Action plan บทที่ 1 ปฐมฤกษ์ (ต่อ)


พบว่าทีมงานส่วนใหญ่ยังคงติดกับตัวชี้วัด การมีแบบสอบถาม และให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงปริมาณมากเกินไป

ช่วงบ่ายของวันนี้ เมื่อวิทยากรและทีมงานบางส่วนต้องขอตัวกลับก่อนบางส่วน เนื่องจากติดประชุม (อีกแล้วครับท่าน ยิ้มๆ) และมีภาระงานอื่น ทีมงานที่เหลือ (ประมาณ 10 กว่าคน จากช่วงเช้า 20 กว่าคน) ก็มานั่งคุยกันในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ คือ 1. ให้ชุมชนวิเคราะห์ปัญหา 2. ค้นหาศักยภาพของชุมชน 3. ทีมงานชุมชน 4. รูปแบบการลงชุมชน 5. บทบาทของทีม/เจ้าหน้าที่ 6. วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ 7. การบันทึกข้อมูล ภายใต้กรอบความเสี่ยง 9 ประการ คือ 1. การบริโภคแอลกอฮอล์ 2. การสูบบุหรี่ 3. ความไม่ปลอดภัยในชีวิต เช่น การสวมหมวกกันน๊อค การคาดเข็มขัดนนิรภัย 4. การมีวิถีชีวิตนั่งๆ นอนๆ 5. การบริโภคที่ไม่ปลอดภัย ไม่ได้สัดส่วน 6. ความเครียด 7. ความดันโลหิตสูง 8. น้ำตาลในเลือดสูง และ 9. น้ำหนักเกิน สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ช่วงบ่ายนี้ทุกคนต่างมีส่วนร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันถ้วนหน้า บรรยากาศมีความเป็นกันเองดี ระหว่างผู้นำประชุมและผู้เข้าร่วมประชุม แต่ในบรรยากาศที่ค่อนข้างเป็นกันเองนี้ ก็จะมีความเป็นกันเองที่มากเกินไปหรือเปล่า (อันนี้ไม่แน่ใจ เพราะประเมินจากตัวผู้เขียนเอง) ทำให้การประชุมไม่บรรลุเป้าหมาย อันที่จริงวันนี้สิ่งที่ได้จากการประชุม น่าจะเป็นแผนงานหรือกำหนดการคร่าวๆ ว่าเราจะลงชุมชนกันวันไหน และได้ผู้รับผิดชอบในการลงชุมชนแต่ละครั้ง หรือน่าจะออกแนวประเด็นคำถาม หรือประเด็นในการสัมภาษณ์เชิงลึกและทำสนทนากลุ่ม (Focus group) พบว่าทีมงานส่วนใหญ่ยังคงติดกับตัวชี้วัด การมีแบบสอบถาม และให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงปริมาณมากเกินไป (นี่ก็เป็นโจทย์ใหญ่สำหรับผู้เขียนและทีมงานทุกคน ว่าจะทำอย่างไรดี ให้ทุกคนคุ้นกับคำว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ และมองเห็นภาพที่เราจะทำไปด้วยกันได้)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23450เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 01:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท