มี 4 กระทรวง ได้แก่ ศึกษาธิการ สาธารณสุข มหาดไทย พาณิชย์ และ 4 สมาคมด้านวางแผนครอบครัว หารูปแบบการพัฒนาประชากร ภายหลังการควบคุมการเพิ่มประชาไว้ได้แล้ว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นต่อไป

หลักการ

พัฒนาคนในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาต่ำ (กชช. 2 ค. ระดับ 2-3) ให้มีความสามารถต่อไปนี้

  1. รวมกลุ่มอาชีพ
  2. ฝึกทำจริง ให้มีความสามารถในการจัดการเองได้ คือ มี 3 ก. และ 1 ข. (กรรมการ - การจัดการ - กองทุน - ข้อมูล)
  3. คิดวิเคราะห์การตลาด การอาชีพ
  4. สมทบเงินยืม 4 ปีแรก ให้ฝึกทดสอบความสามารถด้านการจัดการด้านการเงิน และบัญชี มีสัจจะคืนเงินยืมหมุนเวียน

การดำเนินงาน

  1. คณะกรรมการร่วมของโครงการจัดทำคู่มือการฝึก วิเคราะห์ข้อมูบสินค้า การตลาด การผลิต การทำบัญชี การเบิกจ่ายกับธนาคาร การหาสมาชิก และพิจารณาจัดสรรเงินยืมแก่สมาชิกหมุนเวียนกัน รับไปประกอบอาชีพ และส่งคืน นำกำไรไปพัฒนาครอบครัว ตามข้อชี้วัด จปฐ. แบบฟอร์ม สมัครสมาชิก กู้ยืมเงิน ทะเบียนสมาชิก บัญชีรับ-จ่าย กฎเกณฑ์ และเงื่อนไขการกู้ยืม และส่งคืนเงิน พร้อมดอกเบี้ย การฝึกอาชีพ การเผยแพร่ความรู้ จปฐ. และการประกอบอาชีพต่างๆ
  2. คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด อำเภอ (กพจ. กพอ.) คปต. คัดเลือกหมู่บ้าน และประชุมชาวบ้านเลือกกรรมการ 5 คน นัดประชุมชี้แจงโครงการพร้อมกัน และฝึกกรรมการหมู่บ้าน
  3. คณะกรรมการในหมู่บ้าน ประชุมเผยแพร่ ทำความเข้าใจโครงการแก่ชาวบ้าน รับสมาชิกขึ้นบัญชี และนัดชี้แจงกฎเกณฑ์ เงื่อนไขการตั้งกองทุน และการกู้ยืม และคืนเงินหมุนเวียน

กระบวนการ A.I.C.

ประชุมสมาชิก และกรรมการกองทุน

ขั้นตอนที่ 1 เจ้าหน้าที่ผู้สนับสนุนการประชุม (facilitator) แจ้งประเด็นให้พิจารณาว่า "คนในหมู่บ้าน จะอยู่ดีกินดี ตามข้อชี้วัด จปฐ. มีลักษณะเป็นอย่างไร" ให้วาดภาพ อธิบายความต้องการ ทุกคนเขียนภาพ คนอ้วนบ้าง บ้านใหญ่บ้าง ภาพวิวท้องฟ้าสวย มีบ้าน นา ต้นไม้ ฯลฯ นำมาเลือกร่วมกัน

ขั้นตอนที่ 2 เจ้าหน้าที่เสนอภาพให้ทุกคนดู ต่อเติมจนพอใจ ยอมรับ

ขั้นตอนที่ 3 เจ้าหน้าที่ขอให้ทุกคนเขียน หรือบอกให้จด ว่าจะต้องทำอะไรกันบ้าง จึงจะเป็นได้ตามภาพ ได้ข้อเสนอเช่น ต้องมีรายได้ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 4 เจ้าหน้าที่ขอให้ช่วยกันเลือกว่า จะทำอะไรที่มีความพร้อม มีแหล่งวัตถุดิบ มีผู้สนับสนุน ได้ข้อเสนอ เช่น การทำดอกไม้จากต้นโสน การเลี้ยงไก่ ขอปุ๋ยนา ทำไม้กวาดจากดอกไม้กวาด

ขั้นตอนที่ 5 กรรมการกองทุน 5 คน ร่วมกับ คปต. รับไปทำแผน กำหนดตัวผู้รับงาน กำหนดแผนเวลา ขอนักวิชาการ เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัด และการศึกษานอกโรงเรียนให้มาฝึกอาชีพ และกำหนดรับใบสมัคร ขอยืมเงินทุน นัดฝึกกลุ่มฝึกอาชีพ นัดรับเงินกู้ เสนอให้สมาชิกพิจารณาทราบ

ขั้นตอนที่ 6 กรรมการทำโครงการ เสนอให้เจ้าหน้าที่ และชี้แจงความพร้อม พิจารณาความเป็นไปได้ เจ้าหน้าที่ คปต. กพอ. พิจารณา และนำเสนอกรรมการส่วนกลาง เพื่อให้โอนเงินกู้ยืมมาให้ "กรรมการกองทุน พัฒนาคุณภาพชีวิต" นำไปเปิดบัญชีธนาคาร

กระบวนการ ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ชาวบ้านมีสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีความคิด และความต้องการคล้ายกัน ไม่ขัดแย้ง

ภาพรวม ของ 64 หมู่บ้าน 11 จังหวัด สามารถตั้งกองทุน มีแผนการตลาด และอาชีพ ได้หมดครบ 4 ปร ยังดำเนินการต่อได้ 46 กองทุน และมี 3 กองทุนเข้าอยู่ในกองทุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท ของธนาคารออกสินได้

ผล - ชนบทได้เรียนรู้จากฝึกทำจริง ในด้านการวิเคราะห์ การเลือก การตัดสินใจ การจัดการเงินและบัญชี และสัจจะรับผิดชอบ อันเป็นทักษะของคนพัฒนา

 

กรณีศึกษา 2


การใช้กระบวนการทำแผนแบบ A.I.C. ภาพรวมมหภาคของโครงการที่จังหวัด

การใช้กระบวนทัศน์ใหม่ ในการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปัตตานี ... ระดับจังหวัด

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี พันตรีนายแพทย์ธานี กลิ่นขจร และคณะ ได้นำวิธีการประชุมแบบ A.I.C. ไปทำงานในพื้นที่ระดับหมู่บ้าน เมื่อ พ.ศ.2540

ขั้นตอนการทำงาน

ระยะที่ 1 ประสานงาน โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ กำหนดพื้นที่ และเลือกประชากรเป้าหมาย จัดสัมมนาชี้แจงวิธีการใช้กระบวนทัศน์แนวใหม่ ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ด้วยการจัดกระบวนการกลุ่ม ด้วยเทคนิค AIC ร่วมกับองค์กรชุมชน หมู่บ้านละ 5 คน

ระยะที่ 2 จัดประชุม 4 องค์กรชุมชน จำนวน 20 คน/หมู่บ้าน ทำความเข้าใจกระบวนการ 3 ขั้น คือ

  1. Appreciation A ทำความเข้าใจกับสถานการณ์จริง และวาดความหวังสถานการณ์ที่ปรารถนา ทำให้ทุกคนยอมรับ ชื่นชม
  2. Influence I ให้คิดค้น เลือกวิธีการที่สร้างสรรค์ ที่แต่ละคนมี ช่วยกันกำหนดขึ้น มีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ (shared vision) เพื่อบรรลุความหวัง แล้วปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง
  3. Control C นำวิธีการที่เลือกไว้มากำหนดแผน เสนอ ลงมือดำเนินการ

ระยะที่ 3 หลังการประชุม มีการติดตาม ประเมิน และปรับปรุงกลวิธีเป็นระยะๆ จำนวน 12 อำเภอ

ตารางแสดงขั้นตอนการประชุม
ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่ออะไร
1. วิทยากรชี้แจง แจ้งวัตถุประสงค์ บุคคลเป้าหมายเข้าใจ
2. ระยะความพอใจ (Appreciation A)
2.1 แนะนำตนเอง เกมส์ เปิดใจ คุ้นเคยกัน แสดงออก
2.2 สถานการณ์ที่เป็นอยู่ สมาชิกกลุ่ม สะท้อนปัญหาจาก จปฐ. ประสบการณ์นำเสนอ เห็นปัญหาสุขภาพของพื้นที่ มีบรรยากาศฟัง และแลกเปลี่ยน
2.3 อนาคตที่หวัง ทุกคนเสนอความคาดหวัง สรุปได้จากภาพรวมของกลุ่ม ค้นหาปัญหาความต้องการ กำหนดวิสัยทัศน์
3. ระยะอิทธิพล (Influence I)
3.1 สิ่งสำคัญ ทุกคนเลือกประเด็นสำคัญ 1 เรื่อง ด้วยเกณฑ์ 4 องค์ประกอบ กลั่นกรองเรื่องที่กลุ่มต้องการ
3.2 แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ วิเคราะห์ เลือกในกลุ่ม ได้วิธีการสำคัญจากความถนัด
4. ระยะควบคุม (Control C) ทำกิจกรรมให้สิ่งคาดหวังเป็นจริง ร่วมกันทำแผนปฏิบัติ กำหนดบทบาทแต่ละคน เป้าหมาย วิธีการ ได้แผน สู่ความคาดหวังร่วมกัน

การพัฒนาด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ ของจังหวัดปัตตานี มุ่งการแก้ปัญหาในชุมชน และพัฒนาศักยภาพคนเป็นองค์รวม และเบ็ดเสร็จ โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตามประสบการณ์ ความสามารถ ความต้องการที่สอดคล้องกับสังคม ประเพณีของพื้นที่ (Area Function Participation : AFP)

คำสำคัญ (Tags): #aic
หมายเลขบันทึก: 234712เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2009 04:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท